ด่วน ! เลื่อนการอบรม “ความรู้เบื้องต้นในการทำข่าวท่ามกลางสถานการณ์รุนแรง” ออกไปก่อน

ด่วน ! เลื่อนการอบรม “ความรู้เบื้องต้นในการทำข่าวท่ามกลางสถานการณ์รุนแรง” ออกไปก่อน เนื่องจากวิทยากรติดภาระกิจด่วน

ส่วนจะเป็นวันไหน จะขอแจ้งให้ทราบอีกครั้ง

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย  ร่วมกับสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และแพทยสภาจะจัดการอบรมเรื่อง “ความรู้เบื้องต้นในการทำข่าวท่ามกลางสถานการณ์รุนแรง” ขึ้นในวันศุกร์ที่ 21พฤษภาคม 2553 เวลา 09.00-16.00 น. ณ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เนื้อหาการอบรมประกอบด้วย “ความรู้ในเรื่องอาวุธ การป้องกันตัวเมื่ออยู่ในสถานการณ์ความรุนแรง” โดยวิทยากรจากกรมสรรพาวุธทหารอากาศ และ “การปฐมพยาบาลเบื้องต้นในสภาวะฉุกเฉิน” โดยวิทยากรจากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ นักข่าวที่สนใจเข้าร่วมอบรมแจ้งชื่อที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย  โทร.02-668-9422  E-mail: reporter@inet.co.th หรือสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย โทร. 02-243-8479

กำหนดการอบรม
“ความรู้เบื้องต้นในการทำข่าวท่ามกลางสถานการณ์รุนแรง”
โดย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
ร่วมกับสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และแพทยสภา
วันศุกร์ที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.
ณ ห้องอิศรา อมันตกุล ชั้น ๓  สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ตรงข้าม รพ. วชิระ


๐๘.๓๐ น. – ๐๙.๐๐ น.              ลงทะเบียนและพิธีเปิด
๐๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น.             การบรรยาย เรื่อง “ความรู้ในเรื่องอาวุธ การป้องกันตัวเมื่ออยู่ในสถานการณ์ความรุนแรง”
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้สื่อข่าวเข้าใจและรายงานข่าวได้อย่างถูกต้อง และเพื่อป้องกันชีวิตตัวเอง
เนื้อหา
๑. อาวุธและอุปกรณ์ที่มีการใช้ในการควบคุมฝูงชน
๒. วิถีกระสุน อำนาจการทำลายล้าง และขอบเขตบริเวณซึ่งต้อง   หลบหลีกและวิธีการสังเกต
๓. วิธีการปฏิบัติตัวเพื่อลดการบาดเจ็บหรือป้องกันตัวเอง
๔. วัสดุอุปกรณ์ที่นักข่าวควรจะมี เพื่อเตรียมพร้อมเพื่อประกอบในการเข้าทำข่าวในพื้นที่
๑๒.๐๐ น. – ๑๓.๐๐ น.             พักรับประทานอาหารกลางวัน
๑๓.๐๐ น. – ๑๖.๐๐ น.             การบรรยายเรื่อง “การปฐมพยาบาลเบื้องต้นในสภาวะฉุกเฉิน”

วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้สื่อข่าวเข้าใจและสามารถช่วยชีวิตตัวเองและผู้อื่น
เนื้อหา
๑. ผลของอาวุธชนิดต่างๆที่ใช้ในการชุมนุม อาทิ อาวุธเคมี(น้ำกรด, แก๊สน้ำตา) อาวุธวัตถุระเบิดและกระสุน อาวุธก่อความร้อน(ไฟไหม้-ลวก) อาวุธเสียง เป็นต้น
๒. แนวทางการป้องกันตัวเองจากอาวุธดังกล่าวที่มีในที่ชุมนุม
๓. แนวทางการรักษาตนเองและผู้อื่นเบื้องต้นหากได้รับอันตราย
๔. การกู้ชีพเบื้องต้นเพื่อช่วยชีวิตตนเองและผู้อื่นที่ควรทราบ และแนวทางติดต่อประสานขอการสนับสนุนและความช่วยเหลือทางการแพทย์ในแต่ละพื้นที่