Response to the open letter from the MJA to the TJA

 

Response to the open letter from the MJA to the TJA

 

 

26th December 2015

 

One of main objectives of the Thai Journalists Association (TJA) is to promote journalistic professionalism.

 

We agree with the Myanmar Journalists Association (MJA) that as journalists, our responsibility is to seek truth and justice.

 

Not only for the existing friendship between the MJA and the TJA or between the people of our countries, we see the utmost importance of seeking truth and justice, especially in such a controversial case like the tragedy on Koh Tao Island.

 

As the court conviction of two Myanmar migrant workers on 24th December 2015 has not been final and the defendants can appeal, Thai media are ready to publicise  the facts and evidences available from the investigation as they are. However, after the incident happened, the Thai Media has already practiced investigative reporting on this case throughout the judicial process.

 

It is our pleasure to collaborate with the MJA in finding truth and fighting for justice, human rights and democratic values.

 

We do believe that the close collaboration in revealing the truth behind this case will further promote the existing friendship between the two journalists associations, the people of our two countries as promoting justice which is one of the top values for humanities.

 

Thai Journalists Association

 

ดาวน์โหลดจดหมาย(doc)

 

 

 

 

 

 

สมาคมนักข่าวพม่าขอสมาคมนักข่าวนักนสพ.ฯ ช่วยสนับสนุนการทำความจริงให้ปรากฏในคดีสังหารนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษที่เกาะเต่า ขณะที่สมาคมนักข่าวนักนสพ.ฯ ยืนยันสื่อไทยใช้กระบวนการรายงานข่าวเชิงสืบสวนกับคดีนี้มาตั้งแต่ต้นแล้ว

 

เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2558 สมาคมนักข่าวพม่า (Myanmar Journalists Association : MJA) ได้ออกจดหมายเปิดผนึกถึงสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ขอให้ทั้งสองสมาคมร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในการแสวงหาความจริงเกี่ยวกับการใช้อำนาจของราชการและระบบกฎหมายไทยในการตัดสินคดีสังหารนักท่องเที่ยวที่เกาะเต่า ซึ่งศาลจังหวัดสมุยได้ตัดสินประหารชีวิตแรงงานชาวพม่าสองคนที่ตกเป็นจำเลยในคดีดังกล่าว

 

“ขอให้ (สมาคมนักข่าวทั้งสอง) มาร่วมทำงานด้วยกันเพื่อประโยชน์ของประชาชน เพื่อประเทศชาติอันเป็นที่รักของเราและเพื่อธำรงความยุติธรรม มาร่วมแสดงให้โลกเห็นว่านักข่าวพม่าและนักข่าวไทยร่วมกันต่อสู้เพื่อความยุติธรรม สิทธิมนุษยชน และคุณค่า ตามระบอบประชาธิปไตย” สมาคมนักข่าวพม่าระบุในจดหมายเปิดผนึกซึ่งได้อ้างอิงถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองสมาคมที่มีเสมอมา

 

ด้านสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยได้มีจดหมายตอบอย่างเป็นทางการและเผยแพร่เนื้อความในจดหมายตอบดังกล่าว โดยมีใจความสำคัญว่า การส่งเสริมให้สื่อมวลชนทำหน้าที่อย่างมืออาชีพในการแสวงหาความจริงและผดุงความยุติธรรมเป็นส่วนหนึ่งในวัตถุประสงค์หลักของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ดังนั้นจึงมีความยินดีที่จะทำงานเพื่อทำความจริงให้ปรากฏ

 

ทั้งนี้ คำตัดสินของศาลในวันที่ 24 ธันวาคมที่ผ่านมายังไม่ถือเป็นที่สิ้นสุด เพราะจำเลยทั้งสองสามารถยื่นอุทธรณ์คดีได้ นอกจากนี้ สื่อมวลชนไทยยินดีที่จะนำเสนอข้อมูล ข้อเท็จจริง และหลักฐานที่ได้จากการสืบสวนคดีตามความเป็นจริง ซึ่งในระหว่างที่เจ้าหน้าที่ทำการสืบสวนคดีนี้ในระยะเวลาที่ผ่านมา สื่อมวลชนของไทยเองก็ได้รายงานข่าวเจาะลึกเกี่ยวกับคดีดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง

 

“เราเชื่อว่าการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดของทั้งสองสมาคมจะยิ่งส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาคมนักข่าวและประชาชนของทั้งสองประเทศ พร้อมๆ กับการส่งเสริมความยุติธรรมอันนับได้ว่าเป็นคุณธรรมหลักประการหนึ่งของมวลมนุษยชาติ” สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยระบุในจดหมายตอบ