ขายหนังสือ “หมายเหตุประเทศไทย ร.ศ. ๒๒๙”

 

หนังสือ “หมายเหตุประเทศไทย ร.ศ. ๒๒๙ จัดจำหน่ายในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ ๓๙ ที่บูธสำนักพิมพ์บางกอกโพสต์  โซนดี ๐๕  ห้อง แพนนารี่ฮอล์ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์   หรือสามารถติดต่อซื้อโดยตรงได้ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือ พิมพ์แห่งประเทศไทย ตรงข้ามโรงพยาบาลวชิระ ๐๒ – ๖๖๘ - ๙๔๒๒

////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

ขายหนังสือ “หมายเหตุประเทศไทย ร.ศ. ๒๒๙”
ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ ๓๙  ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

นางสาวอมรรัตน์  มหิทธิรุกข์ เลขาธิการสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่าสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยร่วมกับชมรมช่างภาพการเมือง ได้รวบ รวมภาพจากเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองในช่วงเดือนมีนาคมถึง ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓ เก็บเป็นบันทึกภาพประวัติศาสตร์และจัดทำเป็นหนังสือภาพ ๒ ภาษา ( ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)     ใช้ชื่อว่า “ หมายเหตุประเทศไทย ร.ศ. ๒๒๙”  หรือ  “ Country in Crisis Violence  Through The  Lens ”

นางสาวอมรรัตน์ กล่าวว่า ภาพทั้งหมดได้รับความร่วมมือจากทุกหนังสือพิมพ์ เป็นภาพที่บรรดาช่างภาพจะต้องเสี่ยงชีวิตเข้าไปทำหน้าที่สื่อมวลชนในการเก็บรวบรวมเพื่อบันทึกภาพ โดยได้คัดภาพจำนวน ๓๐๐ ภาพจากกว่า ๑๐,๐๐๐ ภาพ   นำมาจัดทำเป็นหนังสือภาพเล่มนี้

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดพิมพ์หนังสือภาพขึ้นและจำหน่ายในราคาเล่มละ ๓๙๙ บาท   เพื่อนำรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดเข้ากองทุนเพื่อดูแลด้านสวัสดิการให้กับช่างภาพและนักข่าวภาคสนาม

หนังสือ “หมายเหตุประเทศไทย ร.ศ. ๒๒๙ จัดจำหน่ายในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ ๓๙ ที่บูธสำนักพิมพ์บางกอกโพสต์  โซนดี ๐๕  ห้องแพนนารี่ฮอล์ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์   หรือสามารถติดต่อซื้อโดยตรงได้ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ตรงข้ามโรงพยาบาลวชิระ ๐๒ – ๖๖๘ - ๙๔๒๒

"เหตุการณ์ความรุนแรงได้ผ่านไปเหตุการณ์หนึ่งเหตุการณ์ แต่ยังไม่มีฝ่ายใดให้ความมั่นใจได้ว่าจะไม่มีเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้นอีกในประเทศนี้  แต่ภาพในหนังสือเล่มนี้ คณะกองบรรณาธิการและช่างภาพของสื่อมวลชนไทย ต้องการให้เป็นพยานของประวัติศาสตร์  เพื่อให้คนไทยมีความทรงจำร่วมกัน และมีบทเรียนร่วมกัน   ป้องกันความรุนแรงที่ไม่ควรเกิดขึ้นจากความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกันของคนไทย  และร่วมกันตระหนักว่าสังคมประชาธิปไตยนั้น   เห็นแตกต่างกันได้โดยไม่ใช้ความรุนแรง" (บทนำ หมายเหตุประเทศไทย ร.ศ. ๒๒๙)