รายงานกิจกรรม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมัยที่ ๑๑ ปี ๒๕๕๓

รายงานกิจกรรม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมัยที่ ๑๑

คณะกรรมการบริหาร สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมัยที่ ๑๑ ซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๓-๔ มีนาคม ๒๕๕๔ ได้ร่วมกันกำหนดนโยบายและทิศทางการบริหาร สมาคมฯ โดยให้ความสำคัญกับงาน ๓ ด้าน ประกอบด้วย  ๑. งานด้านจริยธรรม ๒. งานด้านสิทธิเสรีภาพ และ ๓. งานด้านการพัฒนาบุคลากรในวงการสื่อมวลชน

พร้อมทั้งได้จัดสรรภารกิจของคณะกรรมการบริหาร สมาคมฯ ออกเป็นฝ่ายงานต่างๆ จำนวน ๖ ฝ่ายงาน โดยทำงานในรูปแบบของคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ  ดังนี้

๑.คณะอนุกรรมการฝ่ายพิจารณาบทบาทสมาคมในสถานการณ์เร่งด่วน ประกอบด้วย อนุกรรมการ ๘ คน

๑. นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์     นายก สมาคมฯ                                                              ประธาน

๒. นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี       อุปนายกฝ่ายต่างประเทศ  สมาคมฯ                                 อนุกรรมการ

๓. นายเสด็จ บุนนาค                  อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ          อนุกรรมการ

๔. นายวิษณุพงษ์ หิญชีระนันท์     อุปนายกฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ                                         อนุกรรมการ

๔. นายวีระศักดิ์ พงศ์อักษร          เลขาธิการ สมาคมฯ                                                        อนุกรรมการ

๖. นางสาวอมรรัตน์ มหิทธิรุกข์     รองเลขาธิการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ   อนุกรรมการ

๗. นายสมศักดิ์ ศรีกำเนิด กรรมการฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ สมาคมฯ                                          อนุกรรมการ

๘. นายมานพ ทิพย์โอสถ             อนุกรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ      อนุกรรมการ

คณะอนุกรรมการ ชุดนี้จะทำหน้าที่ในการรวบรวมทั้งความเห็นและข้อเสนอต่างๆ จากบุคคลและองค์กรที่เกี่ยวข้องในการนำมาพิจารณาบทบาทสมาคมฯ ในสถานการณ์เร่งด่วน ทั้งในรูปแบบของการออกแถลงการณ์, การออกจดหมายเปิดผนึก และการเผยแพร่คำชี้แจงในเรื่องต่างๆ รวมทั้งทำความเข้าใจและสื่อสารกับสังคมในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ต่างๆ ของสื่อ (ดูเอกสารแถลงการณ์ในเล่ม)

 

๒. คณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการ        ประกอบด้วยที่ปรึกษา ๕  คนและอนุกรรมการ ๑๑ คน

๑. ผศ. สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ               มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา                                       ที่ปรึกษา

๒. ดร.สุดารัตน์ ดิษยวรรธนะ จันทราวัฒนานุกุล

คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์   ที่ปรึกษา

๓. นายภัทระ คำพิทักษ์               อดีต นายก สมาคมฯ                                                       ที่ปรึกษา

๔. นางสาวนงค์นาถ ห่านวิไล       อดีตเลขาธิการ สมาคมฯ                                                  ที่ปรึกษา

๕. นายจักรกฤษ  เพิ่มพูน             หนังสือพิมพ์คมชัดลึก                                                     ที่ปรึกษา

๖. นายวิษณุพงษ์ หิญชีระนันท์     อุปนายกฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ                                         ประธาน

๖. นางสาวเย็นจิตร์ สถิรมงคลสุข  อดีตอุปนายกฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ                                   อนุกรรมการ

๗. นายธีรเดช เอี่ยมสำราญ          อดีตเลขาธิการ สมาคมฯ                                                  อนุกรรมการ

๘. นางสาวนภาภรณ์ พิพัฒน์       อดีตอุปนายกฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ                                   อนุกรรมการ

๙. นางสาวเบญจวรรณ สมสิน      มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา                                       อนุกรรมการ

๑๐. นายธาม เชื้อสถาปนศิริ         โครงการศึกษาเฝ้าระวังสื่อและพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม                                                                                                                                       อนุกรรมการ

๑๑. นายชัยฤทธิ์ ยนเปี่ยม            หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์                                                   อนุกรรมการ

๑๒. นายปกรณ์ รัตนทรัพย์ศิริ       หนังสือพิมพ์เดลินิวส์                                                       อนุกรรมการ

๑๓. นายปราเมศ เหล็กเพ็ชร์         อดีตรองเลขาธิการฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ                            อนุกรรมการ

๑๔. นางสาวสุภาภรณ์ อัษฏมงคล    หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ                                                     อนุกรรมการ

๑๕. นางสาวน.รินี เรืองหนู           รองเลขาธิการฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ                เลขานุการคณะอนุกรรมการ

๑๖. นายราม อินทรวิจิตร             กรรมการฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ              ผู้ช่วยเลขานุการคณะอนุกรรมการ

 

ในปี ๒๕๕๓  คณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ แบ่งงานออกเป็น ๔ กลุ่มงาน คือ

๒.๑  กลุ่มงานฝึกอบรม สมาคมฯ ได้จัดทำโครงการด้านการฝึกอบรมจำนวน ๔ หลักสูตร คือ

๒.๑.๑ โครงการศึกษาดูงานด้านสื่อมวลชนของอาจารย์ด้านนิเทศศาสตร์ เป็นโครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ด้านวิชาชีพหนังสือพิมพ์ให้กับอาจารย์ผู้สอนวิชาการหนังสือพิมพ์ในสถาบันอุดมศึกษา จัดขึ้นเป็นรุ่นที่ ๓  โดยมีอาจารย์ที่เข้าร่วมโครงการจนจบหลักสูตร จำนวน ๘ คน  จัดระหว่างวันจันทร์ที่ ๑๙ เมษายน – วันอาทิตย์ที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ซึ่งนอกจากจะเปิดโอกาสให้อาจารย์ที่เข้าร่วมโครงการไปฝึกงานตามหนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆ แล้ว ยังมีการเข้าพบปะพูดคุยกับผู้บริหารหนังสือพิมพ์และมีการจัดทำบทความวิชาการตามหัวข้อที่อาจารย์สนใจออกมาเผยแพร่ด้วย สำหรับหนังสือพิมพ์ที่เปิดโอกาสให้อาจารย์ฝึกงานมีดังนี้ ๑. หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ๒. หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ๓. หนังสือพิมพ์มติชน ๔. หนังสือพิมพ์คมชัดลึก ๕. หนังสือพิมพ์บ้านเมือง และ ๖. หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น

บทความทางวิชาการประกอบด้วย ๑. ความเป็นกลางของสื่อมวลชนในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) “ กรณีศึกษา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ โดย อาจารย์ณัชชา   อาจารยุตต์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ๒. การบริหารงานโต๊ะรายงานพิเศษ หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก โดย อาจารย์นฤวรรณ   เรืองโรจน์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต            ๓. ถอดประสบการณ์ภาคสนาม: กระบวนการเสนอข่าวการชุมนุมของ นปช. ของหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน โดย อาจารย์นันทกา   สุธรรมประเสริฐ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล       ๔. นักข่าวหนังสือพิมพ์กับการตั้งรับและไล่รุกในยุคสงครามข่าวสาร ศึกษาเฉพาะกรณีหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ โดย อาจารย์สุนทรี   อมรเพชรสถาพร เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน  ๕. สื่อ : จากฐานันดร  ๔ กลายเป็นปัจจัยที่ ๕  โดยอาจารย์สุรชัย   ทิพย์สุมณฑา มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ๖. วิพากษ์ ภาพและข่าวหน้าหนึ่งคุณค่าของการเป็นสื่อเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดย อาจารย์เมสิริณ ขวัญใจ มหาวิทยาลัยนเรศวร ๗.  ถอดบทเรียนการรายงานข่าวชุมนุมทางการเมือง  “สงคราม”  หรือ  “สันติภาพ”

(ศึกษาจากนักข่าว กองบรรณาธิการ และเนื้อหาข่าว  ในช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม จากหนังสือพิมพ์มติชนและไทยรัฐ) โดยนายธาม  เชื้อสถาปนศิริ  โครงการศึกษาเฝ้าระวังสื่อและพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม  และ ๘.  อิสรภาพในการนำเสนอข่าวสารและความคิดเห็นประเด็นทางการเมือง ของหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น โดย อาจารย์สุวรรณ มาศเมฆ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

๒.๑.๒ การอบรมเชิงปฏิบัติการนักข่าวพิราบน้อยรุ่น ๑๓ เป็นโครงการต่อเนื่องจัดขึ้นเป็นปีที่ ๑๓ ซึ่งหากนับถึงปัจจุบันมีนักศึกษาที่ผ่านการอบรมกว่า ๑,๐๐๐ คนแล้ว มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาวิชาชีพสื่อสารมวลชนด้านสิ่งพิมพ์  (Professional Development) ความรับผิดชอบต่อจริยธรรมในวิชาชีพ (Ethics Responsibility)  และแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะองค์กรเพื่อสังคม (Organizational Social Responsibility) ซึ่งนักศึกษาที่เข้าร่วมอบรมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทั้งกับเพื่อนนักศึกษาจากต่างสถาบันและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักข่าวรุ่นพี่ที่ทำงานทั้งในภาคสนาม และในส่วนของผู้บริหารงานข่าว อันเป็นการเตรียมพร้อมในการเข้าสู่วิชาชีพ นอกจากนี้ยังเป็นกระบวนการปลูกฝังอุดมคติให้กับนักศึกษาด้วย ในรุ่นที่ ๑๓ มีนักศึกษาที่เรียนด้านหนังสือพิมพ์จากสถาบันอุดมศึกษาจากทั่วประเทศเข้าร่วมอบรมจำนวน ๖๙  คน จาก  ๓๒  สถาบัน จัดอบรมระหว่างวันพฤหัสบดีที่  ๕ – วันอาทิตย์ที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๓  ณ  คุ้มแม่น้ำท่าจีน หม่อมไฉไล  อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐมได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากบริษัท ทรู คอปอร์เรชั่น จำกัด มหาชน

๒.๑.๓ การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การสร้างวิทยากรข่าวเชิงสืบสวน (Training for Trainers

on Investigative Journalism)” โดย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย สนับสนุนโดย ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และมูลนิธิ Friedrich Ebert จัดระหว่างวันอังคารที่ ๒๔ สิงหาคม –วันศุกร์ที่ ๒๗  สิงหาคม ๒๕๕๓ ณ  โรงแรมสปริงฟิลด์ แอท ซี รีสอร์ท อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี มีนักข่าวเข้าร่วมการอบรมจำนวน ๑๐ คนประกอบด้วย ๑. นางสาวเรวดี พงศ์ไชยยง (นสพ.มติชน) ๒.นางสาวเย็นจิตร สถิรมงคลสุข(มติชนออนไลน์) ๓. นายนวพรรษ บุญชาญ (นสพ.เดลินิวส์) ๔. นายสมศักดิ์ ศรีกำเหนิด (นสพ.บ้านเมือง) ๕. นายสุเมธ สมคะเน (นสพ.ไทยรัฐ)  ๖.นายนิพนธ์ ตั้งแสงประทีป (สำนักข่าวไทย) ๗. นายมานพ ทิพย์โอสถ(นสพ. บางกอกโพสต์) ๘. นายสถาพร พงษ์พิพัฒน์วัฒนา       (ทีวีไทย) ๙. นายชัยฤทธิ์ ยนเปี่ยม     (นสพ.โพสต์ทูเดย์) และนางสาววิมล กิจวานิชขจร (สถาบันอิศรา) โดยมี  Mr. Ralph Hötte นักข่าวที่เชี่ยวชาญในการทำข่าวเชิงสืบสวนสอบสวน จากเมืองโคโลน ประเทศเยอรมัน เป็นวิทยากร

๒.๑.๔ การอบรมนักจัดรายการวิทยุ “พัฒนาทักษะการจัดรายการวิทยุอย่างมืออาชีพ” โดยสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสถาบันอิศรา และสถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดอบรมระหว่างวันเสารร์ที่ ๒๕ – อาทิตย์ที่ ๒๖ กันยายน  ๒๕๕๓   ณ สถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารวิทยพัฒนา ชั้น ๗  เพื่อพัฒนาทักษะให้กับนักจัดรายการวิทยุของ สมาคมนักข่าวฯและสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ทั้งในเรื่องของ ๑.ธรรมชาติการสื่อสารทางวิทยุกระจายเสียง  ๒. เทคนิคการจัดรายการวิทยุในรูปแบบต่าง ๆ ๓. การเขียนบทวิทยุ และ ๔.คุณสมบัติการเป็นนักจัดรายการวิทยุที่ดีและประสบความสำเร็จ

๒.๒ กลุ่มงานเสวนาและสื่อสารสาธารณะ ได้มีการจัดทำโครงการในกลุ่มงานเสวนาและสื่อสารสาธารณะ จำนวน ๓ กิจกรรม ดังนี้

๒.๒.๑ ราชดำเนินเสวนา เป็นโครงการที่ดำเนินงานต่อเนื่องมาเป็นปีที่ ๑๒  ซึ่งเป็นความริเริ่มจากสมัยที่นายกวี จงกิจถาวร เป็นนายก สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย (พ.ศ. ๒๕๔๒) มีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพการทำงานข่าวให้มีคุณภาพและอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง  โดยมีการเชิญแหล่งข่าวมาพบปะพูดคุยและตอบคำถามนักข่าว เพื่อเป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ระหว่างนักข่าวกับแหล่งข่าวในประเด็นต่าง ๆ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

ในปี พ.ศ.  ๒๕๕๓ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ(สสส.) ผ่านทางสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย  ได้จัดราชดำเนินเสวนาไปจำนวน ๑๔   ครั้ง ดังนี้

๑.  ถามหามาตรฐาน จากทุจริตยา ถึงไทยเข้มแข็ง? (๑๑ มกราคม  ๒๕๕๓), ๒. ถามหาความเป็นธรรมด้านสุขภาพให้คนไทยไร้สถานะ (๓๑ มกราคม ๒๕๕๓), ๓. สังคมไทยเรียนรู้อะไรจากคดียึดทรัพย์ ? (๗ มีนาคม ๒๕๕๓),๔ เนื้อหาที่ควรคุยในวิกฤตความขัดแย้ง (๑ เมษายน ๒๕๕๓), ๕. ไม่มีสี  ไม่เลือกข้าง กับภารกิจปฏิบัติการ การแพทย์ฉุกเฉิน (๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓), ๖. ถกแผนปรองดอง ? (๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๓) ๗. กระบวนการเยียวยาและความเป็นธรรม (๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๓) ๘. แนวโน้มสถานะประชาธิปไตยไทย ท่ามกลางความขัดแย้ง (๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๓), ๙. ปฏิรูปวงการตำรวจไทย (๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓) ๑๐. จุดเปลี่ยนชนบท จุดเปลี่ยนฐานการเมือง? (๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๓) ๑๑. “หาจุดร่วมสงวนจุดต่าง : ทางออก พรบ. คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข” (๑ สิงหาคม ๒๕๕๓) ๑๒.๑๙ กันยา..๔ ปี กับการปฏิรูปกองทัพไทย (๑๙ กันยายน ๒๕๕๓) ๑๓. ชำแหละภาษีสิ่งแวดล้อม ตอบโจทย์จริงหรือ ? ( ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๓)  และ ๑๔. ประกันแรงงานนอกระบบ ช่วยเหลือหรือเพิ่มภาระคนจน (๑๙ มกราคม ๒๕๕๔)

สามารถติดตามเนื้อหาราชดำเนินเสวนาได้ที่ www.tja.or.th

๒.๒.๒. รายการวิทยุช่วยกันคิดทิศทางข่าว เป็นความร่วมมือระหว่างสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ กับสำนักข่าวไทยและบริษัท อสมท. จำกัด มหาชน ออกอากาศทางสถานีวิทยุ อสมท.  FM ๑๐๐.๕ Mhz ทุกวันอาทิตย์เวลา ๑๑.๐๐-๑๒.๐๐น. เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้นักข่าวรุ่นใหม่ได้เข้ามาร่วมกิจกรรมกับสมาคมฯ รวมทั้งเป็นเวทีในการสื่อสารเรื่องราวที่เกี่ยวกับสื่อมวลชนให้สาธารณชนได้ รับทราบ รวมทั้งการวิเคราะห์ถึงทิศทางข่าวในสัปดาห์ต่อไป

สำหรับนักจัดรายการประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๓ มีจำนวน ๗  คนคือ ๑. นายธีรเดช เอี่ยมสำราญ, ๒.นายราม อินทรวิจิตร, ๓. นายเสถียร วิริยะพรรณพงศา, ๔.นายจีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง, ๕.นายปราเมศ เหล็กเพ็ชร์, ๖.นายมานพ ทิพย์โอสถ และ ๗. นางสาวพิมพ์ทิชา สวัสดิ์กิตติคุณ

ติดตามฟังรายการวิทยุย้อนหลังได้ที่  www.tja.or.th

๒.๒.๓ www.tja.or.th เป็นเวบไซต์ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมข่าวสารต่างๆ ของสมาคมฯ ทั้งประชาสัมพันธ์กิจกรรม,รายงานกิจกรรม,กฎหมายที่เกี่ยวข้อง,ประวัติความ เป็นมา,จุดยืนและท่าทีของสมาคมฯต่อสถานการณ์ต่างๆของบ้านเมือง รวมทั้งการบันทึกผลงานข่าวที่ได้รับรางวัลประเภทต่างๆ  และเป็นชุมชนออนไลน์ของนักวิชาการและวิชาชีพสื่อสารมวลชน ในการแลกเปลี่ยนทัศนะของนักวิชาการและนักวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชน และนำเสนอข่าวสารความเคลื่อนไหวในแวดวงสื่อสารมวลชน

๒.๓ กลุ่มงานหนังสือ ในปี พ.ศ.  ๒๕๕๓ ฝ่ายวิชาการ สมาคม ได้จัดทำหนังสือรวม ๒  เล่ม ดังนี้

๒.๓.๑ จุลสารราชดำเนิน ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ สมาคมฯ ได้จัดทำจุลสารราชดำเนินโดยออกเป็นรายสามเดือนจำนวน ๒  ฉบับ ซึ่งแต่ละฉบับมีเนื้อหาที่น่าสนใจ ได้รับเสียงสะท้อนอย่างดีทั้งจากสมาชิกสมาคมฯ สถาบันวิชาการและผู้สนใจทั่วไป

จุลสารราชดำเนินฉบับที่ ๑ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๓ มีเนื้อหาเกี่ยวกับ “โศกนาฏกรรม พฤษภา ๕๓” เป็นการบันทึกปากคำของนักข่าวภาคสนามที่มีส่วนร่วมในการทำข่าวเหตุการณ์พฤษภาคม ๕๓

ส่วนจุลสารราชดำเนินฉบับที่ ๒ เผยแพร่เมื่อเดือนมกราคม ๒๕๕๔ มีเนื้อหาเกี่ยวกับ “ทิศทางสื่อในมุมมองของ ๕ นักคิด”    เป็นฉบับเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของจุลสารราชดำเนิน คือ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติและสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้มีข้อตกลงร่วมกันในการผลิตจุลสารราชดำเนิน ให้เป็นจุลสารร่วมของสององค์กร เพื่อความเป็นเอกภาพ จุลสารราชดำเนินมีนายชัยฤทธิ์ ยนเปี่ยม เป็นบรรณาธิการทั้งสองฉบับ

 

อ่านเนื้อหาจุลสารราชดำเนินฉบับย้อนหลังได้ที่ www.tja.or.th

๒.๓.๒ หนังสือวันนักข่าว “เทคโนโลยีก้าวหน้ากับวิชาชีพข่าว” หนังสือวันนักข่าวเป็นหนังสือรายงานประจำปีที่สมาคมฯ ได้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการข่าวและหนังสือพิมพ์  ตลอดจนรายงานกิจกรรมของสมาคม  และทำเนียบรายชื่อนักข่าวจากหนังสือพิมพ์ทุกฉบับที่เป็นสมาชิกสมาคม  เนื้อหาหลักในปีนี้เน้นเรื่อง ซึ่งเนื้อหาหลักในปีนี้จะเน้นเรื่อง “เทคโนโลยีก้าวหน้ากับวิชาชีพข่าว”  ซึ่งเนื้อหาจะเป็นการตั้งคำถาม และประเมินศักยภาพของนักข่าว ที่จะต้องทำงาน หรือปฎิบัติงานอยู่ท่ามกลางความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสื่อสาร โดยมีนางสาว น.รินี เรืองหนู เป็นบรรณาธิการ มีการแจกจ่ายหนังสือวันนักข่าวถึงมือสมาชิก สมาคมฯ ในวันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ซึ่งเป็นวันประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสมาคมฯ

๒.๔. กลุ่มงานเครือข่ายวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน เป็น เครือข่ายที่นักวิชาการและนักวิชาชีพสื่อสารมวลชนร่วมกันก่อตั้งขึ้นเพื่อ เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน โดยในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้ร่วมกันจัดกิจกรรม ๓ กิจกรรม ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ(สสส.) ผ่านทางสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย  ดังนี้

๒.๔.๑ ห้องเรียนสาธารณะ เป็นกิจกรรมที่เน้นการถ่ายทอดความรู้ และเทคนิค ทางวิชาชีพสื่อมวลชน แก่นักศึกษาจากสถาบันต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดกระบวนการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ และเป็นแรงจูงใจในการกระตุ้นให้นิสิต นักศึกษาด้านนิเทศศาสตร์ เข้ามาทำงานสื่ออย่างเป็นระบบภายใต้กรอบการทำงานเชิงวิชาการ และเป็นการร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ระหว่างนิสิต นักวิชาการ ภาคประชาสังคม และนักวิชาชีพสื่อทั้งระดับประเทศและท้องถิ่น

ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ จัดไป ๓ ครั้ง คือ  ครั้งที่ ๑ จัดร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นการถอดประสบการณ์ข่าวเจาะเรื่อง “กระบวนการทำข่าว เปิดโปงทุจริตพอเพียง ยับยั้งแผนรุมทึ้งไทยเข้มแข็ง” (๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๓),   ครั้งที่ ๒  จัดร่วมกับมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล เรื่อง “ถอดประสบการณ์ข่าวเจาะ เจาะข่าว ท่ามกลางสถานการณ์รุนแรง”  (๒๐ สิงหาคม  ๒๕๕๓) และครั้งที่ ๓ จัดร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เรื่อง “แกะรอยเหตุรุนแรงทางการเมือง:เสื้อแดงปะทะ ศอฉ.” (๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๓)

๒.๔.๒ ประชุมเครือข่ายวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน เป็น กิจกรรมที่มีเป้าหมายเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านวิชาชีพและวิชาการด้านสื่อสารมวลชน โดยนำเอาประเด็นทางวิชาการและวิชาชีพสื่อสารมวลชนที่น่าสนใจและมีผลกระทบต่อ ประโยชน์สาธารณะมาแลกเปลี่ยนกัน

ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ จัดไป ๔ ครั้ง คือ  ครั้งที่ ๑  หัวข้อ “สื่อในวิกฤตการเมือง : สะท้อนปรากฏการหรือแสวงหาทางออก ? (๓ มิถุนายน ๒๕๕๓)  จัดร่วมกับคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และโครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อสุขภาวะ (มีเดียมอนิเตอร์) ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ , ครั้งที่ ๒ หัวข้อ“สถาบันการศึกษากับการมีส่วนร่วมพัฒนาหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ภาคอีสาน”(๑๗ กันยายน ๒๕๕๓)  ณ โรงแรมอุบลบุรี  รีสอร์ท  จังหวัดอุบลราชธานี   ครั้งที่ ๓ หัวข้อ “สถาบันการศึกษากับการมีส่วนร่วมพัฒนาหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ภาคเหนือ” (๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓)   โรงแรมไพลิน จังหวัดพิษณุโลก และครั้งที่ ๔ หัวข้อ “สถาบันการศึกษากับการมีส่วนร่วมพัฒนาหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ภาคใต้” (๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๓) ร่วมกับเครือข่ายบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ภาคใต้ ณ โรงแรมหาดใหญ่ พาราไดส แอนด์ รีสอร์ท จังหวัดสงขลา

๒.๔.๓ ประชุมใหญ่ทางวิชาการสื่อสารมวลชน “ปฏิรูปสื่อ  สู่การปฏิรูปสังคมไทย” สมาคมฯ ร่วมกับสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สถาบันอิศรา และสมาคมนักข่าววิทยุโทรทัศน์ไทย  จัดทำโครงการประชุมวิชาการวิชาชีพสื่อสารมวลชน ระดับชาติ หัวข้อ “ปฏิรูปสื่อ  สู่การปฏิรูปสังคมไทย”  จัดระหว่างวันเสาร์ที่ ๒๒-วันอาทิตย์ที่ ๒๓ กรกฎาคม  ๒๕๕๓ ณ มหาวิทยาลัยศรีปทุม มีวัตถุประสงค์ เพื่อ ๑.เป็นเวทีนำเสนอผลงานวิจัย  ของนักวิชาการและนักวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชนประจำปี ๒. เผยแพร่ความก้าวหน้าของความร่วมมือระหว่างนักวิชาการและนัก วิชาชีพสื่อสารมวลชนให้เป็นประโยชน์ ๓. สะท้อนมุมมองเชิงวิชาชีพและเชิงวิชาการต่อประเด็นวิกฤตการเมือง เศรษฐกิจและสังคมและ ๔. ขยายเครือข่ายความร่วมมือระหว่างนักวิชาการ และนักวิชาชีพ มีผู้เข้าร่วมสัมมนาประมาณ ๑๕๐  คนจากทั่วประเทศ

 

๒.๕. กลุ่มงานประกวดข่าว

๒.๕.๑ การประกวดรางวัลอิศรา อมันตกุล ประเภทข่าวและภาพข่าวยอดเยี่ยม ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๓ สมาคมฯ ได้รับมอบหมายจากมูลนิธิอิศรา อมันตกุล ให้ดำเนินการจัดการประกวดข่าวและภาพข่าวยอดเยี่ยม รางวัลอิศรา อมันตกุล เพื่อเป็นการรำลึกถึงนายอิศรา อมันตกุล นายกสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทยคนแรกและนักหนังสือพิมพ์ผู้ปฏิบัติหน้าที่ภาย ใต้กรอบจริยธรรม โดยดำเนินการจัดการประกวดมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๕ สำหรับในปี ๒๕๕๓ มีผลงานงานข่าวส่งเข้าประกวดรางวัลอิศรา อมันตกุล ประเภทข่าวยอดเยี่ยมจำนวน ๑๙ ข่าว จากหนังสือพิมพ์ ๘  ฉบับ และส่งผลงานภาพข่าวเข้าประกวดรางวัลอิศรา อมันตกุล ประเภทภาพข่าวยอดเยี่ยมจำนวน ๑๑๔ ภาพ จากหนังสือพิมพ์ ๙ ฉบับ

๒.๕.๓ การประกวดรางวัลข่าวอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๓ ของ ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อมสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมฯ ได้มอบหมายให้ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อมเป็นผู้ดำเนินการจัดการประกวด ข่าวอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดีเด่น ซึ่งจัดการประกวดมาตั้งแต่ปี พ.ศ.  ๒๕๓๒ สำหรับในปี ๒๕๕๓ มีผลงานข่าวส่งเข้าประกวดจำนวน ๖ ข่าว จากหนังสือพิมพ์ ๖ ฉบับ

๒.๕.๔ การประกวดรางวัลพิราบน้อย ประจำปี ๒๕๕๓ เป็นการประกวดผลงานฝึกปฏิบัติของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาที่มีการทำ หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ โดยแบ่งการประกวดออกเป็น ๒ รางวัล ๔ ประเภท คือ รางวัลพิราบน้อย ประกอบด้วย  ๑.ประเภทหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ ๒. ประเภทข่าวฝึกปฏิบัติ ๓.ประเภทข่าวสิ่งแวดล้อมฝึกปฏิบัติ และรางวัลริต้า ปาติยะเสวี คือประเภทสารคดีเชิงข่าวฝึกปฏิบัติ  เริ่มจัดการประกวดตั้งแต่ปี พ.ศ.   ๒๕๓๖ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการจัดทำหนังสือพิมพ์และการทำข่าวของ นิสิตนักศึกษาวิชานิเทศศาสตร์ และวารสารศาสตร์  ในสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ และสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสถาบันการศึกษา  กับสมาคมฯ    ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก บริษัท ทรู คอปอร์เรชั่น จำกัด มหาชน ในปี ๒๕๕๓

 

๒.๕.๕ กองทุนเพื่อการฝึกอบรม และรางวัลประกวดข่าว คณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ ได้ริเริ่มจัดตั้งกองทุนเพื่อการฝึกอบรม และรางวัลประกวดข่าวขึ้นมาเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพ และเตรียมความพร้อมแก่นักศึกษาด้านวารศาสตร์และนิเทศศาสตร์ จากสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศ ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ประจำปี  และจัดสรรเป็นเงินรางวัลในการประกวดข่าวประเภทต่างๆ  ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการกำหนดระเบียบของกองทุนและจัดกิจกรรมระดมทุน

 

๓. คณะอนุกรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ ประกอบด้วยที่ปรึกษา ๖ คนและอนุกรรมการ ๑๕ คน

๑. นายกวี จงกิจถาวร                              อดีตนายก สมาคมฯ                                                        ที่ปรึกษา

๒. นายภัทระ คำพิทักษ์                           อดีตนายก สมาคมฯ                                                        ที่ปรึกษา

๓. นางสาวกุลชาดา ชัยพิพัฒน์                 เครือข่ายส่งเสริมสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนในเอเชียอาคเนย์     ที่ปรึกษา

๔. นายวันชัย วงศ์มีชัย                             อดีตอุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ    ที่ปรึกษา

๕ .นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี                   อุปนายกฝ่ายต่างประเทศ สมาคมฯ                                   ที่ปรึกษา

๖. นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์                       อดีต เลขาธิการ สมาคมฯ                                                 ที่ปรึกษา

๗. นายเสด็จ บุนนาค                              อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ          ประธาน

๘. นายวีระศักดิ์ พงศ์อักษร                      เลขาธิการ สมาคมฯ                                               อนุกรรมการ

๙. นายเสถียร วิริยะพรรณพงศา                หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น                                        อนุกรรมการ

๑๐. นายชัยฤทธิ์ ยนเปี่ยม                                    หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์                                       อนุกรรมการ

๑๑ . นางสาวภูมิจิต ศิระวงศ์ประเสริฐ                                                                               อนุกรรมการ

๑๒. ผู้แทนสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย                                                                  อนุกรรมการ

๑๓. ผู้แทนสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย                                                                                     อนุกรรมการ

๑๔. ผู้แทนชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ                                                   อนุกรรมการ

๑๕. นายสัญญา เอียดจงดี                      สภาทนายความ                                                  อนุกรรมการ

๑๖. นายปราเมศร์ เหล็กเพชร์                   อดีตรองเลขาธิการฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ                อนุกรรมการ

๑๗. นายวัสยศ งามขำ  อดีตเลขาธิการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ                อนุกรรมการ

๑๘. นายจีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง อดีตกรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ    อนุกรรมการ

๑๙. นายเขมชาติ ชวนะธิต                       หนังสือพิมพ์เอเอสทีวีผู้จัดการ                              อนุกรรมการ

๒๐. นางสาวอมรรัตน์ มหิทธิรุกข์               รองเลขาธิการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ  สมาคมฯ

เลขานุการคณะอนุกรรมการ

๒๑ . นายมานพ ทิพย์โอสถ                      กรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ

ผู้ช่วยเลขานุการคณะอนุกรรมการ

ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓  คณะอนุกรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ แบ่งงานออกเป็น ๖  กลุ่มงาน คือ

๓.๑ งานรณรงค์เพื่อสิทธิเสรีภาพสื่อ

๓.๑.๑. โครงการฉลองวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก (World Press Freedom Day – 3 MAY) เป็นโครงการต่อเนื่องที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกวันที่ ๓ พฤษภาคม เนื่องจากเป็นวันที่องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก้ ได้เสนอให้สมัชชาใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติประกาศให้วันที่ ๓ พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก เพื่อย้ำเจตนารมณ์และหลักการที่เป็นพื้นฐานของเสรีภาพสื่อมวลชนทั่วโลก ซึ่งก็คือเสรีภาพในการแสดงออก  ตั้งแต่เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๔๓  สมาคมฯ ก็ได้ร่วมกับสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย เครือข่ายส่งเสริมสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนในเอเชียอาคเนย์ และองค์การยูเนสโก้ จัดกิจกรรมเฉลิมฉลองในโอกาสดังกล่าวมาโดย ตลอด

ในปี ๒๕๕๓ สมาคมฯ ได้จัดกิจกรรมเฉลิมฉลองวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก ในวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓กิจกรรมประกอบด้วย การประกวดบทความในหัวข้อ “สื่อเสรีจะร่วมสร้างสันติภาพได้อย่างไร”, การรวบรวมความเห็นบุคคลสำคัญ ต่อการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนไทย, การเสวนาในหัวข้อเรื่อง “สื่อเสรีจะร่วมสร้างสันติภาพได้อย่างไร “ โดยผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล  นายสุนัย ผาสุก ดร.พนา ทองมีอาคม ดร.เอกพันธ์ ปิณฑวนิช ดำเนินรายการโดยนายวีระศักด์  พงศ์อักษร เลขาธิการ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ, การออกแถลงการณ์เนื่องในวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก  เพื่อแสดงถึงท่าที่และจุดยืนของสื่อมวลชนไทย  การแถลงผลสำรวจความคิดเห็นจากสวนดุสิตโพลล์ เกี่ยวกับการทำหน้าที่ของสื่อกับการคาดหวังจากสังคมในสถานการณ์ปัจจุบัน และกิจกรรมรณรงค์เพื่อเปิดรับรับฟังเสียงสะท้อนมุมมองความคิดเห็นเกี่ยวกับสื่อ ภายใต้แนวคิดที่ว่า  “ คิดถึงสื่อ.... คิดถึงอะไร....”  ณ  หน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลลาดพร้าว

โดยในปีนี้มีทั้งศิลปิน ดารา และผู้ประกาศข่าวจากสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ เข้าร่วมรณรงค์ อาทิ จากค่ายอาร์เอส นำโดยอี๊ด ลูลู่ และลาล่า แห่งวงโปงลางสะออน, นางสาวกอบกุลยา จึงประเสริฐ รองนางสาวไทย อันดับ ๑  ปี ๒๕๕๒, นางสาวรรวิตา จันทร์หุ่น รองนางสาวไทยอันดับ ๒ ปี ๒๕๕๓ , มิสทีนไทยแลนด์ปี ๒๕๕๓ นำโดย  นางสาวเซฟฟานี่ อาวะนิค (แคท)  และรองอันดับ ๑ นางสาวมิเชล เบอร์เมนน์ (มีเชล)  รองอันดับ ๒ นางสาววุฒินี ทองแก้ว (โค้ช) , นางสาวคริสติน่า ฮูนและนางสาวปรียากานต์ ใจกันทะ (ยิหวา), นายกิตติ สิงหาปัด จากรายการข่าวสามมิติ ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง ๓ , นายอนุชา  นวสำเภาเงิน  ,นางสาวอารมณ์  สมวงศ์ และนางสาวนิภาพร เนียมนาค จากสำนักข่าวไอเอ็นเอ็น ,ผู้ประกาศข่าวจากรายการเช้านี้ที่หมอชิต  สถานีโทรทัศน์ช่อง 7 นำโดยนางศศิวรรณ เลิศวิริยะประภา,นายจำเริญ รัตนตั้งตระกูล ,นางสาวทิชา  สุทธิธรรม และนางสาววันดี วรรณเมธางกูร    และ ทีมผู้ประกาศข่าวจากทีวีไทย นำโดย นายลานบุญ วุฒฑกุล  และนางสาวพิมพิมล ปัญญานะ จากช่วงข่าวเที่ยง  นายอัครพล ทองธราดล จากทีวีไทยสุดสัปดาห์  นางสาวกมลวรรณ  ตรีพงศ์ ข่าวในพระราชสำนัก   และนางสาวสิริมา  ทรงกลิ่น ข่าวดึกทีวีไทย และนักหนังสือพิมพ์อาวุโส อาทิ นายสมชาย กรุสวนสมบัติ,นายมานิจ สุขจิตร เป็นต้น

โดยผู้สนับสนุนงานวัน เสรีภาพสื่อมวลชนโลก ประกอบด้วย ๑. ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน), ๒. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน), ๓. บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด, ๔. บริษัท บัตรกรุง ไทย จำกัด (มหาชน), ๕.บริษัทเจริญโภคภั ณฑ์ อาหาร จำกัด (CPF), ๖.บริษัท ซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) และ ๗. กลุ่มสยามบรรจุภัณฑ์

๓.๒ งานส่งเสริมทักษะวิชาชีพข่าว คณะอนุกรรมการฝ่ายสิทธิและเสรีภาพสื่อ สมาคมฯ ได้พิจารณาเห็นว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  ประเทศไทยต้องเผชิญกับภาวะวิกฤติของความขัดแย้งทางการเมืองที่ลุกลามบานปลายจนกลายเป็นความขัดแย้งของผู้คนในสังคมไทย   จนนำไปสู่การใช้อาวุธสงครามชนิดต่างๆ เป็นเครื่องมือในการทำร้ายฝ่ายที่เห็นไม่ตรงกัน ไม่เว้นแม้แต่สื่อมวลชนที่ต้องทำหน้าที่ในการรายงานความเป็นไปของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต้องเผชิญภาวะถูกคุกคามและตกเป้าหมายในการทำล้างอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน     กล่าวได้ว่ามีความจำเป็นที่จะให้สื่อมวลชนต้องเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การป้องกันตัวเองและรู้วิธีการเตรียมความพร้อมเบื้องต้นก่อนลงพื้นที่ทำงานข่าว จึงได้จัดการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะขึ้น ๒ หลักสูตร

๓.๒.๑  การอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “อาวุธศึกษา” สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย  และสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย โดยความร่วมมือกับกรมสรรพาวุธทหารบก  จัดการอบรมหลักสูตร “อาวุธศึกษา” ขึ้นเพื่อ เตรียมพร้อมการทำข่าวในสถานการณ์ความรุนแรงให้ผู้สื่อข่าวและช่างภาพจากสื่อหนังสือพิมพ์  สถานีโทรทัศน์และวิทยุ  ได้เรียนรู้เรื่องอาวุธสงครามและระเบิด การป้องกัน  โดยเป็นการสร้างองค์ความรู้พื้นฐานให้แก่สื่อมวลชนความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับอาวุธทุกชนิด  ตลอดจนประสิทธิภาพในการทำลายล้าง  รวมไปถึงการจุดระเบิดชนิดต่างๆ รวมทั้งสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและเรียนรู้วิธีการป้องกันตัวจากอาวุธและระเบิดชนิดต่างๆ จัดระหว่างวันศุกร์ที่ ๒๗ - วันอาทิตย์ที่ ๒๙  สิงหาคม ๒๕๕๓ ณ แผนก ๕  กองคลังแสง  กรมสรรพาวุธทหารบก  อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา มีสื่อมวลชนสนใจเข้าร่วม ๕๐ คน

 

๓.๒.๒ การอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “การรายงานข่าวในสถานการณ์ความรุนแรง (Safety Training for Thai Journalists)” สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย  ร่วมกับ INSI-International News Safety Institue  จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ การรายงานข่าวในสถานการณ์ความรุนแรง (Safety Training)”  ขึ้นเพื่อให้ผู้สื่อข่าวและช่างภาพจากสื่อหนังสือพิมพ์  สถานีโทรทัศน์และวิทยุ  ได้เรียนรู้เรื่องการทำข่าวอย่างปลอดภัยในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยง โดยเนื้อหาการอบรมประกอบด้วย ๑. แลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำข่าวในสถานการณ์ขัดแย้ง ๒. การประเมินความเสี่ยง-การตัดสินใจส่งนักข่าวลงพื้นที่ ๓. การทำข่าวท่ามกลางการจลาจลและความรุนแรง ๔. การช่วยเหลือพยาบาล ๕. เรียนรู้เรื่องอาวุธชนิดต่างๆ ๖. สถานการณ์การวางเพลิง  ๗. การปฏิบัติตัวเมื่อถูกตั้งด่านตรวจ ๘. การเอาตัวรอดเมื่อถูกจับตัวโดยผู้ก่อการร้าย ๙. การปฏิบัติตัวในภาวะกดดันจากความรุนแรง  จัดขึ้นระหว่างวันศุกร์ที่ ๑๗ - วันอาทิตย์ที่ ๑๙  ธันวาคม ๒๕๕๓ ณ ฮิลล์ไซด์รีสอร์ท คันทรีโฮม กอล์ฟ แอนด์ รีสอร์ท จังหวัดปราจีนบุรี มีผู้เข้าร่วม ๒๕ คน

 

๓.๓ งานติดตามสถานการณ์ด้านสิทธิเสรีภาพและสถานการณ์สื่อ

๓.๓.๑  การจัดรายงานสถานการณ์สื่อไทยและภาษาอังกฤษ (2010 Thai Media Updates) สมาคมฯได้จัดทำรายงานสถานการณ์สื่อรายเดือนเผยแพร่ผ่านเวบไซต์www.tja.or.th โดยเป็นการจัดทำทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

 

๓.๓.๒ การจัดทำสถานการณ์สื่อประจำปี สมาคมฯ ได้จัดทำรายงานสถานการณ์สื่อประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๓ เผยแพร่ในวันสิ้นปี เพื่อสรุปเหตุการณ์หลักที่เกิดขึ้นในแวดวงสื่อมวลชน  โดยสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย  ได้สรุปว่า ปี ๒๕๕๓ เป็น “ปีแห่งความยากลำบากในการทำหน้าที่สื่อ”

 

๓.๔ งานกองทุนสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดตั้งกองทุนสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ ขึ้นเพื่อทำให้การทำงานด้านการรณรงค์สิทธิเสรีภาพสื่อ สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืนมากขึ้น โดยเบื้องต้นได้รับงบประมาณสนับสนุนจากการประมูลภาพวาดสีน้ำของอาจารย์ธีร ยุทธ บุญมี ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๕๒ จำนวน ๑,๗๒๒,๐๐๐ บาท โดยกองทุนมีวัตถุประสงค์หลัก ๔ ข้อ คือ ๑. ติดตามเฝ้าระวังสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนและประชาชน๒. ส่งเสริมและปกป้องสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชน ๓. ผลักดันนโยบายและกฎหมายเพื่อการปฏิรูปสื่อ และ ๔. ส่งเสริมเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่ทำงานด้านสิทธิเสรีภาพทั้ง ในและนอกประเทศ

๓.๕  หนังสือภาพข่าว “หมายเหตุ ประเทศไทย COUNTRY IN CRISIS VIOLENCE THROUGH THE LENS” สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับชมรมช่างภาพการเมืองและ สมาคมผู้สื่อข่าวและช่างภาพอาชญากรรมแห่งประเทศไทย  ได้จัดทำโครงการหนังสือภาพข่าว “หมายเหตุ ประเทศไทย COUNTRY IN CRISIS VIOLENCE THROUGH THE LENS”  ขึ้นโดยรวบรวมภาพเหตุการณ์ความรุนแรงระหว่างการชุมนุมของกลุ่ม แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ระหว่างเดือนมีนาคมถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓  ด้วยความร่วมมือของช่างภาพเกือบ ๑๐๐  ชีวิตจากทุกสำนักพิมพ์  โดยการเลือกภาพข่าวกว่า ๑๐,๐๐๐ ภาพ เหลือ ๔๒๐  ภาพ มาจัดพิมพ์บันทึกเป็นหนังสือภาพ เพื่อเป็นพยานทางประวัติศาสตร์ของความรุนแรงที่เกิดจากความขัดแย้งทางการเมืองไทย

 

๓.๖ เฝ้าระวังการคุกคามสื่อ

๓.๖.๑ ปลอกแขนสื่อมวลชน จากวิกฤตความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทย ที่มีความรุนแรงมากขึ้นจนนำไปสู่การใช้อาวุธทำร้ายฝ่ายตรงข้าม ทำให้สื่อมวลชนภาคสนามที่ต้องเข้าร่วมทำข่าวการชุมนุมต่างๆ ตกอยู่ในภาวะที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับการบาดเจ็บ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จึงได้มีความเห็นว่าเพื่อที่จะให้นักข่าวได้ทำหน้าที่อย่างสะดวก และเพื่อเป็นการแสดงตนในการทำหน้าที่สื่อมวลชนอย่างชัดเจน จึงได้จัดทำปลอกแขนสื่อมวลชนสีเขียวขึ้น โดยได้ประสานงานกับนายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ  แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) เพื่อแจ้งต่อไปยังการ์ดและผู้ชุมนุม นปช. และได้ประสานงานกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อแจ้งต่อไปยังหน่วยงานความมั่นคงและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานดูแลการชุมนุมของกลุ่ม นปช. ให้รับทราบตรงกันว่าในการทำข่าวการชุมนุมครั้งนี้ สื่อมวลชนทุกแขนงที่เข้าร่วมทำข่าวจะสวมปลอกแขนสีเขียวที่มีตราสัญญลักษณ์ของสมาคมฯ  (๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓)

๓.๖.๒ ส่งจดหมายแสดงความเสียใจต่อการเสียชีวิตของนายฮิโรยูกิ มูราโมโต ช่างภาพข่าวโทรทัศน์ชาวญี่ปุ่น ของสำนักข่าวรอยเตอร์ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย  ได้ส่งจดหมายแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อการเสียชีวิตของนายฮิโรยูกิ มูราโมโต ช่างภาพข่าวโทรทัศน์ชาวญี่ปุ่น ของสำนักข่าวรอยเตอร์จากเหตุการณ์การปะทะกันระหว่างทหารและกลุ่มผู้ชุมนุม เมื่อ ๑๐  เมษายน ๒๕๕๓  ไปยังสำนักข่าวรอยเตอร์และครอบครัวของนายมูราโมโต พร้อมยืนยันว่า ทางสมาคมฯ จะช่วยติดตามตรวจสอบให้การสอบสวนถึงสาเหตุการเสียชีวิตของนายมูราโมโต เป็นไปอย่างยุติธรรมและโปร่งใสอีกด้วย  (๑๑ เมษายน ๒๕๕๓)

๓.๖.๓ เยี่ยมให้กำลังใจนักข่าวที่ได้รับบาดเจ็บจากการทำข่าวการชุมนุม นปช. นายประสงค์  เลิศรัตนวิสุทธิ์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และนายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี อุปนายกฝ่ายต่างประเทศ สมาคมฯ ได้ไปเยี่ยมและให้กำลังใจนักข่าวที่ได้รับบาดเจ็บ จากการทำข่าวเหตุการณ์ การชุมนุมของกลุ่ม นปช. (กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ)  อาทิ นายเนลสัน แรนด์  ช่างภาพผู้สื่อข่าว France ๒๔ ชาวแคนาดา ณ โรงพยาบาลบางกอกเนิร์สซิงโฮม, นายชัยวัฒ น์ พุ่มพวง ช่างภาพเครือเดอะเนชั่น ชาวไทย ณ โรงพยาบาลพญาไท ๑, นายแอนดรู ว์ บันคอมบ์ นักข่าวหนังสือพิมพ์ The Independent ชาวอังกฤษ ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี และ นายแชนด์เลอร์  แวนเดอร์กริฟต์  นักเขียนและช่างภาพ อิสระชาวแคนาดา ณ โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน  (๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๓)

๓.๖. ๔ มอบกระเช้าดอกไม้เพื่อให้กำลังใจแก่เพื่อร่วมอาชีพสื่อมวลชนที่ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง ๓ และหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์จากเหตุการณ์ถูกกลุ่มผู้ประท้วงบุกเผา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยและสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ มอบกระเช้าดอกไม้เพื่อให้กำลังใจแก่เพื่อนร่วมอาชีพสื่อมวลชนที่ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง และกองบรรราธิการหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ (๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓)

๓.๖.๕ งานเติมกำลังใจ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และนักข่าวภาคสนามที่เข้าร่วมทำข่าวการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) จัดงาน “เติมกำลังใจ” ขึ้นเพื่อเป็นการพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำข่าวสถานการณ์การชุมนุมทางการเมือง รวมทั้งการเปิดโอกาสให้นักข่าวภาคสนามได้ร่วมกันสะท้อนปัญหาในการทำข่าวซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาเป็นบทเรียนการทำข่าวในสถานการณ์ความขัดแย้งต่อไป  และเพื่อเป็นการผ่อนคลายหลังการทำหน้าที่รายงานข่าวอย่างต่อเนื่องยาวนาน ในวันศุกร์ที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๓ ณ  ห้อง Grand Panorama ชั้น ๑๔ โรงแรมดิเอมเมอรัลด์ ถนนรัชดาภิเษก กิจกรรมในงานประกอบด้วย นิทรรศการ “ชีวิต...กลางสมรภูมิ”, การมอบของที่ระลึกขอบคุณผู้มีอุปการคุณสนับสนุนสถานที่รายงานข่าวให้กับนักข่าวในช่วงสถานการณ์ชุมนุมทางการเมือง อาทิ           ๑. บริษัท ดีซี คอนซัลแทนส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง คอมมูนิเคชั่นส์ ๒. โรงแรมดุสิตธานี  ๓. โรงพยาบาลพญาไท๑  ๔. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ ๕. โรงพยาบาลจุฬาฯ, การฟังเสียงสะท้อน  “นาทีชีวิต เมื่อสื่อถูกคุกคาม” จากนายไชยวัฒน์ พุ่มพวง ช่างภาพหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่นที่ถูกยิงระหว่างการปฏิบัติหน้าที่, การบอกเล่าประสบการณ์จริง จากนักข่าวภาคสนาม และ การอ่านคำประกาศเสียงสะท้อนจากนักข่าวภาคสนาม ๙ ข้อ

๓.๖.๖ เร่งรัดคดีการเสียชีวิตของผู้สื่อข่าวต่างชาติระหว่างการทำข่าวการชุมนุมของกลุ่ม นปช. สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้ยื่นหนังสือผ่านนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  ไปถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในการขอให้รัฐบาลเร่งรัดติดตามตรวจสอบสาเหตุการเสียชีวิตด้วยความยุติธรรม โปร่งใสต่อกรณีของนายฮิโรยูริ มูราโมโตะ ช่างภาพชาวญี่ปุ่นของสำนักข่าวรอยเตอร์และนายฟาบิโอ โพเลนกี ช่างภาพชาวอิตาเลียน ที่ถูกยิงเสียชีวิตในระหว่างการเข้าไปทำข่าวการชุมนุมของกลุ่มนปช. (๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๓)

๓.๖.๗ ยื่นหนังสือกรณีสื่อมวลชนถูกคุกคามจากการตรวจสอบการบุกรุก ที่ราชพัสดุ อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย เข้าพบนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่ห้องสีม่วง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นหนังสือกรณีสื่อมวลชนถูกคุกคามจากการตรวจสอบการบุกรุก ที่ราชพัสดุ อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี  ซึ่งจากการติดตามตรวจสอบของสื่อมวลชน กลับส่งผลให้ สื่อมวลชนในพื้นที่ ๒  องค์กร คือจากสถานีโทรทัศน์ทีวีไทย และหนังสือพิมพ์อีกฉบับหนึ่งถูกข่มขู่คุกคาม (๑ ตุลาคม ๒๕๕๓)

 

๔ . คณะอนุกรรมการฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ ประกอบด้วยที่ปรึกษา ๒ คนและอนุกรรมการ ๑๒ คน

๑. นายดำฤทธิ์ วิริยะกุล                           หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ                                                         ที่ปรึกษา

๒. นายวัสยศ  งามขำ                              อดีตเลขาธิการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ  สมาคมฯที่ปรึกษา

๓. นายธนดล มีถม                                 อุปนายกฝ่ายกิจกรรมพิเศษ สมาคมฯ                                 ประธาน

๔. นายสมศักดิ์ ศรีกำเหนิด                      กรรมการฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ สมาคมฯ                  อนุกรรมการ

๕. นางสาวอัชณา จิณณวาโส                   นายทะเบียน สมาคมฯ                                         อนุกรรมการ

๖. นางสาวอมรรัตน์ มหิทธิรุกข์                 รองเลขาธิการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯอนุกรรมการ

๗. นายมนตรี  จุ้ยม่วงศรี                          อดีตกรรมการฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ สมาคมฯ            อนุกรรมการ

๘. นายจีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง                อดีตกรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯอนุกรรมการ

๙. นายมานพ ทิพย์โอสถ                          กรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯอนุกรรมการ

๑๐. นางสาวอุทุมพร เสนีวงศ์ ณ อยุธยา    กรรมการฝ่ายสวัสดิการ สมาคมฯ                          อนุกรรมการ

๑๑. นางสาวชุติมา นุ่นมัน                       หนังสือพิมพ์มติชน                                              อนุกรรมการ

๑๒. นายธเนศ นุ่นมัน                              หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์                                       อนุกรรมการ

๑๓. นายธนก บังผล                               หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์                                       อนุกรรมการ

๑๔. นางสาวเรวดี  พงศ์ไชยยง                  รองเลขาธิการฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ สมาคมฯ

เลขานุการคณะอนุกรรมการ

ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓  คณะอนุกรรมการฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ สมาคมฯ แบ่งงานออกเป็น ๒ กลุ่มงาน คือ

๔.๑ งานด้านสมาชิกสัมพันธ์

๔.๑.๑  พิราบ fit & firm รุ่น ๒ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับเครือข่ายคนไทยไร้พุง จัดทำโครงการดูแลห่วงใย ใส่ใจสุขภาพ เพื่อสุขภาวะสื่อมวลชน  พิราบ Fit & Firm รุ่น ๒ ขึ้นระหว่างวันเสาร์ที่ ๖ – วันอาทิตย์ที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ณ หิ่งห้อยชาเล่ท์  อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี  โดยกิจกรรมในโครงการเน้นการดูแลสุขภาพทั้งกายและใจ และเน้นการสานความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักข่าว ๓ รุ่น เพื่อให้นักข่าวมีประสบการณ์ตรงในการบริโภคอาหารที่ถูกหลักโภชนาการและมีทักษะในการบริหารร่างกาย รวมทั้งมีโอกาสในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกันและระหว่างรุ่นพี่และรุ่นน้อง จะนำมาซึ่งนักข่าวที่มีสุขภาวะที่ดี อันจะส่งผลต่อการรายงานข่าวและการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนักข่าวก็จะพัฒนาตามไปด้วย  สนับสนุนงบประมาณโดย  บริษัท ซาโนฟี่-อเวนตีส (ประเทศไทย) จำกัด

กิจกรรมในโครงการจะประกอบด้วยการควบคุมเมนูอาหารระหว่างการอบรม, การฝึกปฏิบัติการทางด้านร่างกาย ทั้งการออกกำลังกายแบบโยคะและการยืดกล้ามเนื้อ, การฝึกไทเก๊ก, รับฟังการบรรยายเรื่องการรับประทานอาหารอย่างถูกหลักโภชนาการ,ฟังการบรรยายเรื่องโรคที่เกิดจากการทำงาน การตรวจวัดดัชนีมวลกาย, การร่วมทำกิจกรรมแข่งขันการปรุงอาหาร และการเที่ยวชมสวนสัตว์เปิดเขาเขียว

๔.๑.๒ ปั้นนักข่าวเป็นนักเขียนรุ่น ๔ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสถาบันอิศรา และสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการปั้นนักข่าวเป็นนักเขียนรุ่น ๔ ขึ้นระหว่างวันเสาร์ที่ ๙ – วันอาทิตย์ที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๓ ณ บ้านอัมพวารีสอร์ท แอนด์ สปา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีในหมู่นักข่าว และการสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้กับนักข่าวในการนำไปพัฒนาการเขียนข่าวและการ เขียนในรูปแบบอื่นๆ การอบรมเน้นการฝึกปฏิบัติจริงในการเขียนเรื่องสั้น โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิด้านงานวรรณกรรม อาทิ นายเรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์  นักเขียน-นักหนังสือพิมพ์,  นางชมัยภร แสงกระจ่าง   นายกสมาคมนักเขียนฯ, นางสาวรุ่งมณี เมฆโสภณ สื่อมวลชนอิสระ, นายประชาคม ลุนาชัย นักเขียนรางวัลเซเว่นบุ๊คอะวอร์ด ,นายเรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ กวีซีไรท์ และนายวัชระ สัจจะสารนักเขียนรางวัลซีไรต์  และนายอุทิศ เหมะมูล นักเขียนรางวัลซีไรต์ , มีนักข่าวเข้าร่วมการอบรมจำนวน  ๓๕  คน

๔.๑.๔ อบรมหลักสูตรการพัฒนาบุคลิกภาพและอาชีพเสริม ฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดการอบรมเพื่อการพัฒนาบุคลิกภาพและอาชีพเสริม  ขึ้น ๒ หลักสูตร คือ ร่วมกับบริษัท รีเทลลิงค์ (ไทยแลนด์) จำกัด จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรกาแฟมืออาชีพ สำหรับสื่อมวลชน รุ่นที่ ๑  เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๓ ณ บริษัท รีเทลลิงค์ (ไทยแลนด์) จำกัด วิภาวดี ๖๒   โดยวัตถุประสงค์เพื่อสร้างอาชีพเสริมให้กับนักข่าวและครอบครัว มีผู้เข้าร่วมอบรม ๔๐ คน และจัดอบรมหลักสูตร Skin Care & Make Up ขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๓ โดยความร่วมมือกับเครื่องสำอาง H2O และ Lara Mecier เพื่อพัฒนาบุคลิกภาพของนักข่าว ณ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย มีผู้เข้าร่วมอบรม ๓๐ คน

๔.๑.๕ กระจิบกระจาบพิราบน้อยรุ่น ๕ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดทำโครงการค่ายกระจิบกระจาบพิราบน้อย รุ่น ๕  เพื่อสานสัมพันธ์ระหว่างบุตรหลานสมาชิกสื่อมวลชน ด้วยกิจกรรมที่สร้างสรรค์ ซึ่งเป็นความริเริ่มร่วมกันระหว่างสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ กับบริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณการอบรมมาโดยตลอด ในปี ๒๕๕๓ จัดเมื่อวันเสาร์ที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๓ กิจกรรมประกอบด้วย “Sweet For Fun” สนุกกับการเรียนรู้แต่งหน้าคัพเค้ก,     ชมภาพยนตร์การ์ตูนโดเรมอน,นั่งรถรางทัวร์รอบเกาะรัตนโกสินทร์ และเที่ยวชมสวนสัตว์เขาดิน มีบุตร-ธิดาสมาชิกเข้าร่วม ๓๐ คน

 

๔.๒ แผนงานด้านสวัสดิการสมาชิก

๔.๒.๑ การจัดพิธีมอบทุนการศึกษาบุตร-ธิดานักข่าว สมาคมฯ มอบทุนการศึกษาบุตร-ธิดานักข่าวเมื่อวันเสาร์ที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓  ได้แบ่งให้ทุนการศึกษาออกเป็น ๒ ประเภท  คือ ๑. ทุนส่งเสริมการศึกษา เป็นการให้ทุนแบบรายปี โดยใช้งบประมาณจากกองทุนการศึกษาเพื่อบุตร-ธิดา สมาชิกสมาคมฯ มีผู้ได้รับการอนุมัติทุนการศึกษาจำนวน ๑๕๑ ทุน ทุนละ ๔,๐๐๐ บาท เป็น เงิน ๖๔๐,๐๐๐ บาท และ ๒. ทุนต่อเนื่อง ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิซิเมนต์ไทย เป็นปีที่ ๓ โดยในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้รับการสนับสนุนเพิ่มอีก ๑๐ ทุน

ในพิธีมอบทุนการศึกษา ได้มีการจัดกิจกรรม “กิจกรรมฐานฝึกทักษะ   ๔ ฐาน  ( ลูกโป่งประดิษฐ์แปลงร่าง , ประดิษฐ์สายหนัง,  หินสีนำโชคและ  ผ้าขนหนูแปลงร่างวาดเส้น)  โดยได้รับการสนุนอาหารจาก บริษัท ยัม เรสเตอรองส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด    ได้รับความสนใจจากบุตร-ธิดา สมาชิก เข้าร่วมประมาณ  ๑๐๐ คน

๔.๒.๒ คัดเลือกนักข่าวเข้ารับทุนการศึกษาระดับมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม ใน ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ สมาคมฯ ได้รับการสนับสนุนทุนการศึกษาระดับมหาบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยศรีปทุมจำนวน ๒ ทุน โดยได้คัดเลือกนายสุเมธ สมคะเน   ผู้สื่อข่าว หนังสือพิมพ์ไทยรัฐและคณะทำงานจุลสารราชดำเนิน สมาคมฯ และนาย นายจิรยุทธ ปรีชัย  นักข่าวสังกัดมีเดียสตูดิโอและคณะทำงานสมาชิกสัมพันธ์ สมาคมฯ เข้าศึกษาต่อในหลักสูตรนิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต  โดยเกณฑ์การคัดเลือกผู้สื่อข่าวเข้ารับทุนการศึกษา นั้นต้องเป็นผู้ที่ทำประโยชน์ให้กับสมาคมฯ มีความสนใจและรับผิดชอบในการศึกษาต่อ (ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ สมาคมฯ ได้ส่งนายธีรเดช เอี่ยมสำราญ บรรณาธิการเวบไซต์หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจและอดีตเลขาธิการ สมาคมฯ เข้าศึกษาในหลักสูตรนิติศาสตร์มหาบัณฑิต, ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ สมาคมฯได้ส่งนายเสถียร วิริยะพรรณพงศา เข้าศึกษาในหลักสูตรนิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต)

๔.๒.๓ การมอบสินไหมมรณกรรมและการร่วมเป็นเจ้าภาพงานสวดพระอภิธรรมศพ สมาคมฯได้จัดทำประกันชีวิตกลุ่มให้กับสมาชิกที่ชำระเงินค่าบำรุงประจำปีกับ บริษัทเมืองไทยประกันชีวิต โดยในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ สมาคมฯ ได้ส่งมอบสินไหมมรณกรรมให้กับทายาทของสมาชิกที่เสียชีวิตจำนวน ๓ รายคือ ๑. ทายาทของนายพิเชียร  คุระทอง       (นสพ.มติชน) ๒. ทายาทของนายตั๊ก  ฐิติบรรณ(นสพ. กรุงเทพธุรกิจ) และ  ๓. ทายาทของนางนพวรรณ  กลิ่นสุคนธ์ (นสพ. มติชน)  ร่วมทั้งได้ร่วมเป็นเจ้าภาพงานสวดพระอภิธรรมศพสมาชิกอีก ๒ รายคือ

นายทองใบ ทองเปาด์ (๒๕ มกราคม ๒๕๕๔)และนายมนู จรรยงค์ (๓๐ มกราคม ๒๕๕๔)

๔.๒.๔ ชมรมผู้สื่อข่าวอาวุโส คณะกรรมการบริหาร สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้มอบหมายให้นายบุตรดา ศรีเลิศชัย กรรมการควบคุมจริยธรรม สมาคมฯ รับผิดชอบดูแลสวัสดิการสมาชิกอาวุโส โดยได้มีการเชิญบรรดานักหนังสือพิมพ์อาวุโสมาร่วมประชุมเพื่อหารือเรื่องทิศทางและแนวทางในการดูแลด้านสวัสดิการให้กับนักหนังสือพิมพ์อาวุโส มีแนวคิดเบื้องต้นในการจัดตั้งเป็นชมรมผู้สื่อข่าวอาวุโส

 

ได้มีการจัดการประชุม ๒ ครั้ง คือเมื่อวันที่  ๒๒ กันยายนและวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๓  มีนักหนังสือพิมพ์อาวุโสที่เข้าร่วม อาทิ นาย พิศาล พ้นภัย  (๘๘ ปี), นายเชลง กัทลีระพันธุ์  (๘๓๔ ปี), นายถาวร สุวรรณ (๘๔ ปี), นายวิเชียร แก้วเปล่ง (๘๒ ปี), นายไชยงค์ นุกรณ์นวรัตน์ (๗๙ ปี), นางคณิต นันทวาที (๗๙ ปี),นายสุธี มีศิลสัตย์ (๗๙ ปี), นายมานะ โอภาส (๗๘ ปี),นายขจร พราวศรี (๗๔ ปี), นายบัญฑิต รัชวัฒนะธานินทร์ (๗๓ ปี), นางผุสดี คีตวรนาฎ (๗๒ ปี), นายพงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร (๖๗ ปี), นายสุเทพ พุทธิวรกฤต (๗๒ ปี), นายสมผัส พึ่งประดิษฐ์ (๘๔ ปี)และนายปรีชา พบสุข (๘๔ ปี)

๔.๒.๕  กองทุนเพื่อเพื่อน สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดตั้งกองทุนเพื่อเพื่อนขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำกิจกรรมที่เป็นสาธารณประโยชน์  โดยแบ่งความช่วยเหลือออกเป็น ๒ ประเภท คือ ๑. ให้ความช่วยเหลือสื่อมวลชนที่ประสบอุบัติเหตุหรือเสียชีวิตเนื่องมาจากการปฏิบัติ ๒. ให้ความช่วยเหลือองค์กรสาธารณประโยชน์และไม่แสวงหากำไร

 

ในปี ๒๕๕๓ ได้นำกองทุนเพื่อเพื่อนให้ความช่วยเหลือ ๒ ราย คือ ๑.นายไชยวัฒน์ พุ่มพวง ช่างภาพหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่นที่ถูกยิงบาดเจ็บระหว่างการปฏิบัติหน้าและ ๒. ผศ. สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และอนุกรรมการฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ

๕. คณะอนุกรรมการฝ่ายต่างประเทศ ประกอบด้วยที่ปรึกษา ๔  คนและอนุกรรมการ ๕ คน

๑.นายกวี จงกิจถาวร                               หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น                                        ที่ปรึกษา

๒. นายเกียรติชัย พงษ์พาณิชย์                  หนังสือพิมพ์ข่าวสด                                            ที่ปรึกษา

๓. นางสาวบุญรัตน์ อภิชาติไตรสรณ์         หนังสือพิมพ์คมชัดลึก                                         ที่ปรึกษา

๔. นางสนิทสุดา เอกชัย กองจันทึก            หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์                                  ที่ปรึกษา

๕. นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี                   อุปนายกฝ่ายต่างประเทศ                         ประธาน

๖. นายวริษฐ์ ลิ้มทองกุล                          หนังสือพิมพ์เอเอสทีวีผู้จัดการ                              อนุกรรมการ

๗. นางกุลชาดา ชัยพิพัฒน์                      เครือข่ายซีป้า                                                      อนุกรรมการ

๘. นางสาวตติกานต์ เดชพงษ์                  หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ                                             อนุกรรมการ

๙. นายอนุชา เจริญโพธิ์                           หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์                      เลขานุการคณะอนุกรรมการ

 

ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓  คณะอนุกรรมการฝ่ายต่างประเทศ สมาคมฯ แบ่งงานออกเป็น ๒ กลุ่มงาน คือ

๕.๑ ความสัมพันธ์กับสื่อมวลชนระหว่างประเทศ

๕.๑.๑ โครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์สื่อมวลชนจีน-ไทย สมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย  ได้ส่งคณะผู้แทนไปเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน  ตามคำเชิญของของสมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (All China Journalists Association – ACJA)  โดยมีนายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ นายกสมาคมฯ เป็นหัวหน้าคณะพร้อมคณะผู้แทนอีก ๗ คนประกอบด้วย ๑. นางผุสดี คีตวรนาฏ อดีตนายกสมาคมฯ,๒. นางสาวนาตยา เชษฐโชติรส อดีตนายก สมาคมฯ,๓. นางสาวบุญรัตน์ อภิชาตไตรสรณ์ อดีตอุปนายกฝ่ายต่างประเทศ สมาคมฯ, ๔.นายปราเมศร์ เหล็กเพ็ชร์ อดีตรองเลขาธิการ สมาคมฯ,๕. นางสาวอัชฌนา  จิณณวาโส  กรรมการฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ สมาคมฯ ๖. นายพีรพัฒน์ ดิลกกัลยากุล หัวหน้าศูนย์ข้อมูล สมาคมฯ  และ ๗. นายบริสุทธิ์ ประสมทรัพย์ ตัวแทนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย  โดยครั้งนี้เป็นการไปเยือน เมืองชิงเต่า เมืองเว่ยไห่  เมืองเยียนไถ  เมืองผงไหล มณฑลซันตง,เมืองต้าเหลียน มณฑลมณฑลเหลียวหนิง และปักกิ่ง  ระหว่างวันพฤหัสบดีที่ ๗– วันเสาร์ที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๓  โครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์สื่อมวลชนจีน-ไทยนี้เป็นโครงการที่ผลัด เปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพต้อนรับคณะสื่อมวลชนจากแต่ละประเทศ เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๒ เพื่อกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างสื่อมวลชนของทั้งสองประเทศอีกทั้งยัง เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ

๕.๑.๒ โครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์สื่อมวลชนไทย-ลาว เป็นโครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ในลักษณะเดียวกับโครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ไทย-จีน เริ่มต้นแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๐  โดยในปี พ.ศ. ๒๕๕๔  คณะสื่อมวลชนลาวนำโดยท่านสะหวันคอน ราชมนตรี  รองประธานสมาคมนักข่าวแห่ง สปป.ลาว (Laos Journalists Association)  และผู้อำนวยการสำนักงานหนังสือพิมพ์ภาษาต่างประเทศ เป็นหัวหน้าคณะ  มาเยือนระหว่างวันจันทร์ที่ ๒๔-วันอาทิตย์ที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๔  ได้เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี, เยี่ยมชมและแลกเปลี่ยนความเห็นกับผู้บริหารหนังสือพิมพ์เดลินิวส์, สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสและหนังสือพิมพ์เพชรภูมิ จังหวัดเพชรบุรี, การสัมมนาความร่วมมือสื่อมวลชนไทยลาวและการทัศนศึกษาที่เกาะเต่า จังหวัดชุมพร

 

ในการมาเยือนครั้งนี้ได้มีการทำบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่าง สื่อมวลชนไทย-ลาว เพื่อส่งเสริมและขยายความสัมพันธ์ร่วมมือกันระหว่างสมาคมนักข่าวแห่งสปป.ลาว กับสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยด้วย

 

๕.๑.๓  การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การรายงานข่าวตลาดทุนสำหรับสื่อมวลชนลาว” สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสมาคมนักข่าวแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้มีข้อตกลงในการแลกเปลี่ยนช่วยเหลือกันทางวิชาการสื่อมวลชนมาเป็นเวลากว่า ๒๐ ปีแล้ว และในโอกาสที่ประเทศ สปป.ลาวมีแผนที่จะเปิดการซื้อขายหลักทรัพย์ขึ้นเป็นครั้งแรกในตลาดหลักทรัพย์ของลาวในเดือนตุลาคม ๒๕๕๓  สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การรายงานข่าวตลาดทุนสำหรับสื่อมวลชนลาว” สำหรับสื่อมวลชนลาว ระหว่างวันเสาร์ที่ ๒๖ - วันอาทิตย์ที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๓ ณ นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล  ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ,นายวิเชฐ ตันติวานิช รองผู้จัดการสายงานผู้ออกหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียน  ดูแลสายงานการตลาด ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและนายวีระ ธีระภัทรานนท์ สื่อมวลชนอาวุโส ให้เกียรติเป็นวิทยากร สนับสนุนงบประมาณโดย ธนาคารธนชาต จำกัด มหาชน,  ธนาคารธนาคารกสิกรไทย  จำกัด(มหาชน) และ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

 

๕.๒ ความสัมพันธ์กับสื่อมวลชนนานาชาติ

๕.๒.๑ ต้อนรับคณะสื่อมวลชนกัมพูชา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดยนาย ชวรงค์  ลิมป์ปัทมปาณี  อุปนายกฝ่ายต่างประเทศสมาคมฯ และสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย โดยนายวิสุทธิ์  คมวัชรพงษ์  นายกสมาคมฯ  ได้ให้การต้อนรับคณะสื่อมวลชนกัมพูชาซึ่งมาเยือนประเทศไทย ตามคำเชิญของกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๓ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างสื่อมวลชนของทั้ง สองประเทศ

 

คณะอนุกรรมการฝ่ายต่างประเทศ สมาคมฯ ได้มีแนวคิดในการฟื้นฟูและแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างสื่อมวลชนไทยและสื่อมวลชนกัมพูชา โดยได้จัดทำโครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์สื่อมวลชนไทย-กัมพูชา ขณะนี้อยู่ในระหว่างการประสานงานและวางแผนกิจกรรม

 

๕.๒.๒ ต้อนรับคณะผู้แทนจากอัฟกานิสถาน สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดยนายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ นายก สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และนายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี อุปนายก สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ ให้การต้อนรับคณะผู้แทนจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง และ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ประเทศอัฟกานิสถาน ซึ่งมาเยือนไทยตามคำเชิญของเครือข่ายเอเชียเพื่อการเลือกตั้งเสรี (ANFREL) พร้อมแลกเปลี่ยนประเด็น "บทบาทสื่อมวลชนกับการเลือกตั้ง” เมื่อวันพฤหัสบดีที่  ๓ กุมภาพันธ์  ๒๕๕๔

 

๕.๒.๓ เสวนาสื่อมวลชน เรื่องการเลือกตั้งทั่วไปพม่าและผลกระทบต่อประเทศไทยและอาเซียน สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับเครือข่ายสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือซีป้า จัดเสวนาสื่อมวลชน เรื่องการเลือกตั้งทั่วไปพม่าและผลกระทบต่อประเทศไทยและอาเซียน เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๓  โดยมี ดร. หม่อง ซาร์นี นักวิจัยแลกเปลี่ยนและนักวิชาการเรื่องพม่าของสถาบันเพื่อความมั่นคงและการ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและ คณะเศรษฐศาสตร์การเมือง มหาวิทยาลัยลอนดอน, นาย จอ ซวา โม บรรณาธิการบริหารนิตยสารอิรวะดี, นายเกียรติชัย พงษ์พาณิชย์ บรรณาธิการอาวุโสของหนังสือพิมพ์ข่าวสด และนายกวี จงกิจถาวร บรรณาธิการอาวุโสของหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น เป็นวิทยากร

๖. คณะกรรมการอนุกรรมการฝ่ายเลขานุการ ประกอบด้วยที่ปรึกษา ๒ คนและกรรมการบริหาร  ๕ คน

๑. นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์     นายก สมาคมฯ                                                                          ที่ปรึกษา

๒. นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี       อุปนายกฝ่ายบริหาร สมาคมฯ                                                       ที่ปรึกษา

๓. นายวีระศักดิ์ พงศ์อักษร          เลขาธิการ  สมาคมฯ                                                                   ประธาน

๔. นางสาวอมรรัตน์ มหิทธิรุกข์     รองเลขาธิการ  สมาคมฯ                                                              กรรมการ

๕. นางสาวเรวดี พงศ์ไชยยงค์       รองเลขาธิการ  สมาคมฯ                                                              กรรมการ

๖. นางสาว น.รินี เรืองหนู            รองเลขาธิการ  สมาคมฯ                                                              กรรมการ

๗. นางสาวนภาพร พานิชชาติ      เหรัญญิก สมาคมฯ                                                                     กรรมการ

 

ในปี ๒๕๕๓ คณะอนุกรรมการฝ่ายเลขานุการ สมาคมฯ  ได้จัดกิจกรรมกิจกรรมการประสานความร่วมมือกับองค์กรภายนอก ดังนี้

๖.๑  เครือข่ายหยุดทำร้ายประเทศไทย เป็นโครงการต่อเนื่องที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้ร่วมมือกับองค์กรพันธมิตร ๒๑ องค์กรในการทำกิจกรรมรณรงค์หยุดทำร้ายประเทศไทย โดยในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้จัดกิจกรรมเดินรณรงค์บริเวณหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ตรงข้ามห้างสรรพสินค้ามาบุญครอง (๑๑ มีนาคม ๒๕๕๓)และกิจกรรมบริจาคน้ำดื่มบรรจุขวดให้กับกลุ่มผู้ชุมนุม นปช.,ทหารและตำรวจ (๑๖ มีนาคม ๒๕๕๓)

๖.๒  คณะกรรมการพัฒนาส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและความรับผิดชอบสื่อมวลชน(คพส.) สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและความรับผิดชอบสื่อมวลชน(คพส.) ขึ้นเพื่อจัดทำแผนงานการปฏิรูปสื่อมวลชนภาครัฐ และการพัฒนาสื่อมวลชนของเอกชน  โดยการแบ่งการทำงานออกเป็น ๕ คณะทำงานประกอบด้วย ๑. คณะทำงานพัฒนากลไกควบคุมกันเองทางวิชาชีพ

๒. คณะทำงานพัฒนาบุคลากรในวิชาชีพ    ๓. คณะทำงานปรับปรุงกฎหมายด้านสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชน ๔. คณะทำงานปรับปรุงกฎหมายด้านวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ และ ๕. คณะทำงานพัฒนากลไกการเฝ้าระวังการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน

๖.๓ ส่งมอบประเทศไทยให้ลูก หลาน กับ อดัม คาเฮน สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยร่วมกับสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (ฝ่ายวิชาการ) สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ กระทรวงอุตสาหกรรม สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง มูลนิธิดอกไม้และนกกระดาษเพื่อสันติภาพ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และไทยประกันชีวิต  จัดเสวนาเรื่อง “การขับเคลื่อนการส่งมอบประเทศไทยให้ลูก หลาน กับ อดัม คาเฮน” (๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๓)

๖.๔ สัมมนา กลไกการกำกับดูแลและควบคุมกันเองของสื่อมวลชนไทย เปรียบเทียบกับมาตรฐานนานาชาติ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยร่วมกับมูลนิธิฟรีดริค  เอแบร์ท  จัดงานสัมมนา กลไกการกำกับดูแลและควบคุมกันเองของสื่อมวลชนไทย เปรียบเทียบกับมาตรฐานนานาชาติ  วัตถุประสงค์เพื่อให้มีเวทีในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่อง ประสบการณ์ที่แตกต่างในประเทศเยอรมนีและไทย ในประเด็นกลไกการกำกับดูแลและการควบคุมกันเองของสื่อ โดยมี ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์  รองประธาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ในการนำเสนอกรอบแนวคิดงานวิจัยเรื่อง กลไกการกำกับดูแลและควบคุมกันเองของสื่อมวลชนไทย และวิจารณ์โดย ดร. โวฟกัง ชูล์ส  ผู้อำนวยการสถาบันฮานส์ เบร์โดว มหาวิทยาลัยฮัมบูร์ก   ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ณ  โรงแรมสยามซิตี้  (๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓)

๖.๕ โครงการระดมความคิดเห็น “บทบาทสื่อมวลชนต่อการปฏิรูปประเทศไทย” สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย ประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุโทรทัศน์ไทย สมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์วิทยุชุมชน จัดทำ โครงการระดมความคิดเห็น “บทบาทสื่อมวลชนต่อการปฏิรูปประเทศไทย” ขึ้นเพื่อรับฟังความคิดเห็นถึงบทบาทของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนและนักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อประมวลความคิดเห็นที่ได้จากการจัดเวทีรับฟังมาสังเคราะห์และจัดทำเป็นข้อเสนอเชิงนโยบาย เสนอต่อคณะกรรมการสมัชชาเพื่อการปฏิรูป คณะกรรมการปฏิรูป โดยมีการจัดการประชุมทั้งหมด ๖ ครั้งแบ่งตามภูมิภาคต่างๆ

 

ปี ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นปีแห่งความยากลำบากในการทำหน้าที่สื่อนั้น สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้มีความพยายามในการจัดทำโครงการต่างๆ ที่จะเอื้ออำนวยและสนับสนุนการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนทุกแขนง ภายใต้ความคาดหวังที่จะให้สื่อมวลชนสามารถรักษาบทบาทการทำหน้าที่ที่มีความเป็นกลางและเป็นธรรม ภายใต้หลักการแห่งวิชาชีพสื่อมวลชน