นักวิชาการชี้ รัฐยังกั๊กอำนาจในการปฏิรูปสื่อหวงจัดสรรคลื่นความถี่ จี้องค์กรวิชาชีพดันกฎหมายคุ้มครองอย่างเป็นรูปธรรม

นักวิชาการชี้ รัฐยังกั๊กอำนาจในการปฏิรูปสื่อหวงจัดสรรคลื่นความถี่ จี้องค์กรวิชาชีพดันกฎหมายคุ้มครองอย่างเป็นรูปธรรม    “วสันต์” กระตุกสื่อจุดยืนต้องชัดอย่าหลงใหลอำนาจ จับตาทุนผันตัวกลืนสื่อแนบเนียนในรูปแบบโฆษณา  ชี้อำนาจประชาชนรู้ทันในการเลือกเสพสื่อ

090516-seminar

เมื่อเวลา 11.15 นาทีที่วิทยาลัยนวัตกรรมธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา จังหวัดชลบุรี สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สถาบันอิศรา และสมาคมนักข่าววิทยุโทรทัศน์ไทย ได้จัดประชุมใหญ่วิชาการวิชาชีพสื่อสารมวลชนระดับชาติ โดยมีการอภิปรายในหัวข้อ บทเรียนสื่อ อำนาจรัฐ อำนาจทุน  อำนาจประชาชน ซึ่งมีวิทยากรด้านสื่อสารมวลชนเข้าร่วมอภิปรายเป็นจำนวนมาก

นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ รองผู้อำนวยการด้านบริหาร องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ กล่าวว่า  หัว ข้อที่ตั้งไว้ในการอภิปรายครั้งนี้เป็นหัวข้อที่น่าสนใจมาก ซึ่งสิ่งแรกที่ตนอยากพูดถึงตอนนื้คือลักษณะของอำนาจนั้นมีลักษณะหอมหวานใคร ต่อใครต่างไขว่คว้าและวิ่งหามัน อำนาจคล้ายกับยาเสพติดยิ่งเสพยิ่งติดและโดสในการเสพก็สูงขึ้นเรื่อย ๆ ผู้คนมากมายต่างต้องการและไขว่คว้ามัน  การเข้าสู่อำนาจเป็น เรื่องยากแต่การรักษาอำนาจให้คงอยู่กับตนเองยิ่งยากว่าและการลงจากอำนาจก็ เป็นเรื่องยากที่สุดมันเหมือนการลงหลังเสือ

อำนาจ เป็นแม่เหล็กที่คอยดึงดูดอย่างมากที่สุด ยกตัวอย่างนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ที่ใช้อำนาจเราจึงเห็นการต้อนรับนายกรัฐมนตรี แตกต่างออกไปจากพวกเรา  อำนาจดึงดูดและผลักดันฝ่ายตรงข้ามได้ และอำนาจเป็นของร้อนที่ใครถือแล้วร้อน ตนไม่เคยเห็นอำนาจไหนที่ใครถือแล้วเย็นสบายเลย อำนาจเป็นความฉ้อฉล ยิ่งมีอำนาจมากเท่าไหร่ยิ่งฉ้อฉลมากเท่านั้น

รองผู้อำนวยการด้านบริหาร องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ กล่าวอีกว่า  อำนาจกับสื่อในช่วง 5-10 ปีที่ผ่านมาเราจะเห็นอำนาจของรัฐว่าคุกคามสื่อขนาดไหน แต่ในปัจจุบันนี้การคุกสื่อเปลี่ยนไปจากเดิมมาก สมัยก่อนการคุกคามเป็นแบบลูกทุ่งที่เห็นชัด ๆ ตรง ๆ การคุกคามเกิดขึ้นอย่างตรงไปตรงมาไม่ว่าจะเป็นการปิดหนังสือพิมพ์  ทุบแท่นพิมพ์  การ อุ้มฆ่า จับคักคุก ยัดข้อหาด้านความมั่นคงหรือคอมมิวนิสต์ต่าง ๆ สมัยนี้การคุกคามสื่อจากอำนาจรัฐจมาในรูปแบบของการใช้กฎหมายหมิ่นประมาทที่ รุนแรงมากขึ้น สมัยก่อนป้าวิภา จากหนังสือพิมพ์มติชนถูก พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก ซึ่งดำรงตำแหน่ง ผบ.ทบ. ในขณะนั้นฟ้องร้องปรับเป็นเงิน 10 ล้านซึ่งเงิน 10 ล้านในขณะนั้นเรามองว่าเป็นเรื่องมหาศาล แต่ตอนนี้เปลี่ยนเป็นการฟ้องร้องพันล้านแล้ว ซึ่งส่วนนี้ก็เป็นรูปแบบหนึ่งที่ใช้คุกคามสื่อที่นำเสนอข้อมูลข่าวสารให้ สังคม

นาย วสันต์กล่าวอีกว่า การใช้อำนาจรัฐในการแทรกแซงสื่อซับซ้อนมากขึ้นโดยมีการใช้อิทธิพลที่ให้คุณ ให้โทษกับสื่อเช่นการจัดสรรงบประมาณในการโฆษณาต่าง ๆ แต่ที่สำคัญที่สุด คือรัฐมักจะควบคุมเฉพาะสื่ออิเล็กทรอนิกส์  ยกตัวอย่างของกรณี กรมประชาสัมพันธ์ที่มีชื่อเล่นว่ากรมกร๊วก เราจะเห็นได้ชัดเจนว่าเมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาลก็จะมีการเปลี่ยนอธิบดีกรมประ ขาสัมพันธ์หรือมีการเปลี่ยนผู้อำนวยการสถานี และครั้งนี้ก็มีการเปลี่ยนแปลงที่ไปไกลมากกว่าเพราะมีการเปลี่ยนโลโก้ด้วย ลักษณะแบบนี้จะมีมากขึ้น กรมประชาสัมพันธ์ก็ถูกแทรกแซงและใช้เป็นเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อ เราจะเห็นว่าสถานการณ์แบบนี้จะยังคงอยู่ ยกเว้นแต้เราจะปฏิรูปสื่อรัฐให้เป็นอิสระมากขึ้น เรื่องโอเนอร์ชิฟหรือความเป็นเจ้าของสื่อก็เป็นเรื่องที่สำคัญเพราะเมื่อรัฐ เป็นเจ้าของสื่อก็จะมีผลอย่างมากต่อการควบคุมสื่อ และถึงแม้สังคมของเราเติบโตไปมากจนทำให้การควบคุมสื่อไม่สามารถทำได้อย่าง โจ่งแจ้งแต่เราก็ยังเห็นการคุกคามสื่อเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

รอง ผู้อำนวยการด้านบริหาร องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ กล่าวว่า ถึงแม้สื่อของรัฐจะมีการกระจายหุ้นเป็นมหาชนซึ่งในแง่ทฤษฏีคงเป็นเรื่องที่ ดีมาก แต่ในเชิงปฏิบัติ การแทรกแซงยังมี  และในส่วนของ วัฒนธรรมของผู้ที่ใช้อำนาจและผู้ที่อยู่ในอำนาจมีส่วนสำคัญมาก เพราะปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้คือผู้ที่อยู่ในอำนาจคอยมองว่าทิศทางลม ของอำนาจไปอยู่ในส่วนไหนและเมื่ออำนาจเปลี่ยนถ่ายก็จะวิ่งหาอำนาจและรับใช้ อำนาจอย่างไรน่าเศร้าสำหรับสื่อหนังสือพิมพ์ มีความเป็นอิสระอยู่มาก แต่ก็จะถูกแทรกแซงด้วยเรื่องของโฆษณา  อำนาจกับสื่อถ้าพึ่งพากันมาเกินไปประชาชนก็จะเพิ่งสื่อไม่ได้

นาย วสันต์กล่าวว่า ในส่วนของอำนาจทุนเป็นสิ่งที่แทรกแซงสื่อมากสุดและรุนแรงมากสุดที่ แสดงออกอย่างชัดเจนคือสารมารถกำหนดบทบาทของสื่อผ่านการโฆษณาได้  เพราะ เรื่องโฆษณาเป็นเรื่องที่มีผลทำให้เกิดการเกรงใจทำให้สื่อไม่กล้าแตะไม่กล้า วิพากษ์วิจารณ์และนำเสนอในสิ่งที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตามสิ่งที่ตนสังเกตเพิ่มเติมคือโฆษณาที่เข้ามาในสื่อตอนนี้คือเข้า อย่างเนียนมีการยัดเยียดเนื้อหาที่แฝงตัวไปในรูปแบบของข่าวหรือข้อความต่าง ๆ เราเริ่มเห็น วิทยุมีลักษณะโฆษณาแอบแฝงไม่ตรงไปตรงมา และอาจจะเป็นด้วยเหตุนี้อำนาจรัฐอำนาจทุนทีผลต่อสื่อจึงทำให้นักวิชาการนัก วิชาชีพอยากเห็นสื่อสาธารณะ ที่ปลอดจาอำนาจรัฐอำนาจทุนมีความเป็นอิสระ แต่สื่อสาธารณะบ้านเราอยู่ในระดับเริ่มต้นที่เราต้องปรับปรุงให้ดีขึ้น

รอง ผู้อำนวยการด้านบริหาร องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ ส่วนของอำนาจประชาชนสะท้อนออกมาจากผู้บริโภคที่เขาจะกำหนดด้วยการรับฟังหรือ ไม่รับฟังถ้าหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นเสนอข่าวที่ไม่สนองตอบต่อความต้องการของ เขาเขาก็สามารถเลือกที่จะบอยคอตได้ หรือแม้กระทั่งเราเองเราก็สามารถเลือกรายการที่เราสนใจและเลือกที่จะไม่รับ รายการหรือรับสื่อนั้นๆ ได้ เป็นบทบาทของภาคประชาชนที่จะกำหนดได้โดยไม่แตกต่างกันมาก  บท เรียนที่ดีกรณีของมติชนที่อำนาจรัฐและอำนาจทุนพยายามที่จะเจ้าไปเทคโอเวอร์ ถือหุ้นใหญ่ แต่บทบาทของผู้บริโภคและวิชีพสามารถยับยั้งการก้าวล่วงครั้งนั้นได้อย่าง ชัดเจน

ด้าน น.ส.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ นักวิชาการอิสระด้านการสื่อสารมวลชนกล่าวว่า เมื่อพุดถึงเรื่องรัฐเรื่องทุนและเรื่องประชาชนตนได้จัดภาพได้เป็นรูปสาม เหลี่ยมที่มีรัฐอยู่ส่วนบนสุดของยอด ส่วนทุนและประชาชนประกอบอยู่มุมทั้งสองข้าง และสื่อมวลชนก็อยู่ตรงใจกลางของรูปสามเหลี่ยมและทั้งสามส่วนก็มุ่งมั่นที่ อยากมาใช้สื่อมวลชน และสื่อมวลชนเองก็ถูกคาดหวังให้เป็นเวทีสาธารณะ ซึ่งองค์ประกอบทั้งสามส่วนก็อยากได้อำนาจของสื่อทั้ง 100 เปอร์เซ็นต์ทึกฝ่ายโดยไม่มีมีใครยอมใคร

นัก วิชาการอิสระด้านการสื่อสารมวลชนกล่าวว่า และในวันนี้หากให้ตนเปรียบเทียบการทำงานของสื่อ ตนก็อยากเปรียบเทียบสื่อมวลชนเป็นปากกา นกและสายฟ้า ซึ่งปากกาหมายถึงสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น นกคือสันติภาพและอิสรภาพ ส่วนสายฟ้าที่มีทีหลังตนมองว่ามันคือแสงสว่าง นี่คืออุดมคติที่สื่อมวลชนจะต้องมาร่วมกันแชร์  สำหรับสภาพของสื่อการเปลี่ยนแปลงเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมามีกระแสนิยมใหม่มากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อปลายปี 2540 ที่ถูกพิศเศรษฐกิจ ส่งผลให้สื่อต้องปรับตัวและพอมีการปรับตัวก็ทำให้เกิดระบบเสรียมใหม่ขึ้น รัฐกับสื่อมวลชนรัฐกับทุนไม่ได้แยกจากกันเบ็ดเสร็จเด็ดขาดทำให้ไม่สามารถขับ เคลื่อนได้

น.ส.อุบลรัตน์ กล่าว่า เมื่อปี 2549 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสื่อยุคสำคัญมีการผลักดันกฎหมายหลายตัวที่เกี่ยว กับการทำงานด้านสื่อ ซึ่งรัฐบาลแต่ละสมัยมีความเข้มข้นและความโฉ่งฉ่างไม่เท่ากัน สาระสำคัญของกฎหมายแต่ละตัวได้เปิดให้สื่อท้องถิ่นมีบทบาทมากขึ้น เราจะเห็นภาพของการเปิดเสรีของสื่อมากขึ้น และมีการปรับเปลี่ยนในเชิงโครงสร้างของสื่อมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อไปอีก 10-15 ปีข้างหน้า  อย่างไรก็ตามสำหรับพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ก็จะไม่ได้อยู่ในความดูแลของรัฐบาลและจะทำให้สื่อมีความเป็นเสรีมากขึ้น

อย่างไรก็ตามนักวิชาการอิสระด้านการสื่อสารมวลชนยังได้อภิปรายถึงการเติบโตของสื่อไว้อย่างน่าสนใจว่า   รัฐ เปลี่ยนแปลงไปสู่การเปิดให้สื่อเอกชนและสื่อธุรกิจบางประเภทเช่นอินเตอร์ เน็ตเติบโตมากขึ้น แต่ก็ยังมีการออกกฎหมายมาควบคุมสื่อใหม่ รวมถึงการควบคุมสื่อวิทยุโทรทัศน์และสื่อท้องถิ่นรัฐยังไม่มีท่าทีอย่าง ชัดเจนในเรื่องนี้ ทั้งนี้ในเรื่องการจัดสรรคลื่นความถี่รัฐยังหวงในเรื่องการกระจายคลื่นความ ถี่ และที่ผ่านมาทัศนคติของประชาชนที่มีต่อสื่อมวลชนค่อนข้างติดลบ ดังนั้นสื่อจะปฏิรูปตัวเองอย่างไรให้มีการคานระหว่างอำนจรัฐและทุน  ในส่วนของสภาการหนังสือพิมพ์มุ่งสร้างความเข้มแข็งของวิชาชีพแต่กฎหมายที่จะคุ้มครองวิชาชีพกลับไม่มีความชัดเจน

นายภัทระ คำพิทักษ์  บรรณาธิการ ข่าวหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์กล่าวว่า คำว่าสื่อในขณะนี้ไม่เหมือนเดิมแล้วเดี๋ยวนี้ทีวีแดงทีวีเหลืองก็มี หนังสือพิมพ์แดงก็มีออกมา สื่อทั้งหลายในวันนี้ต้องถามตัวเองว่าตัวเราเป็นอะไรเราจะนิยามตัวของเราเอง ว่าอย่างไร ในส่วนเรื่องของทุนตนมีมุมมองที่ต่างออกไป ถ้าเรามองกรอบทุนรัฐ สื่อ ประชาชนออกจากกันเราก็ไม่สามารถเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นได้  เพราะปัจจุบันนี้อำนาจของทั้งสามส่วนได้เข้ามาผนวกกันแล้ว  ซึ่งลักษณะของอำนาจที่ผนวกกันนั้นจึงมีหลายหัวข้อที่น่าสนใจที่ตนอยากแนะนำให้นักวิชาการได้ทำการศึกษาถึงความเปลี่ยนแปลงของสื่อคือ  การทำทุนเก่าที่ไม่เข้าตลาดหลักทรัพย์  หรือทุนที่เข้าตลาดหลักทรัพย์แล้วไม่ว่าจะเป็น มติชน เนชั่น บางกอกโพสต์  การทำสื่อแบบไหนที่จะไปรอดและจะทำให้เกิดอิสระในการนำเสนอข่าวสารอย่างเต็มที่

นายภัทระกล่าวอีกว่า ในส่วนของอำนาจรัฐตนแยกรัฐออกจากผู้ใช้อำนาจรัฐ  ยิ่ง วันนี้เมื่อได้ตนฟังนายกรัฐมนตรีพูดวันนี้ตนยิ่งเศร้าเพราะมันจะไม่มีการ จัดการปัญหาใหม่ โครงสร้างรัฐตอนนี้เป็นโครงสร้างที่อ่อนแอมาก  ซึ่ง ถ้าเราใช้ท่าทีที่โครงสร้างของรัฐอ่อนแอตอนนี้เข้าไปปรับแก้กฎหมายที่เกี่ยว ข้องกับสื่อจะเป็นประโยชน์ต่อวงการสื่อสารมวลชนของเรามาก สำหรับส่วนของภาคประชาชนในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมานี้ มันมีคำถามเรื่องเว็บไซด์เรื่องสำนักข่าวชาวบ้านซึ่งสามารถตอบโจทย์ได้ใน ระดับหนึ่งและเมื่อทุนของประชาชนถูกยอมรับในระดับหนึ่ง เราต้องมีความรู้จริยธรรมและคุณธรรมมาประกอบกัน ปัจจุบันนี้ทุนแบบใหม่ได้เปิดพื้นที่สื่อจนทำให้โลกแบน สมัยก่อนกว่าตนจะเขียนบทความชิ้นแรกขึ้นมาได้เราต้องผ่านการถูกขย่มเขย่า แต่ในโลกสมัยใหม่นี้คุณสามารถเขียนอะไรก็ได้แต่คุณก็ต้องรับการถูกขย่มที่จะ เกิดขึ้นได้ด้วย

“ปัจจุบัน นี้ ทุน ความรู้ จริยธรรม สามส่วนนี้ยังแกว่งอยู่ ถ้าสามส่วนนี้นำเข้ามาประกอบกันก็จะทำให้เกิดความสมบูรณ์ ขณะนี้สื่อมวลชนในกระแสหลักไปต่อรองกับสังคมว่าสื่อสามารถควบคุมกันเองได้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ กับสื่อผมไม่สามารถตอบได้ว่าสามารถควบคุมกันเองได้หรือไม่  ผม ทราบข่าวมาว่าปัจจุบันนี้เรื่องร้องเรียนในสภาการหนังสือพิมพ์ลดลงผมไม่ทราบ ว่าสื่อทำหน้าทีดีมากขึ้น หรือว่าประชาชนไม่เชื่อถือในองค์กรที่ทำงานนี้แล้วหรือแท้จริงแล้วเราควบคุม กันเองไม่ได้แล้วยังทำให้เกิดช่องโหว่ขึ้นอีก  ผมมองว่าเมื่อทุกคนมีเสรีภาพในการจดแจ้งสื่อสิ่งพิมพ์แล้วเขาต้องเป็นสมาชิกขององค์กรวิชาชีพหรือไม่  เราต้องช่วยกันระดมกึ๋นและหาวิธีการในการล้อมคอกให้ชัดว่าการควบคุมกันเองในพื้นฐานที่น่าจะทำได้ในตอนนี้คืออะไร” บรรณาธิการ ข่าวหนังสือพิมพ์โพสทูเดย์กล่าวและว่ากระบวนการทางสังคมในการควบคุมสื่อ ต่างๆ ให้ก้าวหน้าเราจะต้องทำอย่างไร เป็นโจทย์ที่ท้าทายเพราะถ้าสื่อยังเป็นแบบเดิมเราก็จะตกขบวน มันถึงเวลาที่เราต้องเปลี่ยนแปลงและตรวจสอบการทำหน้าที่ของเราเพราะถ้าเรา ลูบหน้าปะจมูกแบบทุกวันนี้หายนะมาถึงเราอย่างแน่นอน