ขอ เลื่อนวันอบรม “เตรียม พร้อมการทำข่าวในสถานการณ์ความรุนแรง” ออกไปก่อนหากได้วันเวลาที่แน่นอนจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง

 

ขอเลื่อนวันอบรม “เตรียม พร้อมการทำข่าวในสถานการณ์ความรุนแรง” ออกไปก่อนหากได้วันเวลาที่แน่นอนจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง

 

ด้วย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย  ร่วมกับ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย โดยความร่วมมือกับแพทยสภา กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) และกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.)  จะจัดการอบรม “เตรียม พร้อมการทำข่าวในสถานการณ์ความรุนแรง” เพื่อ ให้ผู้สื่อข่าวและช่างภาพจากสื่อหนังสือพิมพ์  สถานี โทรทัศน์และวิทยุ  ได้เรียนรู้เรื่องอาวุธสงครามและ ระเบิด - การป้องกัน – การปฐมพยาบาลเบื้องต้น  โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยสร้างองค์ความรู้พื้นฐานให้แก่สื่อมวลชน ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับอาวุธทุกชนิด  ตลอดจน ประสิทธิภาพในการทำลายล้าง  รวมไปถึงการจุดระเบิดชนิด ต่างๆ รวมทั้งสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและเรียนรู้วิธีการป้องกันตัวจา กอาวุธและระเบิดชนิดต่างๆ โดยจะจัดระหว่างวันเสาร์ที่ ๑๗ -วันอาทิตย์ที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ณ กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน  (ค่ายนเรศวร) อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี

ใน การนี้  สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จึงเรียนมาเพื่อขอเชิญท่านส่งนักข่าวเข้าร่วมการอบรมจำนวนไม่เกิน ๒ คน (ค่าลงทะเบียนคนละ ๑,๐๐๐ บาท)  โดยขอความกรุณาส่งชื่อนักข่าวที่สนใจ เข้าร่วมการอบรมมายังสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โทร. ๐๒-๖๖๘-๙๔๒๒ โทรสาร. ๐๒-๖๖๘-๗๕๐๕        E-mail: reporter@inet.co.th  ภายในวันพุธที่  ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๓

//////////////////////////////////////////////////////////

กำหนดการอบรม “ เตรียมพร้อมการทำข่าวในสถานการณ์ความรุนแรง”
เรียนรู้เรื่องอาวุธสงครามและระเบิด - การป้องกัน - การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
ณ  กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ
กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (ค่ายนเรศวร) อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี
วันเสาร์ที่ 17 – วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม 2553


วันเสาร์ที่ 17 ก.ค.2553

06.00 น     ลงทะเบียน
07.00 น    ออกเดินทางจากสมาคมนักข่าวฯ ไปยังค่ายนเรศวร อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี
กิจกรรมแนะนำตัวเพื่อสร้างความคุ้นเคยระหว่างผู้เข้าร่วมอบรม
09.30 น    เดินทางถึงค่ายนเรศวร

09.30 น    พิธีเปิดการอบรม
โดย     กล่าวต้อนรับและวัตถุประสงค์การจัดอบรม
นายประสงค์   เลิศรัตนวิสุทธิ์  
นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย  
นายก่อเขต  จันทเลิศลักษณ์ นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย  
พลตำรวจตรีธนพล  สนเทศ ผู้บังคับการ กองบังคับการสายตรวจและ
ปฏิบัติการพิเศษ  กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บชน.)


09.45 น    ความรู้เรื่องอาวุธยุทโธปกรณ์  และการป้องกันตนเอง
บรรยายเกี่ยวกับอาวุธทุกชนิดที่ใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ ปืนพกพา และปืนชนิดต่างๆ  เครื่องยิง อาวุธสงคราม ทั้ง อาร์พีจี และเอ็ม 79  ตลอดจนการจุดระเบิดชนิดต่างๆ  ว่ามีคุณลักษณะและ วิถีกระสุน  อำนาจในการทำลายล้าง  วิธีการสังเกต และขอบเขตระยะรัศมีของพื้นที่ในการหลบหลีก  รวมทั้งอาวุธที่ใช้ในการชุมนุมทางการเมืองครั้งที่ผ่านมา
โดย      พันตำรวจโทกำธร  อุ่ยเจริญ รองผู้กำกับการกลุ่มงานเก็บกู้และตรวจพิสูจน์
วัตถุระเบิด กองบังคับการสายตรวจและการปฏิบัติการพิเศษ  บชน.
12.00 น    รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น    บรรยายความรู้เรื่องเบื้องต้นเกี่ยวกับอาวุธยุทโธปกรณ์   (ต่อ)  
14.00 น    เดินทางลงพื้นที่เรียนรู้ภาคสนาม  ค่ายนเรศวร

14.30 น    ชมสาธิตการใช้อาวุธปืน  อาวุธสงคราม  ทดสอบการยิงจริง จากปืนเอ็ม 79   ฝึกสังเกตุและฟังเสียงการใช้อาวุธแต่ละชนิด  เรียนรู้จากการทดสอบการ จุดระเบิดชนิดต่างๆ   เช่น ระเบิดดินดำ  ปิงปอง  ซีโฟร์ และทีเอ็นที เป็นต้น   และเรียนรู้วิธีการป้องกันตนเองในสถานการณ์ต่างๆ  
17.00 น    เดินทางกลับเข้าสู่ที่พัก
17.30 น    พักผ่อนตามอัธยาศัย
18.30 น     รับประทานอาหารเย็น

19.30 น    บอกเล่าประสบการณ์  ข่าวในภาวะสงคราม โดย
นายสุนัย ผาสุก  ที่ปรึกษาองค์กรสิทธิมนุษยชนฮิวแมนไรท์วอท
ช่างภาพมืออาชีพและนักข่าวมากประสบการณ์
ดำเนินรายการโดย   นายก่อเขต  จันทเลิศลักษณ์  นายก สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย

วันอาทิตย์ที่ 18 ก.ค.2553
06.30 น     นัดพร้อมเพรียงออกกำลังกายยามเช้า
08.30 น    รับประทานอาหารเช้า
09.30 น    เรียนรู้เรื่องการควบคุมฝูง  ขั้นตอนและแนวปฏิบัติจริง
โดย     กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน  
10.30 น     พักรับประทานอาหารว่าง

10.45 น    การปฐมพยาบาลเบื้องต้นในภาวะฉุกเฉิน  
ผลที่เกิดจากการใช้อาวุธชนิดต่างๆ เช่นอาวุธเคมี (น้ำกรด แก๊สน้ำตา)  วัตถุระเบิดและ กระสุน อาวุธก่อความร้อน (ไฟไหม้-ลวก)   แนวทางการป้องกันตัวจากอาวุธในพื้นที่ชุมนุม แนวทางการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยเหลือผู้อื่น
12.00 น    รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น    ฝึกปฏิบัติการกู้ชีพและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่ถูกต้อง
14.30 น    พิธีปิดการอบรม
15.00 น    ออกเดินทางกลับ
18.00 น    เดินทางกลับถึงสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

ข้อควรปฎิบัติ
ผู้เข้าอบรมจะต้องเข้าร่วมกิจกรรมได้ตลอดตามกำหนดการ
การอบรมแต่งกายในชุดที่เตรียมพร้อมเพื่อความคล่องตัวในการลงพื้นที่ฝึกปฏิบัติภาคสนาม


จดหมายเชิญ / โครงการ /กำหนดการ