รายงานสถานการณ์สื่อมวลชนประจำปี2561 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย : The media situation in 2018

รายงานสถานการณ์สื่อมวลชนประจำปี2561

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

--------------

สถานการณ์ด้านสื่อมวลชนไทยในรอบปี พ.ศ. 2561 เป็นปีแห่งการ “ซึมแทรก ซึมทรุด” เพราะยังคงเผชิญความเสี่ยงและท้าทายหลายประเด็น โดยเฉพาะการไม่มีสิทธิและเสรีภาพอย่างเต็มที่ ภายใต้กฎหมายพิเศษของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในห้วงระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา ขณะที่อุตสาหกรรมสื่อทั้งระบบยังอยู่ในภาวะยากลำบากอย่างต่อเนื่อง  เนื่องจากผลกระทบด้านเทคโนโลยีและพฤติกรรมการเสพข้อมูลข่าวสารที่มุ่งไปสู่ทิศทางทางออนไลน์มากขึ้น ดังนั้นสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยจึงสรุปสถานการณ์สื่อฯใน 4 ประเด็นสำคัญ ดังนี้ 1.ถูกควบคุมด้วยกฎหมายพิเศษ : แม้ว่าปี 2560 มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ รองรับสิทธิในการแสดงความคิดเห็น การพูด การพิมพ์ไว้ ในมาตรา 34 และมาตรา35บัญญัติ ให้บุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าวสาร หรือการแสดงความคิดเห็นตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพ  ทว่ายังคงมีการบังคับใช้ ประกาศคสช.และคำสั่งหัวหน้าคสช.4ฉบับ เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชนที่ยังไม่มียกเลิก สวนทางกับบรรยากาศของการปลดล็อคทางการเมืองเพื่อเดินหน้าสู่การเลือกตั้ง ที่ประชาชนต้องการรับรู้ข้อมูลข่าวสารอย่างครบถ้วนรอบด้าน แม้ว่าองค์กรสื่อจะร่วมกันรณรงค์ เรียกร้องและออกแถลงการณ์มาตลอด 4 ปีที่ผ่านมา แต่การยกเลิกประกาศคสช.และคำสั่งหัวหน้าคสช. ทั้ง 4 ฉบับก็ไม่เป็นผล 4 ประกาศคสช.และคำสั่งหัวหน้าคสช. ประกอบด้วย 1.ประกาศ คสช.ฉบับที่ 97/2557 เรื่อง การขอความร่วมมือต่อการปฏิบัติงานของคสช.และการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ 2.ประกาศคสช.ที่103 /2557 แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคสช.ฉบับที่ 97 /2557 โดยห้ามวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติงานของคสช.โดยเจตนาไม่สุจริตเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของคสช.ด้วยข้อมูลอันเป็นเท็จ 3.คำสั่งหัวหน้าคสช.ที่3/2558 (ข้อ5)ให้อำนาจเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยมีอำนาจออกคำสั่งห้ามการเสนอข่าว การจำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใด และ 4.คำสั่งหัวหน้าคสช.ที่41/2559 เรื่อง การกำกับดูแลการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ โดยมีเจตนาในการขยายอำนาจ ตามมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ให้ครอบคลุมไปถึงประกาศของคสช. ฉบับที่ 97/2557 และฉบับที่103/2557 รวมทั้งคุ้มครองการใช้อำนาจของ กสทช. 2.จับตากฎหมายกระทบเสรีภาพ : ประเทศไทยอยู่ในช่วงขับเคลื่อนตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านต่างๆ รวมถึงแผนปฏิรูปด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ หนึ่งในนั้นคือการจัดทำ พระราชบัญญัติส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน. พ.ศ. . ซึ่งก่อนหน้านี้องค์กรสื่อได้รวมพลังคัดค้านในหลายประเด็น แต่ในที่สุดร่างกฎหมายดังกล่าวก็ได้รับความเห็นชอบในหลักการจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2561 โดยมีข้อสังเกตบางประการ และคณะรัฐมนตรีได้ส่งให้คณะกรรมการกฤษฏีกาพิจารณาก่อนเสนอกลับคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง ในชั้นนี้ร่างกฎหมายดังกล่าวจึงไม่น่าจะทันการพิจารณาของสภานิติบัญญัติชุดนี้ ถึงกระนั้น องค์กรสื่อก็ยังยืนยันหลักการในการกำกับดูแลกันเอง อันเป็นหลักการสากลที่นานาประเทศใช้กำกับดูแลเรื่องจริยธรรม อีกทั้งจะต้องไม่มีตัวแทนฝ่ายรัฐเข้ามาเกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังมีร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับเสรีภาพบนโลกออนไลน์ ได้แก่ พระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ที่ผ่านความเห็นชอบจากครม.แล้วเช่นกัน แต่หลายประเด็นอาจจะกระทบต่อสิทธิเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นของประชาชนและสื่อมวลชนตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพ รวมทั้งติดตาม ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ....  ร่างพระราชบัญญัติการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล พ.ศ...  การแก้ไข พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ ว่าจะมีส่วนใดริดรอนเสรีภาพของประชาชนและสื่อมวลชนหรือไม่ 3.ธุรกิจสื่อยังระส่ำ : การใช้อำนาจพิเศษของคสช. ในการออกมาตรการบรรเทาผลกระทบต่อผู้ประกอบกิจการทีวีดิจิทัล ด้วยการพักชำระหนี้ค่าสัมปทานเป็นเวลา 3 ปี ตามที่ผู้ประกอบการร้องขอ เป็นสัญญาณที่การแสดงให้เห็นถึงสถานการณ์ของธุรกิจสื่อได้อย่างชัดเจนตลอดทั้งปีที่ผ่านมาต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2560 ฝั่งของสิ่งพิมพ์ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เปิดโครงการลาออกด้วยความสมัครใจในช่วงสิ้นปี ด้านนสพ.ยักษ์ภาคเหนือ “เชียงใหม่นิวส์” หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นที่ตีพิมพ์ข่าวสารในพื้นที่ภาคเหนือมานานกว่า 27 ปี อำลาแผงเมื่อ 5 มี.ค.2561 ผันตัวสู่ออนไลน์  และวันที่ 4 มกราคม 2562 นิตยสารวิเคราะห์ข่าวการเมืองรายสัปดาห์’สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์’ที่จะอำลาแผงเช่นกันหลังยืนหยัดมาได้ถึง 66 ปี  ตามหลัง ‘เนชั่นสุดสัปดาห์’ ที่อำลาแผงไปก่อนหน้านี้ นิตยสารสตาร์พิคส์รายเดือน ที่อยู่คู่แผงหนังสือไทยมากว่า 52 ปี  ประกาศปิดตัว ตีพิมพ์ ฉบับที่ 888 เดือนเม.ย. 2018 เป็นฉบับ 'รายเดือน' เล่มสุดท้าย นิตยสาร Secret เครืออมรินทร์ ประกาศเลิกผลิต เดือนมิ.ย. วางแผงฉบับสุดท้าย ปรับรูปแบบการนำเสนอผ่านช่องทางออนไลน์ และช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ  รวมทั้ง Student Weekly ในเครือ Bangkok Post ได้ประกาศวางแผงเป็นฉบับสุดท้าย ฉบับวันที่ 30 ก.ย. ถือเป็นการปิดตำนานนิตยสารภาษาอังกฤษที่อยู่คู่นักเรียนไทยมากว่า 50 ปu นิตยสารแพรวก้าวเข้าสู่ปีที่ 40 ประกาศปรับจากรายปักษ์ เป็นรายเดือนฉบับแรก เริ่มเดือนต.ค. ฟากฝั่งของสื่อทีวี เริ่มตั้งแต่ “นิวทีวีช่อง18” เป็นช่องแรกของปี ที่ปรับโครงสร้างโดยมีคำสั่งลดพนักงาน 30 % ตามติดด้วยสปริงนิวส์ช่อง19 เลิกจ้างพนักงาน 80 พร้อมกับการต่อลมหายใจด้วยการขายหุ้นให้กับทีวีไดเร็ค และให้บางรายการไปออกอากาศทางช่อง NOW26 ในเครือเนชั่น ซึ่งเป็นจังหวะเดียวกับที่เนชั่นเปิดตัวทีมผู้บริหารชุดใหม่ได้ไม่นาน  ปลายปีสถานีโทรทัศน์ ‘Money Channel ’ แจ้งยุติออกอากาศตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 และจะรุกตลาดผลิตคอนเทน สร้างความเข้มแข็งในโลกออนไลน์ แม้กระทั่งสื่อยักษ์ใหญ่ อย่างสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง3 ก็ยอมเปิดโครงการเกษียณอายุให้แก่พนักงานอายุ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งภาวะธุรกิจเช่นนี้ สื่อระดับโลกอย่างสำนักข่าวรอยเตอร์เอง มีแผนลดพนักงาน 3,200 ตำแหน่ง ปิดสำนักงาน 133 แห่งทั่วโลก ภายใน 2 ปีข้างหน้า ตามแผนปรับโครงสร้างบริษัท 4. บทเรียนถ้ำหลวง : เป็นเหตุการณ์ที่ต้องบันทึกไว้กับเหตุการณ์ที่สื่อมวลชนทั่วโลกมากกว่าพันชีวิต ปักหลักทำข่าวต่อเนื่องยาวนาน 17 วัน ในภารกิจช่วย 13 ชีวิตทีมหมูป่าอะคาเดมี่ ติดอยู่ในถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน จังหวัดเชียงราย เป็นสถานการณ์ที่ยากทั้งการช่วยเหลือ และยากต่อการรายงานข่าวบนเนื้อที่ปากถ้ำที่มีหลากหลายอุปสรรค เงื่อนไข ข้อจำกัดที่ต้องแข่งกับเวลา และการช่วงชิงยอดผู้ชมและเรตติ้งของข่าวให้ได้มากที่สุด นำมาซึ่งคำชื่นชม ตำหนิ และบทเรียนให้กับสื่อมวลชนนำกลับไปเป็นการบ้านเพื่อยกระดับมาตรฐานวิชาชีพต่อไป สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

30 ธันวาคม 2561

///////////////

The Media Situation in 2018 is marked by “interference and slowdown” and the sector has a number of challenges to overcome.

Freedom of expression remains threatened by the National Council for Peace and Order’s (NCPO) special laws and the media businesses are falling on hard times thanks to disruption from technological advancement and consumers’ shift to the digital media.

The media situation in Thailand can be summed up as four points.  1.Freedom of expression is limited by the NCPO’s orders and announcements. Despite the enforcement of the 2017 charter which advocates freedom of expression and free press, four of the NCPO’s orders and announcements restricting the media remain intact.

The four orders in question are No.97/2014, No.103/2014, Article 5 of No.3/2015, and No.41/2016.

Maintaining these orders and announcements is not conducive because when the country is moving toward the general election, the public should in fact be guaranteed a free flow of information to make well-informed decisions.

2. Some draft laws are threatening freedom of the press. The government has given a green light to a number of draft laws that are worth scrutiny as they might be abused to undermine press freedom and threaten civil rights and liberties as well as individuals’ privacy.

One of them is a draft law on promotion of media ethics and professional standards which was endorsed by the cabinet on Dec 18 despite a strong objection by the media organizations.

The bill is pending a review by the Council of State, the government’s legal adviser, and will be resubmitted to the cabinet for consideration.

Even though the controversial bill is unlikely to be passed by the National Legislative Assembly (NLA), it does not bode well with the principles of self-regulation and independence from state intervention.

The other bills include the cybersecurity bill to increase surveillance, prevent the publication of sensitive material, and allow data interception and website blocking; the personal data protection bill in what kind of customer data the regulator or the third party can use for the public interest and what should be strictly protected as personal data; the digital ID bill under which a national digital ID company would be set up to build a digital ID platform to identify and authenticate citizens’ digital IDs.

Several issues related to these bills should be monitored closely as they may hinder freedom of expression or civil liberties.

3. The media businesses are shaken. The NCPO’s use of Section 44 in May to impose a three-year debt moratorium to help digital TV operators speaks volume about the media industry’s struggle. Under order No.9/2018, the operators who owe the National Broadcasting and Telecommunications Commission (NBTC) billions of baht in unpaid licence fees are granted a debt relief of up to three years for the operators.

Several players in the broadcasting and print industries have been forced to undergo corporate restructuring to remain competitive and while some have decided to shut down or moved to the online platform.

On the print media, Chiang Mai News, a local newspaper which covers the northern region, has migrated to online since March, while Siam Weekly, a news magazine, will publish its last issue on Jan 4 after 66 years.

Praew magazine, a lifestyle magazine, has switched from biweekly to monthly format, while Starpics, a monthly entertainment magazine, will publish its last issue in April next year after 52 years.

Thai Rath newspaper, which has the largest circulation in Thailand, has recently joined the restructuring by launching a voluntary retirement scheme.

On the broadcasting sector, the 2018 rang in with New TV channel being the first to downsize its work force, followed by Spring News channel which laid off 80 employees, sold shares and migrated some contents to NOW 26 channel.

As the year is drawing to a close. Money Channel announced it will go off air on Jan 1, 2019 and will focus on online contents. Channel 3, one of the major broadcasting operators, offers a voluntary retirement for long-serving employees.

4. Tham Luang cave rescue coverage brings good lessons.

The Tham Luang cave rescue in Chiang Rai which gained attention from the people around the world has put the spotlight on the Thai media which scrambled to cover one of the most challenging operations.

Criticisms and praises will be used to improve the media professional standards.

The Thai Journalists Association

December 30, 2018