รายงานกิจกรรม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ประจำปี 2550

คณะกรรมการบริหาร สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมัยที่ ๘ ซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๐-๔ มีนาคม ๒๕๕๑ ได้ร่วมกันกำหนดนโยบายและทิศทางการบริหาร สมาคมฯ ภายใต้ ๔ ทิศทางหลัก คือ๑. การพัฒนาบุคลากรในวงการสื่อมวลชน โดยมอบหมายให้เป็นภารกิจของสถาบันอิศรา ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ ร่วมกับสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติก่อตั้งขึ้น ๒. งานด้านสิทธิเสรีภาพ ๓. งานปรับภาพลักษณ์ (รวมความสัมพันธ์ในหมู่สมาชิก) และ ๔. งานเชิงรุกกับองค์กรภาคีที่ทำประโยชน์สาธารณะ

โดยได้มีการจัดสรรภารกิจของคณะกรรมการบริหาร สมาคมฯ ออกเป็นฝ่ายงานต่างๆ จำนวน ๗ ฝ่ายงาน โดยทำงานในรูปแบบของคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ ดังนี้

๑. คณะอนุกรรมการฝ่ายพิจารณาบทบาทสมาคม ฯ ในสถานการณ์เร่งด่วน ซึ่งประกอบด้วยอนุกรรมการจำนวน ๕ คน ดังนี้

๑) นางสาวนาตยา เชษฐโชติรส นายก สมาคมฯประธานอนุกรรมการ

๒) นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์อุปนายกฝ่ายบริหาร สมาคมฯอนุกรรมการ

๓) นายตุลสถิตย์ ทับทิมอุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ อนุกรรมการ

๔) นายวันชัย วงศ์มีชัยอุปนายก สมาคมฯอนุกรรมการ

๕) นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์เลขาธิการ สมาคมฯ เลขานุการนุกรรมการ

โดยคณะอนุกรรมการ ชุดนี้จะทำหน้าที่ในการรวบรวมทั้งความเห็นและข้อเสนอต่างๆ จากบุคคลและองค์กรที่เกี่ยวข้องในการนำมาพิจารณาบทบาทสมาคมฯ ในสถานการณ์เร่งด่วน ทั้งในรูปแบบของการออกแถลงการณ์, การออกจดหมายเปิดผนึก และการเผยแพร่คำชี้แจงในเรื่องต่างๆ รวมทั้งทำความเข้าใจและสื่อสารกับสังคมในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ต่างๆ ของสื่อ (ดูเอกสารแถลงการณ์ในเล่ม)

๒. คณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ ซึ่งประกอบด้วยอนุกรรมการประกอบด้วยที่ปรึกษา ๓ คนและอนุกรรมการจำนวน ๑๑ คน ดังนี้

๑) อาจารย์ปกป้อง จันวิทย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ปรึกษาอนุกรรมการ-

๒) นางสาวบุญลาภ ภูสุวรรณ อดีตอุปนายกฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ ที่ปรึกษาอนุกรรมการ

๓) นางสาวนงค์นาถ ห่านวิไลอดีต เลขาธิการสมาคมฯ ที่ปรึกษาอนุกรรมการ

๔) นางสาวนภาภรณ์ พิพัฒน์ อุปนายกฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ ประธาน

๕) นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ เลขาธิการ สมาคมฯ อนุกรรมการ

๖) นางสาวอมรรัตน์ มหิทธิรุกข์ อดีตรองเลขาธิการ สมาคมฯ อนุกรรมการ

๗) นายธีรเดช เอี่ยมสำราญ อดีตเลขาธิการ สมาคมฯ อนุกรรมการ

๘) ผศ.สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา อนุกรรมการ

๙) นายปราเมศ เหล็กเพ็ชร รองเลขาธิการ ฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่ออนุกรรมการ

๑๐) นางสาวอิศรินทร์ หนูเมือง หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ อนุกรรมการ

๑๑) นางสาวเย็นจิตร์ สถิรมงคลสุข หนังสือพิมพ์มติชนอนุกรรมการ

๑๒) นางสาวจีระวัฒน์ ณ ถลาง กรรมการฝ่ายต่างประเทศอนุกรรมการ

๑๓) นายวัสยศ งามขำ กรรมการฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ สมาคมฯ อนุกรรมการ

๑๔) นางสาวน.รินี เรืองหนู รองเลขาธิการ ฝ่ายวิชาการ สมาคมฯเลขานุการ

ในปี ๒๕๕๐ คณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ แบ่งงานออกเป็น ๔ กลุ่มงาน คือ

๑. กลุ่มงานฝึกอบรม เนื่องจากสมาคมฯ ได้โอนภารกิจงานด้านการฝึกอบรมไปยังสถาบันอิศรา แล้วในปีนี้ฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ จึงจัดทำโครงการด้านการฝึกอบรมที่สมาคมฯ ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ๓ โครงการ คือ

๑.๑ โครงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์วิชาชีพหนังสือพิมพ์ เป็นโครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ด้านวิชาชีพหนังสือพิมพ์ให้กับอาจารย์ผู้สอนวิชาการหนังสือพิมพ์ในสถาบันอุดมศึกษา โดยมีอาจาร์ยเข้าร่วมโครงการจำนวน ๑๕ คน จัดระหว่างวันอาทิตย์ที่ ๒๒ เมษายน - วันศุกร์ที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ซึ่งนอกจากจะเปิดโอกาสให้อาจารย์ที่เข้าร่วมโครงการไปฝึกงานตามหนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆ แล้ว ยังมีการเข้าพบปะพูดคุยกับผู้บริหารหนังสือพิมพ์และมีการจัดทำบทความวิชาการตามหัวข้อที่อาจารย์สนใจออกมาเผยแพร่ด้วย สำหรับหนังสือพิมพ์ที่เปิดโอกาสให้อาจารย์ฝึกงานมีดังนี้ ๑. หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ๒. หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ๓. หนังสือพิมพ์มติชน ๔. หนังสือพิมพ์คมชัดลึก ๕. หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ๖. หนังสือพิมพ์เดะเนชั่น ๗. หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ และ๘. หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ

๑.๒ โครงการอบรมหลักสูตร “ ความรู้ทางการเมือง เศรษฐกิจและกฎหมายสำหรับสื่อมวลชน” รุ่นที่ ๑ จัดทำขึ้นเป็นรุ่นแรกในปี ๒๕๕๐ เพื่อให้สื่อมวลชนมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เศรษฐกิจและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งตระหนักถึงพลังและความสำคัญของสื่อที่มีต่อการพัฒนาประชาธิปไตย และเพิ่มศักยภาพและบทบาทในการให้การศึกษา และชี้นำสังคม ในบริบทต่าง ๆ ให้มากขึ้นอันจะนำไปสู่การนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาวิชาชีพของตน โดยมีสื่อมวลชน ทั้งหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์และสื่ออินเทอร์เน็ตและองค์กรเอกชนที่ให้การสนับสนุนกิจกรรมสมาคมฯ เข้าร่วมจำนวน ๕๐ คน จัดเป็นประจำทุกวันเสาร์ ระหว่างวันเสาร์ที่ ๒ มิถุนายน – วันเสาร์ที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๐ จำนวน ๗ เสาร์ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสถานฑูตสหรัฐอเมริกา มีองค์กรร่วมจัด ๒ องค์กรคือสถาบันอิศรา และสถาบันพระปกเกล้า

๑.๓ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการนักข่าวพิราบน้อยรุ่น ๑๐ เป็นโครงการต่อเนื่องจัดขึ้นเป็นปีที่ ๑๐ ซึ่งหากนับถึงปัจจุบันมีนักศึกษาที่ผ่านการอบรมกว่า ๗๐๐ คนแล้ว มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาวิชาชีพสื่อสารมวลชนด้านสิ่งพิมพ์ (Professional Development) ความรับผิดชอบต่อจริยธรรมในวิชาชีพ (Ethics Responsibility) และแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะองค์กรเพื่อสังคม (Organizational Social Responsibility) ซึ่งนักศึกษาที่เข้าร่วมอบรมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทั้งกับเพื่อนนักศึกษาจากต่างสถาบันและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักข่าวรุ่นพี่ที่ทำงานทั้งในภาคสนาม และในส่วนของผู้บริหารงานข่าว อันเป็นการเตรียมพร้อมในการเข้าสู่วิชาชีพ นอกจากนี้ยังเป็นกระบวนการปลูกฝังอุดมคติให้กับนักศึกษาด้วย ในรุ่นที่ ๑๐ มีนักศึกษาที่เรียนด้านหนังสือพิมพ์จากสถาบันอุดมศึกษาจากทั่วประเทศเข้าร่วมอบรมจำนวน๘๕ คน จาก ๓๘ สถาบัน จัดอบรมระหว่างวันพฤหัสบดีที่ ๓๐ สิงหาคม - วันอาทิตย์ที่ ๒ กันยายน ๒๕๕๐ ณ โรงแรมภูเขางาม จังหวัดนครนายก ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากบริษัท ทรู คอปอร์เรชั่น จำกัด มหาชน

๒. กลุ่มงานเสวนาและสื่อสารสาธารณะ ได้มีการจัดทำโครงการในกลุ่มงานเสวนาและสื่อสารสาธารณะ จำนวน ๓ โครงการ ดังนี้

๒.๑ ราชดำเนินเสวนา เป็นโครงการที่ดำเนินงานต่อเนื่องมาเป็นปีที่ ๙ ซึ่งเป็นความริเริ่มจากสมัยที่นายกวี จงกิจถาวร เป็นนายก สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย (พ.ศ. ๒๕๔๒) มีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพการทำงานข่าวให้มีคุณภาพและอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง โดยมีการเชิญแหล่งข่าวมาพบปะพูดคุยและตอบคำถามนักข่าว เพื่อเป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ระหว่างนักข่าวกับแหล่งข่าวในประเด็นต่าง ๆ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ในปี ๒๕๕๐ ได้จัดราชดำเนินเสวนาไปจำนวน ๑๒ ครั้ง ดังนี้ ๑. ทางออก...ไอทีวี ทีวีเสรี (๘ มีนาคม ๒๕๕๐) ๒. ธนาคารลูกจ้าง ความฝันหรือความจริง ? (๓๐ เมษายน ๒๕๕๐) ๓. ภาษีชินคอร์ป (๗ พฤษภาคม ๒๕๕๐) ๔. ทางออกวิกฤตความรุนแรงทางการเมือง (๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๐) ๕. “แม้วซิตี้” ของจริงหรือของเล่น (๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๐) ๖. เหตุผลรับ-ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญปี ๒๕๕๐ (๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๐) ๗. ประชามติรัฐธรรมนูญ ครั้งแรกในประเทศไทย ? (๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๐) ๘. เสริมจุดเด่น สลายจุดด้อย พ.ร.บ.ส่งเสริมครอบครัว (๔ สิงหาคม ๒๕๕๐) ๙. แกะรอยซุกหุ้น ภาค 2 (๑๙ กันยายน ๒๕๕๐) ๑๐. วิพากษ์ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ? (๒๕ กันยายน ๒๕๕๐) ๑๑. รัฐธรรมนูญไทยหลังการเลือกตั้ง ไม่มีแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ (๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๐) ๑๒. โพลเลือกตั้งกับการเมืองไทย (๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๐)

๒.๒ รายการวิทยุช่วยกันคิดทิศทางข่าว เป็นความร่วมมือระหว่างสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ กับสำนักข่าวไทยและบริษัท อสมท. จำกัด มหาชน ออกอากาศทางสถานีวิทยุ อสมท. FM ๑๐๐.๕ Mhz ทุกวันอาทิตย์เวลา ๑๓.๐๐-๑๔.๐๐ น. (เพิ่งเปลี่ยนแปลงเวลาในการออกอากาศตั้งแต่ ๖ มกราคม ๒๕๕๑) เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้นักข่าวรุ่นใหม่ได้เข้ามาร่วมกิจกรรมกับสมาคมฯ รวมทั้งเป็นเวทีในการสื่อสารเรื่องราวที่เกี่ยวกับสื่อมวลชนให้สาธารณชนได้รับทราบ และได้มีการจัดอบรมนักจัดรายการช่วยกันคิดทิศทางข่าวไปเมื่อ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๑ โดยมีคุณรุ่งมณี เมฆโสภณ เป็นวิทยากร สำหรับนักจัดรายการประจำปี ๒๕๕๑ มีจำนวน ๘ คนคือ นายธีรเดช เอี่ยมสำราญ, นางสาวอมรรัตน์ มหิทธิรุกข์, นายราม อินทรวิจิตร, นางสาวหทัยรัตน์ พหลทัพ, นายเสถียร วิริยะพรรณพงศา, นางสาวเพทาย นิยม, นางสาวเสมอใจ มณีโชติและนางสาวเบญจมาศ เลิศไพบูลย์

๒.๓www.tja.or.thเป็นเวบไซต์ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมข่าวสารต่างๆ ของสมาคมฯ ทั้งประชาสัมพันธ์กิจกรรม,รายงานกิจกรรม,กฎหมายที่เกี่ยวข้อง,ประวัติความเป็นมา,จุดยืนและท่าทีของสมาคมฯต่อสถานการณ์ต่างๆ ของบ้านเมือง รวมทั้งการบันทึกผลงานข่าวที่ได้รับรางวัลประเภทต่างๆ

๓. กลุ่มงานหนังสือ

๓.๑ จุลสารราชดำเนิน ในปี ๒๕๕๐ สมาคมฯ ได้ผลิตจุลสารราชดำเนินโดยออกเป็นรายสองเดือนอย่างต่อเนื่องจำนวน ๕ ฉบับ ซึ่งแต่ละฉบับมีเนื้อหาที่น่าสนใจ ได้รับเสียงสะท้อนอย่างดีทั้งจากสมาชิกสมาคมฯ สถาบันวิชาการและผู้สนใจทั่วไป โดยสามารถอ่านเนื้อหาจุลสารราชดำเนินฉบับย้อนหลังได้ที่ www.tja.or.th

๓.๒ คู่มือการทำข่าวเชิงสืบสวนสอบสวน เป็นโครงการที่สมาคมฯ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสถานฑูตสหรัฐอเมริกา ในการจัดทำคู่มือในการทำข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนเพื่อสรุปประสบการณ์และบทเรียนการทำข่าวเชิงสืบสวนสอบสวน ซึ่งจะได้นำไปเผยแพร่ให้กับนักข่าว นักศึกษาที่เรียนด้านหนังสือพิมพ์และผู้สนใจทั่วไป โดยก่อนการผลิตเป็นหนังสือคู่มือได้มีการจัดสัมมนาถอดประสบการณ์ “ข่าวเจาะ-เจาะข่าว” ชุดอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ มีวิทยากรที่เป็นทั้งนักข่าวและนักวิชาการที่มีประสบการณ์ด้านข่าวเจาะ เช่น นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์, นายเรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์,รศ. มาลี บุญศิริพันธ์,นายวรวิทย์ ศรีอนันตรักษา,นางสาวรุ่งมณี เมฆโสภณและนายธีรเดช เอี่ยมสำราญ

๓.๓ หนังสือวันนักข่าว”ครูนักข่าว” หนังสือวันนักข่าวเป็นหนังสือรายงานประจำปีที่สมาคมฯ ได้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการข่าวและหนังสือพิมพ์ ตลอดจนรายงานกิจกรรมของสมาคม และทำเนียบรายชื่อนักข่าวจากหนังสือพิมพ์ทุกฉบับที่เป็นสมาชิกสมาคม เนื้อหาหลักในปีนี้เน้นเรื่อง “ครูนักข่าว” มีเป้าหมายในการจัดทำบันทึกชีวประวัติ ผลงานและอุดมการณ์ของนักหนังสือพิมพ์ทั้งที่ล่วงลับไปแล้วและที่ยังมีชีวิตอยู่ รวมทั้งการจัดทำบันทึกประวัติศาสตร์วงการหนังสือพิมพ์ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ จนถึงปัจจุบัน จะมีการแจกจ่ายหนังสือวันนักข่าวถึงมือสมาชิก สมาคมฯ ในวันที่ ๔ มีนาคมของทุกๆปี

๓.๔ หนังสือคู่มือไทย-ลาว เป็นโครงการต่อเนื่องตั้งแต่ครั้งที่สมาคมนักข่าวฯ ไปเยือนสปป.ลาว เมื่อประมาณพ.ศ. ๒๕๔๓ โดยสมาคมนักข่าวฯของทั้งสองประเทศมีความเห็นร่วมกันว่าควรจะมีหนังสือคู่มือไทย-ลาวขึ้นมา ๑ เล่ม เพื่อลดช่องว่างของความไม่เข้าใจกันโดยเฉพาะจากปัจจัยทางด้านภาษา และเพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์ไทย-ลาวให้มากขึ้น โดยใช้ชื่อหนังสือคู่มือเล่มนี้ว่า “ไทยบ่ฮู้ซาว ลาวไม่รู้ยี่สิบ” ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสถานฑูตไทย ณ กรุงเวียงจันทร์และสมาคมมิตรภาพไทย-ลาว ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนปรับปรุงต้นฉบับ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี ๒๕๕๑

๔. กลุ่มงานวิชาการสาธารณะอื่นๆ

๔.๑ เวทีพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่อง “แรงงานข้ามชาติ” ในมุมมองของคุณ” สมาคมฯร่วมกับเครือข่ายองค์กรด้านแรงงานข้ามชาติ( Migrant Working Group /CSEARHAP) จัดการเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างสื่อมวลชนและนักพัฒนาเอกชนเรื่อง“แรงงานข้ามชาติ” ในมุมมองของคุณ” เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ โดยมีเป้าหมายเพื่อทำความเข้าใจร่วมกันในการนำเสนอปัญหาของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย รวมทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันระหว่างสื่อและคนทำงานในเรื่องแรงงานข้ามชาติ

๔.๒ โครงการตลาดนัดนโยบาย สมาคมฯร่วมกับเครือข่ายขับเคลื่อนสังคมเพื่อประชาชนมีสุข ซึ่งประกอบด้วย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.), คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สถาบันวิจัยสังคมจุฬาฯลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสมาคมวิชาชีพสื่อสองสมาคม คือ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยและสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัดทำโครงการการตลาดนัดนโยบายขึ้นโดยมุ่งที่จะเชื่อมโยงภาคประชาชนที่รวมถึงภาควิชาการและสื่อกับนโยบายการเมือง ทั้งในการเสนอนโยบายต่อสาธารณะ และไต่ถามตรวจสอบนโยบายพรรคการเมือง โดยในส่วนของสมาคมนักข่าวฯ ได้ร่วมรับผิดชอบในการจัดเวทีจัดเวทีเสนอนโยบายแห่งชาติเพื่อสันติสุขภาวะพื้นที่ภาคใต้ เพื่อให้ภาคประชาชนได้เสนอแนวทางแก้ปัญหา โดยมีตัวแทนกลุ่มต่างๆ อาทิ ผู้แทนศาสนา, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, สถาบันวิชาการ, เครือข่ายประมงพื้นบ้านและกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงมาร่วมให้ความเห็น เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๐ ณ โรงแรมซีเอสจังหวัดปัตตานี

๓. คณะอนุกรรมการฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ สมาคมฯ ซึ่งประกอบด้วยอนุกรรมการจำนวน ๑๑ คน ดังนี้

๑) นายวันชัย วงศ์มีชัยอุปนายก สมาคมฯประธานอนุกรรมการ

๒) นายปกรณ์ รัตนทรัพย์ศิริ นายทะเบียน สมาคมฯ อนุกรรมการ

๓) นายเขมชาติ ชวนะธิต กรรมการฝ่ายสวัสดิการ สมาคมฯอนุกรรมการ

๔) นายปกรณ์ พึ่งเนตรหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจอนุกรรมการ

๕) นายมนตรี จุ้ยม่วงศรี หนังสือพิมพ์มติชนอนุกรรมการ

๖) นายวิศิษฏ์ ชวนพิพัฒน์พงศ์ หนังสือพิมพ์คมชัดลึก อนุกรรมการ

๗) นายนพปฎล รัตนพันธ์ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์อนุกรรมการ

๘) นายธนก บังผล หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจอนุกรรมการ

๙) นายปิยะศักดิ์ อู่ทรัพย์ หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจอนุกรรมการ

๑๐) นางสาวชุติมา นุ่นมัน หนังสือพิมพ์มติชน อนุกรรมการ

๑๑) นายวัสยศ งามขำกรรมการฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ สมาคมฯ เลขานุการอนุกรรมการ

ได้มีการแบ่งเนื้อหาของคณะอนุกรรมการฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ ออกเป็นแผนงานด้านต่างๆ จำนวน ๓ ด้าน ดังนี้

๑. แผนงานด้านสมาชิกสัมพันธ์

๑) โครงการปั้นนักข่าวเป็นนักเขียน สมาคมฯ ได้ร่วมกับสถาบันอิศรา และสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการปั้นนักข่าวเป็นนักเขียนขึ้น ระหว่างวันเสาร์ที่ ๑๕ - วันอาทิตยที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๐ ณ คุ้มหม่อมไฉไล จังหวัดนครปฐม มีนักข่าวที่สนใจงานเขียนเชิงวรรณกรรมเข้าร่วมการอบรมจำนวน๓๐ คน ซึ่งนอกจากจะเป็นการกระชับความสัมพันธ์ในหมู่สมาชิกอันจะนำไปสู่ความเกี่ยวดองกันทางความคิดแล้ว ยังเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาศักยภาพของนักข่าวในการสืบสานแนวทางการทำงานของนักหนังสือพิมพ์รุ่นก่อนที่มักจะทำงานข่าวหนังสือพิมพ์ควบคู่กับการผลิตงานวรรณกรรมทั้งเรื่องสั้น เรื่องยาวและบทกวี สนับสนุนงบประมาณโดยมูลนิธิอิศรา อมันตกุล, มูลนิธิแสงชัย สุนทรวัฒน์ และกองทุนส่งเสริมจรรณยาบรรณนักข่าว สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

๒) โครงการอบรมการรายงานข่าวเรื่องเพศ เป็นโครงการต่อเนื่องจากการที่สมาคมฯ ได้ร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมสุขภาพผู้หญิง(สคส.) จัดตั้งคณะทำงานพัฒนาแนวทางการเสนอข่าวประเด็นผู้หญิง จนสามารถผลิตหนังสือคู่มือแนวทางในการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับเด็กและผู้หญิงได้ ๑ เล่ม ประกอบกับสมาคมฯ ต้องการขยายความสัมพันธ์ของนักข่าวไปสู่นักข่าวสายอาชญากรรมด้วย จึงได้ร่วมมือกับสมาคมนักข่าวอาชญากรรมแห่งประเทศไทยและสถาบันอิศรา จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการการรายงานข่าวเรื่องเพศขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ ๒๑ - วันอาทิตย์ที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๐ ณ โรงแรมซิกม่า รีสอร์ท พัทยา จังหวัดชลบุรี มีนักข่าวสายอาชญากรรมเข้าร่วมการอบรมจำนวน ๒๕ คน สนับสนุนงบประมาณโดยมูลนิธิส่งเสริมสุขภาพผู้หญิง โดยหลังจากการอบรมดังกล่าว ก็ได้มีการจัดกิจกรรมต่อเนื่อง ร่วมกันระหว่างสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯกับสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยและสมาคมนักข่าวอาชญากรรมแห่งประเทศไทย โดยเป็นการจัดเสวนาเรื่อง “พรบ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว” เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๐

๓) โครงการ SIPA CAMP and Contest on Embedded Technology สมาคมฯร่วมกับ SIPA ซึ่งเป็นองค์กรมหาชน จัดอบรมการประกอบหุ่นยนต์ SIPA CAMP and Contest on Embedded Technology ระหว่างวันที่ ๑-๔ พฤษภาคม ๒๕๕๐ มีบุตร-ธิดานักข่าวเข้าร่วมการอบรมจำนวน ๑๕ คน

๔) โครงการกระจิบ กระจาบ พิราบน้อยรุ่น ๔ สมาคมฯร่วมกับบริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด จัดทำโครงการกระจิบ กระจาบ พิราบน้อยรุ่น ๔ ขึ้นระหว่างวันเสาร์ที่ ๑๙-วันอาทิตย์ที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๑ มีบุตร-ธิดานักข่าวเข้าร่วมอบรมจำนวน ๓๐ คน โดยโครงการกระจิบ กระจาบ พิราบน้อยนี้ เป็นความริเริ่มร่วมกันระหว่างสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯกับ บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด ซึ่งให้การสนับสนุนงบประมาณการอบรมมาโดยตลอด ในการอบรมครั้งนี้นอกจากจะเพื่อพัฒนาศักยภาพของลูกหลายนักข่าวในด้านต่างๆ ทั้งการส่งเสริมจินตนาการที่กว้างไกล การริเริ่มสร้างสรรค์ ความมีวินัย มีน้ำใจและเอื้ออาทรแล้ว ยังเพื่อเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างมวลหมู่สมาชิกด้วยกันอีกด้วย สำหรับการอบรมครั้งนี้นับว่ามีความพิเศษกว่าครั้งที่ผ่านมาเนื่องจากทีมพี่เลี้ยงและวิทยากรทั้งหมดเป็นนักข่าวที่อาสาเข้ามาร่วมสร้างสรรค์กิจกรรมในครั้งนี้

๕) โครงการอบรมวาดภาพสีน้ำ “มุมที่สวยงามในชีวิตนักข่าว” สมาคมฯ จะจัดทำโครงการอบรมวาดภาพสีน้ำ “มุมที่สวยงามในชีวิตนักข่าว” ขึ้นระหว่างวันเสาร์ที่ ๘ – วันอาทิตย์ที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๑ ณ โรงเรียนธรรมชาติบ้านริมน้ำ ของศิลปินเป้ สีน้ำ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด ซึ่งจะเป็นการเน้นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักข่าวรุ่นอาวุโสกับนักข่าวปัจจุบัน โดยกิจกรรมในการอบรมนอกจากการฝึกวาดภาพสีน้ำแล้ว ยังมีการเสวนาประเด็น “มุมที่สวยงามในชีวิตนักข่าว” ด้วย

๖) ส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันโบว์ลิ่งสานสัมพันธ์สื่อมวลชนครั้งที่ ๕ สมาคมฯ ได้จัดส่งทีมนักกีฬาชายและหญิงเข้าร่วมการแข่งขันโบว์ลิ่งสานสัมพันธ์สื่อมวลชนครั้งที่ ๕ ซึ่งจัดโดยสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ณ เมเจอร์โบว์ รัชโยธิน

๒. แผนงานด้านสวัสดิการสมาชิก

๑) โครงการปรับปรุงระเบียบสวัสดิการสมาชิก ในปี ๒๕๕๐ สมาคมฯ ได้มีการปรับปรุงสวัสดิการสมาชิกใน ๒ รายการคือ ๑) สวัสดิการคลอดบุตรคนแรกปรับเพิ่มเงินสวัสดิการจากเดิม ๓,๐๐๐ บาทเป็น ๕,๐๐๐ บาท และ ๒) สวัสดิการมรณกรรม ปรับเพิ่มจากเงินช่วยงานสวดอภิธรรมศพจากเดิม ๓,๐๐๐ บาท เป็น ๕,๐๐๐ บาท นอกจากนี้ สมาคมฯ ยังได้ให้ความสำคัญกับสมาชิกอาวุโสอีกด้วย โดยได้มีการยกเว้นการเก็บเงินค่าบำรุงประจำปีของสมาชิกอาวุโสทุกประเภทที่มีอายุตั้งแต่ ๖๐ ปีขึ้นไป โดยสมาชิกอาวุโสยังคงได้รับสิทธิต่างๆเหมือนสมาชิกอื่นทุกประการ และยังได้เพิ่มสวัสดิการรักษาพยาบาลสำหรับสมาชิกอาวุโสแบบคนไข้นอก สามารถเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลได้ครั้งละไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท เบิกได้ไม่เกิน ๑๒ ครั้งต่อปี และสวัสดิการรักษาพยาบาลสำหรับสมาชิกอาวุโสแบบผู้ป่วยใน สามารถเบิกได้ไม่เกินครั้งละ ๕,๐๐๐ บาท โดยเบิกได้ไม่เกิน ๒ ครั้งต่อปี

๒) การจัดพิธีมอบทุนการศึกษาบุตร-ธิดานักข่าว สมาคมฯ ได้จัดพิธีมอบทุนการศึกษาบุตร-ธิดานักข่าวเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๐ มีผู้ได้รับการอนุมัติทุนการศึกษาจำนวน ๑๖๐ ทุน ทุนละ ๔,๐๐๐ บาท เป็น เงิน ๖๔๐,๐๐๐ บาท โดยในช่วงเช้าได้มีการจัดกิจกรรมอบรมวาดภาพ “เสื้อของพ่อ” ลงบนเสื้อและกิจกรรมสันทนาการกับบุตร-ธิดาที่มาร่วมงานและมีการจัดเลี้ยงอาหารกลางวัน ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับการสนับสนุนจากเครือเจริญโภคภัณฑ์อาหาร ได้รับความสนใจจากบุตร-ธิดา สมาชิก เข้าร่วมประมาณ ๒๐๐ คน

๓. แผนงานด้านทะเบียนสมาชิก

๑) โครงการปรับปรุงระบบทะเบียนสมาชิกโดยใช้ระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สมาคมฯ ได้มีแผนงานในการชำระบัญชีรายชื่อสมาชิกสมาคมฯ ให้มีความเป็นปัจจุบันทั้งในส่วนของชื่อ-นามสกุลและสังกัด โดยได้จัดทำข้อมูลลงในระบบคอมพิวเตอร์ประมาณ ๑,๗๐๐ รายชื่อและยังอยู่ระหว่างการปรับปรุงให้มีความถูกต้องให้มากขึ้นต่อไป

๔. คณะอนุกรรมการฝ่ายต่างประเทศ สมาคมฯ ซึ่งประกอบด้วยอนุกรรมการจำนวน ๑๐ คน ดังนี้

๑. นางสาวจีรวัฒน์ ณ ถลางกรรมการฝ่ายต่างประเทศ สมาคมฯประธาน

๒. นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณีที่ปรึกษา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯอนุกรรมการ

๓. นายสฤษฎ์เดช มฤคทัตหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์อนุกรรมการ

๔. นายดอน ปาทานหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่นอนุกรรมการ

๕. นายกีนาน ซุยหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่นอนุกรรมการ

๖. นางสาวบุญรัตน์ อภิชาติไตรสรณ์ อดีตอุปนายกฝ่ายต่างประเทศอนุกรรมการ

๗. นางสาวจิวมล กนกศิลป์หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่นอนุกรรมการ

๘. นางสาวกุลชาดา ชัยพิพัฒน์เครือข่ายส่งเสริมสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนฯอนุกรรมการ

๙. นางสาวนภาภรณ์ พิพัฒน์อุปนายกฝ่ายวิชาการ สมาคมฯอนุกรรมการ

๑๐. นายปิยรัตน์ เศรษฐศิริไพบูลย์หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่นอนุกรรมการ

คณะอนุกรรมการฝ่ายต่างประเทศ ได้แบ่งแผนงานออกเป็น ๒ แผนงาน คือ

๑. ความสัมพันธ์กับสื่อมวลชนระหว่างประเทศ

๑.๑ โครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์สื่อมวลชนจีน-ไทย สมาคมฯ ได้ให้การต้อนรับสื่อมวลชนจีนซึ่งมาเยือนตามโครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ไทย-จีน ระหว่างวันที่ ๑๐-๑๘ เมษายน ๒๕๕๐ โดยได้รับการสนับสนุนการกำหนดท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โดยโครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์สื่อมวลชนจีน-ไทยนี้เป็นโครงการที่ผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพต้อนรับคณะสื่อมวลชนจากแต่ละประเทศ เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยครั้งนี้สื่อมวลชนไทยเป็นฝ่ายไปเยือนประเทศจีนก่อน

นอกจากนี้สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ ยังมีการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ในระดับท้องถิ่นกับสมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งสิบสองปันนา อีกด้วย โดยสมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งสิบสองปันนาเชิญสื่อมวลชนไทยจำนวน ๑๑ คน ไปเยือนสิบสองปันนาระหว่างวันพุธที่ ๓๑ ตุลาคม – วันจันทร์ที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ประกอบด้วย ๑. นางสาวนาตยา เชษฐโชติรส ๒. นางผุสดี คีตวรนาฏ ๓. นางสาววิมลพรรณ ปีตธวัชชัย ๔. นางชุติมา บูรณรัชดา ๕. นางสาวบุญรัตน์ อภิชาตไตรสรณ์ ๖. นางสาวเกวลิน ตันละมัย ๗. นายสมาน สุดโต ๘. นายวัสยศ งามขำ ๙. นางสาวกฤษณา มหาโชค ๑๐. นายดุสิต พรหมทา และ ๑๑. นายเขมชาติ ชวนะธิต

๑.๒ โครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์สื่อมวลชนลาว-ไทย เป็นโครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ในลักษณะเดียวกับโครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์จีน-ไทย เริ่มต้นแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ ตั้งแต่ปี ๒๕๓๐ โดยในปี ๒๕๕๐ ซึ่งฝ่ายสื่อมวลชนไทยจะต้องเป็นฝ่ายไปเยือนสื่อมวลชนลาวนั้น ได้มีการเลื่อนกำหนดการออกไปคาดว่าจะมีการเดินทางไปเยือนลาวได้ภายในปี ๒๕๕๑

๒. ความสัมพันธ์ระหว่างสมาคมฯกับองค์กรต่างประเทศในระดับนานาชาติ

๒.๑ การส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมใหญ่ IFEX (๗-๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๐) สมาคมฯ เป็นสมาชิกก่อตั้งขององค์กร Internation Freedom of Expreesion eXchange ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำงานด้านการรณรงค์ส่งเสริมสิทธิในการรับรู้ข้อมลข่าวสารและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน ในปี ๒๕๕๐ IFEX ได้จัดการประชุมใหญ่สามัญประจำปีขึ้นที่เมือง Montevideo ประเทศอุรุกวัย ระหว่างวันที่ ๗-๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๐ ซึ่งสมาคมฯ ได้มีมติมอบหมายให้นางสาวนภาภรณ์ พิพัฒน์ เป็นผู้แทนในการเข้าร่วมการประชุม แต่เนื่องจากความล่าช้าในการออกวีซ่า จึงทำให้ไม่ได้เข้าร่วมประชุมในที่สุด

๕. คณะอนุกรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ ซึ่งประกอบด้วยอนุกรรมการและที่ปรึกษา จำนวน ๘ คน ดังนี้

๑. นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณีที่ปรึกษา สมาคมฯ ที่ปรึกษาอนุกรรมการ

๒. นายตุลสถิตย์ ทับทิมอุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ ประธานอนุกรรมการ

๓. นางสาวกิ่งอ้อ เล่าฮงหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจอนุกรรมการ

๔. นายธีรเดช เอี่ยมสำราญหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจอนุกรรมการ

๕. นายวีรศักดิ์ พงษ์อักษรหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจอนุกรรมการ

๖. นายจำนงค์ ศรีนครหนังสือพิมพ์มติชน อนุกรรมการ

๗. นายจีรพงศ์ ประเสริฐพลกรังหนังสือพิมพ์แนวหน้าอนุกรรมการ

๘. นายปราเมศร์ เหล็กเพชรรองเลขาธิการ สมาคมฯ เลขานุการอนุกรรมการ

ในปี ๒๕๕๐ คณะอนุกรรมการฝ่ายสิทธิ ฯ ได้จัดกิจกรรมต่างๆ ดังนี้

๑. โครงการฉลองวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก (World Press Freedom Day – 3 MAY) เป็นโครงการต่อเนื่องที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกวันที่ ๓ พฤษภาคม เนื่องจากเป็นวันที่องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก้ ได้เสนอให้สมัชชาใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติประกาศให้วันที่ ๓ พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก เพื่อย้ำเจตนารมณ์และหลักการที่เป็นพื้นฐานของเสรีภาพสื่อมวลชนทั่วโลก ซึ่งก็คือเสรีภาพในการแสดงออก ตั้งแต่เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๔๓ สมาคมฯ ก็ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองในโอกาสดังกล่าวมาโดยตลอด

ในปี ๒๕๕๐ สมาคมฯ ได้จัดกิจกรรมเฉลิมฉลองวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก ในวันพฤหัสบดีที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๐ กิจกรรมประกอบด้วย การปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นยุคดิจิตอล” โดยนายสิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที และการเสวนาเรื่อง “เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นยุคดิจิตอล” รวมทั้งการออกแถลงการณ์ร่วมกับสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เรียกร้องให้รัฐบาลเร่งขจัดปัจจัยที่อาจจะทำให้เกิดการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยในปีนี้สมาคมฯ ได้เดินทางไปติดเข็มกลัดวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลกให้กับนายกรัฐมนตรี ณ ทำเนียบรัฐบาลเมื่อวันอังคารที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๐

๒. โครงการนโยบายสาธารณะ “ติดตามร่างรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐” เป็นความร่วมมือระหว่างสมาคมนักข่าวฯกับภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สนับสนุนงบประมาณโดยมูลนิธิฟรีดริค เอแบรท์ เป็นการจัดเสวนาเพื่อติดตามความคืบหน้าการร่างรัฐธรรมนูญจำนวน ๕ ครั้ง คือ ๑.ปัญหาหลักการพื้นฐานในร่างรัฐธรรมนูญ (๙ พฤษภาคม ๒๕๕๐) ๒. ปัญหาสิทธิเสรีภาพและการนิรโทษกรรมในการร่างรัฐธรรมนูญ(๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๐) ๓.ปัญหาองค์กรแก้วิกฤติชาติ การนิรโทษกรรมและสิทธิเสรีภาพในร่างรัฐธรรมนูญฯ (๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๐) และ๔.ปัญหาสถาบันการเมืองและระบบเลือกตั้ง (๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๐) และ ๕. ปัญหาตุลาการในร่างรัฐธรรมนูญ(๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๐)

๓. โครงการสัมมนาเรื่อง “กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ” สมาคมฯร่วมกับสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ โดยการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนเพื่อสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อและมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท (FES) จัดการสัมมนาเรื่อง“กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ” เมื่อวันอังคารที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ โดยมีการเสวนาใน ๓ หัวข้อคือ ๑.เสวนาเรื่อง “สิทธิเสรีภาพสื่อตามรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐” ๒. เสวนาเรื่อง “พรบ. จดแจ้งการพิมพ์” และ ๓.เสวนาเรื่อง “สื่อกับการเลือกตั้ง” มีผู้เข้าร่วมทั้งนักข่าวส่วนกลางและนักข่าวจากท้องถิ่น ซึ่งนอกจากจะได้ทำความเข้าใจรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ที่ว่าด้วยเสรีภาพในการแสดงความเห็นของบุคคลและสื่อมวลชนร่วมกันแล้ว ยังได้มีส่วนในการร่วมกันพัฒนาการทำหน้าที่ของสื่อให้เข้ากับยุคสมัยอีกด้วย

๔. ยื่นหนังสือถึงประธานกกต.ขอยกเลิกระเบียบและประกาศเกี่ยวกับการเลือกตั้ง สมาคมฯร่วมกับผู้แทนองค์กรสื่อประกอบด้วยนางสาวนาตยา เชษฐโชติรส นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย, นายเถกิง สมทรัพย์ นายก สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย , นายเกษม อินทร์แก้ว นายกสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย, นายอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ เนชั่นแชลแนล, นายธนกร ศรีสุขใส สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีและนายอภิชาติ บัวทอง สถานีโทรทัศน์ ASTV ยื่นหนังสือถึงประธานกกต.ขอยกเลิกระเบียบและประกาศเกี่ยวกับการเลือกตั้ง สืบเนื่องจากกรณีการออกระเบียบข้อควรปฏิบัติ และข้อห้ามในการเลือกตั้ง ส.ส. ซึ่งกระทบต่อการทำงานของสื่อมวลชนในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๐

๕. การเสวนาเรื่อง “ผู้หญิงปฏิรูปการเมืองไทยใสสะอาดได้จริงหรือ”สมาคมฯร่วมกับศูนย์ สาธารณประโยชน์และประชาสังคม (นิด้า) จัดการเสวนา “ผู้หญิงปฏิรูปการเมืองไทยใสสะอาดได้จริงหรือ” เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๐ ณ โรงแรมเวียงใต้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างสื่อและผู้เชี่ยวชาญด้านบทบาทหญิง-ชายเพื่อการพัฒนา รวมทั้งเป็นการหาแนวทางในการสร้างความเข้าใจและรณรงค์ต่อสาธารณะในประเด็นผู้หญิงกับการปฏิรูปการเมือง

๖. ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีขอให้ ยุติการเสนอร่างพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคง ภายในราชอาณาจักรพ.ศ. .... สมาคมฯ ร่วมกับ ๕ องค์กรวิชาชีพประกอบด้วย ๑. สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ๒. สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ๓. สมาคมนักหนังสือพิมพ์ภูมิภาคแห่งประเทศไทย ๔. สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และ ๕. สมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย เข้าพบพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๐ เพื่อยื่นหนังสือขอให้ ยุติการเสนอร่างพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรพ.ศ. ... โดยเหตุผลหลักในการคัดค้านเนื่องจาก เห็นว่าร่างกฎหมายดังกล่าว ขัดต่อหลักสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ และกระบวนการบัญญัติกฎหมาย ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน ทั้งๆ ที่เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจบุคคลหรือคณะบุคคลที่ไม่ได้มาจากกระบวนการเลือกตั้งจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างชัดเจน นอกจากนี้ การออกกฎหมายระหว่างที่ประเทศปกครองโดยรัฐบาลชั่วคราวในขณะที่มีกฎหมายด้านความมั่นคงฉบับอื่นๆ พร้อมกันนี้องค์กรวิชาชีพทั้ง ๖ องค์กรยังได้เผยแพร่แถลงการณ์เรื่อง ขอให้พิจารณายุติการเสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวด้วย

๗. โครงการคิดเพื่อประเทศไทย คิดไปข้างหน้า สมาคมฯร่วมกับสถาบันพระปกเกล้า, สภาการ หนังสือพิมพ์แห่งชาติ และสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ได้จัดทำโครงการคิดเพื่อประเทศไทย คิดไปข้างหน้า ขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๐ โดยกิจกรรมในงานประกอบด้วยการเสวนาเรื่อง“คนไทยคิดอย่างไรกับ สถานการณ์ประเทศในปัจจุบัน : มุมมองของคนทำโพลล์” โดยรศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ ประธานสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, การปาฐกถานำเรื่อง “คิดเพื่อประเทศไทย คิดไปข้างหน้า” โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี และการเสวนาระดมความคิดเห็นในหัวข้อดังกล่าวโดยภาคเอกชนและองค์กรต่างๆ อาทิ สมาคมธรรมศาสตร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สมาคมธนาคารไทย, ชมรมแพทย์ชนบท, สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ และสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย เป็นต้น โดยพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้ให้เกียรติมาร่วมการเสวนาด้วย

๘. การติดตามความเคลื่อนไหว พรบ. การพิมพ์ ๒๔๘๔ สมาคมนักข่าวฯ ร่วมกับองค์กรวิชาชีพสื่อรวม ๖ องค์กรประกอบด้วย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ,สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย,สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย, สมาคมนักหนังสือพิมพ์ภูมิภาคแห่งประเทศไทยและสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกันติดตามความคืบหน้าในการยกเลิก พรบ.การพิมพ์ ๒๔๘๔ และการประกาศใช้พรบ.จดแจ้งการพิมพ์ ๒๕๕๐ มาโดยตลอด ซึ่งในที่สุดหลังจากกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่องทั้งการนำเสนอความคิดเห็น การเข้าร่วมเป็นคณะทำงานต่างๆ ก็ทำให้ในที่สุด พรบ. การพิมพ์ ๒๔๘๔ ซึ่งบังคับใช้กับบรรดาผู้ประกอบวิชาชีพ หนังสือพิมพ์มาเป็นระยะเวลากว่า ๖๖ ปีก็ถูกยกเลิกเมื่อวันพุธที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๐ และเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ได้มีการประกาศใช้ พรบ.จดแจ้งการพิมพ์ แทน โดยล่าสุดเมื่อวันศุกร์ที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๑ ผู้แทนองค์กรวิชาชีพสื่อ ๖ องค์กรก็ได้เข้าพบพลเอกสุรยุทธฺ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีเพื่อเสนอให้กระทรวงวัฒนธรรมเป็นหน่วยงานรับจดแจ้งการพิมพ์ แทนที่กระทรวงมหาดไทยที่เคยมีอำนาจตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.๒๔๘๔

๙. การลงนามทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกับองค์การอาหารและยา (อ.ย.) สมาคมฯร่วมกับ สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจและ อ.ย. ลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกันในเรื่องการโฆษณา เสนอข่าว และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อ พ.ศ. ๒๕๕๑ ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันและลดการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายด้านการโฆษณาและการเสนอข่าวเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อ เมื่อวันอังคารที่ ๘ มกราคม ๒๕๕๑ ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี

๖. คณะอนุกรรมการฝ่ายกิจกรรมพิเศษ สมาคมฯ ซึ่งประกอบด้วยอนุกรรมการจำนวน ๑๑ คน ดังนี้

๑. นายการุณย์ มีถมอุปนายก ฝ่ายกิจกรรมพิเศษ สมาคมฯประธาน

๒. นางสาวนาตยา เชษฐโชติรส นายก สมาคมฯอนุกรรมการ

๓. นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์อุปนายกฝ่ายบริหาร สมาคมฯอนุกรรมการ

๔. นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์เลขาธิการ สมาคมฯอนุกรรมการ

๕. นางผุสดี คีตวรนาฏอดีตนายกสมาคมฯอนุกรรมการ

๖. นางสาววิมลพรรณ ปิตธวัชชัยที่ปรึกษา สมาคมฯอนุกรรมการ

๗. นางสาวบุญลาภ ภูสุวรรณอดีตอุปนายกฝ่ายวิชาการอนุกรรมการ

๘. นางนงค์นาถ ห่านวิไลอดีตเลขาธิการ สมาคมฯอนุกรรมการ

๙. นายเสด็จ บุนนาคเหรัญญิก สมาคมฯเลขานุการอนุกรรมการ

ในปี ๒๕๕๐ คณะอนุกรรมการฝ่ายกิจกรรมพิเศษ สมาคมฯ ได้จัดกิจกรรมต่างๆ ดังนี้

๑. โครงการหนังสือเมื่อฟ้าหม่นเจดีย์หักที่ปักษ์ใต้ สมาคมฯ ได้จัดพิมพ์หนังสือ “เมื่อฟ้าหม่น เจดีย์หักที่ปักษ์ใต้” ซึ่งเป็นหนังสือที่รวบรวมรายงานข่าวจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เผยแพร่ในเวบไซต์ศูนย์ข่าวอิศรา ww.tjanews.org มาเรียบเรียงใหม่ให้มีความกระชับรัดกุม ด้วยภาษาที่อ่านง่าย สละสลวย งดงาม มีนางสาววิมลพรรณ ปีตธวัชชัย นักข่าวนักเขียนและกรรมการบริหาร สถาบันอิศรา เป็นผู้เรียบเรียง โดยนำรายได้จากการจำหน่ายหนังสือมอบให้สถาบันอิศรา นำไปใช้ในภารกิจของศูนย์ข่าวอิศรา ในการนำเสนอข่าวจังหวัดชายแดนภาคใต้

ในเบื้องต้นได้รับการอนุเคราะห์จากสมาชิกสมาคมธนาคารไทยจำนวน ๑๖ ธนาคาร ซื้อหนังสือรวม ๓๐,๐๐๐ เล่ม (ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์,ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารทหารไทย, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารนครหลวงไทย, ธนาคารธนชาต, ธนาคารไทยธนาคาร, ธนาคารยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ (ไทย),ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์(ไทย), ธนาคาร ทิสโก้ จำกัด, เกียรตินาคิน, ธนาคารสินเอเซีย, ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ และธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย) นอกจากนี้ยังมีทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชนร่วมซื้อหนังสือดังกล่าวอีกจำนวนมาก อาทิ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, กระทรวงวัฒนธรรม, บมจ. ช. การช่าง, บมจ. หลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย,บมจ.หลักทรัพย์จัดการกองทุนทหารไทย, กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี,กระทรวงเกษตรและสหกรณ์,กระทรวงอุตสาหกรรม, บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และกระทรวงศึกษาธิการ

รวมทั้งยังได้รับความอนุเคราะห์ตั๋วโดยสารเครื่องบินไป-กลับ กทม.-หาดใหญ่จากสายการบินวันทูโกจำนวน ๑๐๐ ที่นั่งเพื่อใช้ในภารกิจของศูนย์ข่าวอิศราอีกด้วย โดยมีการจัดงานเปิดตัวหนังสือไปเมื่อวันพุธที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๐ และมีการมอบหนังสือให้พลเอกสนธิ บุญรัตนกลิน ประธาน คมช. และพลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๗ และวันอังคารที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๐ ตามลำดับ

๒. โครงการขี่จักรยานสมานฉันท์ Bike for Peace สมาคมฯ ร่วมกับสถาบันอิศรา, มูลนิธิพิทักษ์สิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยว, ศูนย์อำนวยการบริหารชายแดนใต้(ศอบต.) ได้จัดทำโครงการขี่จักรยานสมานฉันท์ ขึ้นเพื่อรณรงค์สร้างความรัก ความสามัคคี และเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับประชาชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย รวมทั้งเป็นการร่วมเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ โดยมีการขี่จักรยาน ในระยะเวลา ๙ วัน ระหว่างวันที่ ๑๘-๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ โดยแบ่งเส้นทางการปั่นจักรยานออกเป็น ๒ เส้นทาง คือ เส้นทางที่ ๑ จากจังหวัดกรุงเทพมหานคร – จังหวัดชุมพร และเส้นทางที่ ๒ จากจังหวัดปัตตานี – จังหวัดชุมพร โดยขบวนจักรยานทั้งสองเส้นทางมาพบกันที่จังหวัดชุมพรในวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๐

๓. โครงการปาฐกถาพิเศษ ๕ มีนาคม ๒๕๕๑ สมาคมฯ ได้จัดกิจกรรมเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสวันนักข่าว๕ มีนาคม เป็นประจำทุกปี โดยเริ่มตั้งแต่ปี ๒๕๔๙ เป็นต้นมา สำหรับในปี ๒๕๕๑ นั้นจัดตรงกับวันพุธที่ ๕ มีนาคม ๒๕๕๑ กิจกรรมในงานประกอบด้วยพิธีมอบรางวัลผลการประกวดข่าวประเภทต่างๆ, การอภิปรายเรื่อง “มุมมอง ๒ อธิการบดี ต่อการเมืองไทย” โดย ศ. ดร. สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และศ. สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และการเดี่ยวไมโครโฟนโดยนายบัณฑูร ล่ำซำ ในประเด็นที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ โดยมีรูปแบบงานเป็นแบบ Dinner Talk ณ โรงแรมเซ็นทราล่า แกรนด์

๗. คณะอนุกรรมการฝ่ายเลขานุการ สมาคมฯ ซึ่งประกอบด้วยที่ปรึกษาและอนุกรรมการจำนวน ๗ คน ดังนี้

๑. นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ อุปนายกฝ่ายบริหาร สมาคมฯ ที่ปรึกษา

๒. นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ เลขาธิการ สมาคมฯ ประธาน

๓. นางสาวน.รินี เรืองหนู รองเลขาธิการฝ่ายวิชาการ สมาคมฯอนุกรรมการ

๔. นายปราเมศร์ เหล็กเพ็ชร์ รองเลขาธิการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯอนุกรรมการ

๕. นายเสด็จ บุนนาค เหรัญญิกอนุกรรมการ

๖. นายวัสยศ งามขำ กรรมการฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ สมาคมฯอนุกรรมการ

๗. นางสาวเทียมใจ ทองเมือง ผู้จัดการ สมาคมฯ อนุกรรมการ

ในปี ๒๕๕๐ คณะอนุกรรมการฝ่ายเลขานุการ สมาคมฯ ได้จัดกิจกรรมต่างๆ ดังนี้

๑. โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการการทำแผนยุทธศาสตร์ สมาคมฯ คณะอนุกรรมการฝ่ายเลขานุการ สมาคมฯ ได้สนับสนุนให้คณะอนุกรรมการ สมาคมฯแต่ละคณะ จัดทำแผนงานเชิงยุทธศาสตร์ ซึ่งจะนำไปสู่การรวมเป็นแผนยุทธศาสตร์ของสมาคมฯ ในที่สุด โดยมีเป้าหมายเพื่อปรับบทบาทและภารกิจของสมาคมฯ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งเพื่อที่จะทำให้งานของสมาคมฯมีทิศทางและมีการทำงานที่ต่อเนื่อง ได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดทำโครงการจากเครือข่ายส่งเสริมสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนในเอเซียอาคเนย์

๒. โครงการปรับปรุงอาคารและอุปกรณ์ ตามที่สมาคมฯได้ปรับปรุงอาคารสมาคมฯ มาเป็นระยะเวลากว่า ๑๐ ปี แล้ว จึงให้มีบางส่วนของอาคารและอุปกรณ์บางส่วนเริ่มชำรุด จึงได้มีการจัดทำโครงการปรับปรุงอาคารและอุปกรณ์ สมาคมฯขึ้น โดยในเบื้องต้นได้มีการปรับปรุงฝ้าเพดานและระบบเครื่องเสียงของห้องประชุมอิศรา อมันตกุล ชั้น ๓ ใหม่ทั้งหมด และขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุงพื้นผิวลานจอดรถ, อาคารเก็บของ, การจัดวางป้ายอาคารสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย

๓. การถวายความอาลัยและน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สมาคมฯได้ร่วมกับ ๖ องค์กรวิชาชีพสื่อประกอบด้วยสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ, สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย,สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งอาเซียน, สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย, สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย, สมาคมหนังสือพิมพ์ภูมิภาคแห่งประเทศไทยและชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ ลงนามไว้อาลัยและถวายพวงมาลาสักการะและน้อมรำลึกถึงสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันพุธที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๑ และอยู่ระหว่างการประสานงานขอร่วมเป็นเจ้าภาพในการบำเพ็ญพระราชกุศลและบำเพ็ญกุศลถวายพระศพ ในขณะที่บริเวณอาคารสมาคมฯก็ได้มีการล้อมรั้วผ้าดำเพื่อถวายความอาลัยด้วย