ข่าวขอเชิญร่วมสัมมนายุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์ ครั้งที่ ๑๕ ประจำปี ๒๕๖๒ หัวข้อ นวัตกรรมเปลี่ยนโลก

ข่าวขอเชิญร่วมสัมมนายุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์  ครั้งที่ ๑๕  ประจำปี ๒๕๖๒ หัวข้อ นวัตกรรมเปลี่ยนโลก

นางสาวน.รินี  เรืองหนู  อุปนายกฝ่ายวิชาการ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ขอเชิญนักข่าว นักวิชาการ และประชาชนทั่วไปผู้สนใจเข้าร่วมงานสัมมนายุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์  ครั้งที่ ๑๕  ประจำปี ๒๕๖๒  หัวข้อ นวัตกรรมเปลี่ยนโลก  ในวันศุกร์ที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๒    เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น. ณ ห้องคอนเวนชั่น ฮอลล์  องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.)

โดยความร่วมมือของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ ร่วมกับ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย  เครือข่ายนักวิชาการและนักวิชาชีพสื่อสารมวลชน และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.)

ทั้งนี้ในงานดังกล่าวมีกิจกรรมประกอบด้วยการปาฐถาพิเศษ โดย ศ.ดร.สุชัชวีย์  สุวรรณสวัสดิ์  อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  บรรยายพิเศษ โดย ธนิสรา เรืองเดช Ceo & Co-founder  Punch Up  กรณี ปลาทู  /  รังสรรค์ พรมประสิทธิ์   ประธานกรรมการบริหารบริษัท คิวคิว (ประเทศไทย) จำกัด / ธีระ กนกกาญจนรัตน์      ผู้ร่วมก่อตั้งและ CEO บริษัท Arincare

ปิดท้ายด้วยการอภิปราย หัวข้อ นวัตกรรมเปลี่ยนโลกวารสารศาสตร์  โดย ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย    ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ    (กรณี สุทธิชัย หยุ่นแบบเอไอ) / ดร.พิเชษฐ์ ฤกษ์ปรีชา  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท LINE ประเทศไทย จำกัด    (กรณการตรวจสอบข่าวเท็จ)  / ฐิติพงษ์ เหลืองอรุณเลิศ  Co –Founder บุญมีแล็บ (Data Journalistsm)

การจัดกิจกรรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  สะท้อนมุมมองเชิงวิชาชีพและวิชาการด้านสื่อมวลชน ภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสื่อใหม่ และเพื่อให้เกิดการปรับตัวไปในทิศทางเดียวกันระหว่างภาควิชาการและวิชาชีพ

ขอเชิญท่านที่สนใจเข้าร่วมการสัมมนาดังกล่าวกรุณาลงทะเบียนเข้าร่วมงานที่  http://bit.ly/tjasymposium2562

(โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย)

@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

ลงทะเบียนเข้าร่วมงานที่

http://bit.ly/tjasymposium2562

@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

ที่ สขนท.นว. ๐๗๐/๒๐/๒๕๖๒

๒  ตุลาคม  ๒๕๖๒

เรื่อง     ขอเชิญร่วม สัมมนายุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์ ครั้งที่ ๑๕  ประจำปี ๒๕๖๒ เรียน    นักวิชาชีพ นักวิชาการ ด้านนิเทศศาสตร์  วารสารสนเทศ และสื่อสารมวลชนและผู้สนใจทั่วไป สิ่งที่แนบมาด้วย   โครงการ และกำหนดการ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ  สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ  สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) จะจัดสัมมนายุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์  ครั้งที่ ๑๕  ประจำปี ๒๕๖๒ หัวข้อ นวัตกรรมเปลี่ยนโลก  ในวันศุกร์ที่ ๑๕  พฤศจิกายน  ๒๕๖๒   เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๐๐ น. ณ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.)ขึ้น เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นสะท้อนมุมมองเชิงวิชาชีพและวิชาการด้านสื่อมวลชน ภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสื่อใหม่ และเพื่อให้เกิดการปรับตัวไปในทิศทางเดียวกันระหว่างภาควิชาการและวิชาชีพ ในการนี้  สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย  จึงเรียนมาเพื่อขอเชิญท่านเข้าร่วมการสัมมนาดังกล่าว (รายละเอียดตามโครงการและกำหนดการที่แนบมาพร้อมนี้)   โดยขอความกรุณาลงทะเบียนเข้าร่วมงานที่  www.tja.or.th หรือ http://bit.ly/tjasymposium2562 (โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย) จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับเกียรติจากท่านในครั้งนี้และขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

ขอแสดงความนับถือ

(นายมงคล  บางประภา)

นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

ลงทะเบียนเข้าร่วมการสัมมนา

http://bit.ly/tjasymposium2562

@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

กำหนดการสัมมนายุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์ : นวัตกรรมเปลี่ยนโลก ครั้งที่ ๑๕

ประจำปี ๒๕๖๒

วันศุกร์ที่ ๑๕  พฤศจิกายน  ๒๕๖๒    เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๐๐ น.

ณ ห้องคอนเวนชั่น ฮอลล์ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย-ส.ส.ท.(สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส)

จัดโดย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สถาบันอิศรา

องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.)

๐๘.๓๐ – ๐๙.๐๐  น.     ลงทะเบียน ๐๙.๐๐ – ๐๙.๑๐ น.      กล่าวต้อนรับ โดย       รศ.ดร.วิลาสินี พิพิธกุล ผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ๐๙.๑๐ – ๐๙.๑๕ น.      กล่าวเปิดงาน โดย       นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี  ปนะธานสภาการหนังสื่อพิมพ์แห่งชาติ ๐๙.๑๕ – ๑๐.๑๕  น.    ปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ นวัตกรรมเปลี่ยนโลก โดย       ศาสตราจารย์ ดร. สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ๑๐.๑๕ – ๑๐.๓๐ น.      พักรับประทานอาหารว่าง ๑๐.๓๐ - ๑๑.๓๐ น.     TED TALK นวัตกรรมเปลี่ยนโลก โดย       ธนิสรา เรืองเดช              Ceo & Co-founder  Punch Up  กรณี ปลาทู รังสรรค์ พรมประสิทธิ์       ประธานกรรมการบริหารบริษัท คิวคิว (ประเทศไทย) จำกัด ธีระ กนกกาญจนรัตน์      ผู้ร่วมก่อตั้งและ CEO บริษัท Arincare ๑๑.๓๐ – ๑๒.๐๐  น.    สรุปเนื้อหาช่วงเช้า โดย อาจารย์ภัทราวดี  ธีเลอร์   สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ดร. เอกพล  เธียรถาวี       มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น.      พักรับประทานอาหารกลางวัน ๑๓.๐๐ – ๑๔.๓๐  น.     อภิปราย หัวข้อ นวัตกรรมเปลี่ยนโลกวารสารศาสตร์ โดย       ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย        (กรณี สุทธิชัย หยุ่นแบบเอไอ) ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ดร.พิเชษฐ์ ฤกษ์ปรีชา      (กรณการตรวจสอบข่าวเท็จ) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท LINE ประเทศไทย จำกัด ฐิติพงษ์ เหลืองอรุณเลิศ   (Data Journalistsm) Co –Founder บุญมีแล็บ ผู้ดำเนินรายการ มณีนาถ อ่อนพรรณา สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ๑๔.๓๐ – ๑๕.๐๐  น.    พักรับประทานอาหารว่าง ๑๕.๐๐ – ๑๕.๓๐   น.   สรุปเนื้อหาช่วงบ่าย โดย   ดร. สุดารัตน์ ดิษยวรรธนะ จันทราวัฒนากุล รองผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย บรรยงค์ สุวรรณผ่อง กรรมการควบคุมจริยธรรม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ๑๕.๓๐ – ๑๖.๐๐  น.    ประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์

โครงการยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์  ครั้งที่ ๑๕ ประจำปี ๒๕๖๒

หัวข้อ นวัตกรรมเปลี่ยนโลก

วันศุกร์ที่ ๑๕  พฤศจิกายน  ๒๕๖๒    เวลา ๐๘.๓๐ ๑๖.๐๐ น.

ณ ห้องคอนเวนชั่น ฮอลล์ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย-ส.ส.ท. (สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส)

จัดโดย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สถาบันอิศรา

องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.)

หลักการและเหตุผล เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาสถานการณ์วารสารศาสตร์ก้าวเข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่าน  อันเป็นผลมาจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงและแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว  การเพิ่มปริมาณและประเภทของสื่อใหม่ๆ ที่เป็นทางเลือกให้แก่ผู้รับสาร นอกเหนือจากสื่อดั้งเดิมที่เคยเป็นสื่อหลักของสังคม   รสนิยมและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปของผู้รับสาร  การลดลงของผู้อ่านหนังสือพิมพ์ งบประมาณโฆษณาที่เคลื่อนตัวไปยังสื่อใหม่ๆ ที่สามารถเข้าถึงผู้รับสารได้ตรงกว่า  องค์กรข่าวกำลังอยู่ระหว่างการปรับตัว  การเคลื่อนย้ายทุนจากการเน้นลงทุนที่คนและคุณภาพของเนื้อหา ไปยังการลงทุนด้านเทคโนโลยี (Technology Investment) และการดำเนินการทางการตลาด ความพยายามเข้าใจกลุ่มเป้าหมายอย่างเป็นระบบและเข้าถึงอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการปรับเนื้อหา ลีลาและรูปแบบการนำเสนอ รวมทั้งเพิ่มช่องทางการเข้าถึงผู้รับสารมากขึ้น ปัจจุบันเรากำลังก้าวสู่ภาวะ ‘การหลอมรวมกันของสื่อ’ (Media Convergence) นั่นหมายถึงทั้งในแง่ของเทคโนโลยี ที่ใช้องค์กรสื่อที่ขยายครอบคลุมธุรกิจสื่อหลายประเภทในเวลาเดียวกัน การร่วมมือกันระหว่างองค์กรในลักษณะพึ่งพาอาศัยกัน และงานข่าวที่มีเนื้อหาออกหลากหลายช่องทาง แนวโน้ม Convergent Journalism  ถูกมองว่าเป็นวารสารศาสตร์แห่งอนาคต  การรายงานข่าวเน้นข่าวเดียวออกหลากหลายช่องทาง  (One Content , Multiple Platforms) เพื่อตอบสนองผู้รับสารที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นผู้ที่ต้องการบริโภคข่าวทุกที่ ทุกเวลาที่ต้องการ นอกจากการปรับตัวของสื่อหนังสือพิมพ์ที่เคลื่อนเข้าหาสื่ออื่นๆ สื่อโทรทัศน์ก็กำลังเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านไปยังระบบดิจิทัล ความไม่แน่นอนเชิงโครงสร้างและนโยบาย การแย่งชิงความสนใจจากผู้รับสารที่บริโภคผ่านหลากหลายแพลตฟอร์ม ทั้งสื่อดั้งเดิมที่เคยมีอยู่และสื่อใหม่มากมาย นั่นหมายถึงเม็ดเงินโฆษณาที่เพิ่มขึ้นไม่มากนัก แต่มีจำนวนผู้ต้องการส่วนแบ่งมากขึ้นเพื่อความอยู่รอดทางธุรกิจ ในขณะเดียวกันสังคมก็กำลังตั้งคำถามถึงความน่าเชื่อถือของสื่อ ความสามารถในการกำกับดูแลกันเองตามอุดมคติของวิชาชีพสื่อ  และเรียกหาจริยธรรมและความรับผิดชอบจากสื่อเพื่อสร้างสุขภาวะที่ดีให้แก่สังคม การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในวงการสื่อ และกระบวนการผลิตสื่อวารสารศาสตร์ทำให้  สถาบันการศึกษา  และสมาคมวิชาชีพวารสารศาสตร์ ที่เป็นองค์กรบ่มเพาะนักวารสารศาสตร์จำเป็นต้องนำมาพิจารณา ปรับปรุง และประกอบสร้างขึ้นมาใหม่ เพื่อให้สามารถเป็นแนวทางในการพัฒนาบุคลากรวิชาชีพวารสารศาสตร์แห่งอนาคต โดย ‘เครือข่ายวิชาชีพและวิชาการวารสารศาสตร์’ ได้จัดประชุมเครือข่ายในรูปแบบการสัมมนา“ยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์” ด้วยการนำเสนอและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในแง่มุมต่างๆ อันจะนำไปสู่การพัฒนาวิชาการและวิชาชีพทางด้านวารสารศาสตร์ แล้วทั้งสิ้น ๑๔ ครั้ง ดังนี้
  • ครั้งที่ ๑ หัวข้อ ‘ทิศทางสื่อ ทิศทางวารสารศาสตร์’ วันศุกร์ที่ ๓๐  มีนาคม ๒๕๕๕ ณ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • ครั้งที่ ๒ หัวข้อ ‘Convergence Newsroom’  วันศุกร์ที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๕  ณ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • ครั้งที่ ๓ หัวข้อ ‘การตรวจสอบในยุคหลอมรวมสื่อ (Monitoring  Media  in  the  Convergence  Era) วันพฤหัสบดีที่ ๑๑  ตุลาคม  ๒๕๕๕  ณ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ครั้งที่ ๔ หัวข้อ ‘ทิศทางวารสารฯ ในยุคสงครามแพลตฟอร์ม’ วันเสาร์ที่ ๑๙  มกราคม  ๒๕๕๖ ณ มหาวิทยาลัยเนชั่น   จังหวัดลำปาง
  • ครั้งที่ ๕ หัวข้อ ‘คนเปลี่ยน สื่อปรับ รุก-รับ อย่างไร’ วันศุกร์ที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๖  ณ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • ครั้งที่ ๖ หัวข้อ ‘ASEAN Journalism & Education’ วันศุกร์ที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๗ ณ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • ครั้งที่ ๗ หัวข้อ ‘ตำราวารสารศาสตร์ คอนเวอร์เจ้นซ์’  วันศุกร์ที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • ครั้งที่ ๘ หัวข้อ ‘ปฏิวัติคนข่าว อภิวัฒน์สื่อ ปฏิรูปหลักสูตร’  วันศุกร์ที่ ๑๗-วันเสาร์ที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๗ ณ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ครั้งที่ ๙ หัวข้อ ‘ปฏิวัติคนข่าว: ทิศทางการพัฒนาบุคลากรสื่อ’ วันศุกร์ที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๘ ณ  มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
    • ครั้งที่ ๑๐ หัวข้อ “ปฏิวัติคนข่าว ทุน-อุดมการณ์การปรับตัวของนักนิเทศศาสตร์ยุคดิจิทัล” ในวันอังคารที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๘ ณ มหาวิทยาลัยรังสิต
    • ครั้งที่ ๑๑  หัวข้อ “ถอดบทเรียนคอนเวอร์เจ้นท์ จากอดีต สู่อนาคต” วันศุกร์ที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๘  ณ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
      • ครั้งที่ ๑๒  หัวข้อ “ปฏิรูปสื่อ : ทางออกสังคมไทย?” วันศุกร์ที่  ๒๔  พฤศจิกายน   ๒๕๕๙ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)
      • ครั้งที่ ๑๓  หัวข้อ “สมดุลสื่อ สัมพันธ์ธุรกิจ” วันพุธที่๑๙ เมษายน ๒๕๖๐  ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ วันศุกร์ที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๐  ณ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย-ส.ส.ท. (สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ถ.วิภาวดี)
        • ครั้งที่ ๑๔  ภายใต้หัวข้อ “ทางเลือกทางรอดคนสื่อ ยุค ๔.๐” ในวันศุกร์ที่ ๑๙  ตุลาคม  ๒๕๖๑    ณ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย-ส.ส.ท. (สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ถ.วิภาวดี)
          • จะจัดครั้งที่ ๑๕  ภายใต้หัวข้อ นวัตกรรมเปลี่ยนโลก จะจัดในวันศุกร์ที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๒    เวลา ๐๘.๓๐ ๑๖.๐๐ น.  ณ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย-ส.ส.ท. (สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ถ.วิภาวดี)
            วัตถุประสงค์ของโครงการ ๑. เพื่อเป็นเวทีนำเสนอข้อมูล แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องข่าวสาร และความก้าวหน้าทางวิชาการวิชาชีพสื่อมวลชน ๒. เพื่อสนับสนุน หรือเป็นสื่อกลางในการสร้างความร่วมมือระหว่างภาควิชาการและวิชาชีพ ในการบริหารจัดการหลักสูตรการเรียนการสอนสาขาวิชาวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ทั้งในส่วนของสถาบันการศึกษาและโครงการพัฒนาบุคลากรในวิชาชีพให้ทันสมัย  สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงในปัจจุบัน รายละเอียดของโครงการ กลุ่มเป้าหมาย นักวิชาการ นักวิชาชีพ สื่อมวลชน นักศึกษา จำนวน ๑๐๐ คน รูปแบบดำเนินการ การปาฐกถาพิเศษ  การบรรยายพิเศษ(TED Talk คนละ ๑๕ นาที)   อภิปราย และประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ระยะเวลาในการดำเนินงาน วันศุกร์ที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๒    เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๐๐ น.  ณ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย-ส.ส.ท. (สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส) ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑. ได้เผยแพร่องค์ความรู้ที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนา องค์กรทางด้านวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน ๒. สามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดในการจัดทำหนังสือ ตำรา คู่มือในประเด็นต่าง ๆ ภายใต้โครงการวารสารศาสตร์แห่งอนาคต โดยความร่วมมือระหว่างนักวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน ๓. สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาควิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน ๔. สร้างสังคมที่มีสุขภาวะที่ดีจากการมีสื่อที่คุณภาพ ผู้รับผิดชอบโครงการ ๑. สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ๒. สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ๓. สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย ๔. คณะทำงานยุทธศาสตร์เพื่อวารสารศาสตร์แห่งอนาคต ๕. องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑. ได้เผยแพร่องค์ความรู้ที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาวิชาการวิชาชีพสาขาวารสารศาสตร์ ๒. สามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดในการจัดทำหนังสือ ตำรา คู่มือในประเด็นต่าง ๆ ภายใต้โครงการวารสารศาสตร์แห่งอนาคต อันเป็นความร่วมมือระหว่างนักวิชาการและวิชาชีพ ๓. สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาควิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน ตัวบ่งชี้ความสำเร็จของโครงการ ๑. จำนวนผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของจำนวนผู้ลงทะเบียนทั้งหมด ๒. ผู้เข้าร่วมประชุมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก