เวทีเสวนา เรื่อง ทิศทางสื่อไทยหลังเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง จะไปทางไหน

โครงการ เวทีเสวนา เรื่อง ทิศทางสื่อไทยหลังเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง จะไปทางไหน

วันที่ 16 พฤษภาคม 2554 ห้องกมลมาศ โรงแรมสยามซิตี้

ร่วมจัดโดย เครือข่ายสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAPA)  ร่วมกับ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย

ความเป็นมา

สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทยที่นำไปสู่การใช้กำลังในการสลายการชุมนุมเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2553 ได้ส่งผลให้มีผู้เสียชิวิต 88 ราย และบาดเจ็บ 1,885 ราย ในจำนวนนี้มีผู้สื่อข่าวไทยและต่างประเทศรวมอยู่ด้วย อีกทั้งยังทำให้ชื่อเสียงของประเทศไทยต้องด่างพร้อยไปด้วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของเสรีภาพของประชาชนและเสรีภาพในการแสดงออก นอกจากนี้ ความขัดแย้งฯยังคงคุกรุ่นอยู่และไม่มีทีท่าว่าจะจบลงได้โดยปราศจากแนวทางการปรองดองแห่งชาติที่จริงจังและเป็นรูปธรรมชัดแจน เว้นแต่ความหวังว่าการเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้นในอีกเกือบสองเดือนข้างหน้านี้ จะทำให้เกมการเมืองดูเสมือนกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

ในทางตรงกันข้าม ความขัดแย้งทางการเมืองกลับมีแนวโน้มที่รุนแรงขึ้นเนื่องจากต่างฝ่ายได้เริ่มโหมใช้สื่อของตนโจมตีกันทางการเมือง ก่อนการเลือกตั้งเพื่อเรียกคะแนนให้ฝ่านตนและทำลายล้างคู่ต่อสู้

แนวโน้มดังกล่าวทำให้บทบาทของสื่อมวลชนถูกจับตามองอีกครั้งหลังจากที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่าเลือกฝักเลือกฝ่ายและมีส่วนกระพือความรุนแรงของเหตุการ์ณ อีกทั้งยังมีเรื่องที่ประชาชนคาดหวังให้สื่อฯทำหน้าที่ในการค้นหาความจริงและความยุติธรรมที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในช่วงที่ผ่านมา ในขณะที่ปัญหาของสื่อฯเองในเรื่อง ความปลอดภัย จริยธรรม การคุกคามสื่อจากภาครัฐและการไม่ลงโทษผู้กระทำผิดก็ยังเป็นประเด็นที่คาราคาซังสื่อฯอยู่

ซีป้าและองค์กรร่วมจัด ถือเป็นโอกาสอันดีที่จะได้มีการทบทวนบทบาทของสื่อฯในรอบหนึ่งปีที่ผ่านมา และถกเถียงในประเด็นเหล่านี้เพื่อให้เห็นแนวทางของสื่อฯในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้และพื่อเป็นการหารือถึงแนวทางในการเตรียมความพร้อมของสื่อฯเพื่อรับมือกับความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

ทั้งยังถือโอกาสใช้เวทีนี้ เรียกร้องให้พรรคการเมืองต่างๆที่ลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งนี้ได้ชูนโยบายเร่งกระบวนการยุติธรรมในกรณีนักข่าวเสียชีวิต และได้รับบาดเจ็บ ให้การรับรองความปลอดภัยแก่ผู้สื่อข่าวที่รายงานข่าวในสถานการณ์ความขัดแย้ง และ ไม่ใช้มาตรากรคุกคามสื่อทุกรูปแบบทั้งในภาวะปกติและภาวะความขัดแย้ง

กำหนดการ เวทีเสวนา เรื่อง ทิศทางสื่อไทยหลังเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง จะไปทางไหน

8.30  น          ลงทะเบียน

9.00  น          เปิดงานโดยคุณกายาทรี เวนกิทสวารัน ผู้อำนวยการบริหาร SEAPA

9.15  น          อภิปราย เรื่องสื่อฯไทยพร้อมหรือไม่ในสถานการณ์ความขัดแย้งใหม่

คุณภัทระ คำพิทักษ์ บรรณาธิการข่าวหนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์

คุณเรด บาทาริโอ ผู้แทนภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของสถาบัน

International News Safety Institute (INSI)

10.00 น         อภิปรายเรื่องจริยธรรมสื่อฯ กับการใช้สื่อเพื่อการสื่อสารทางการเมือง

คุณธาม เชื้อสถาปนศิริ ผู้จัดการฝ่ายวิจัย โครงการมีเดียมอนิเตอร์ Media

Monitor

คุณวรวิทย์ ศรีอนันตรักษา หัวหน้าข่าวหน้า 1 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

คุณจักร์กฤษ เพิ่มพูน  กรรมการ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

10.50 น         พักรับประทานของว่าง

11.05 น         อภิปรายเรื่อง การคุกคามสื่อจากภาครัฐ ซ้ำรอยเดิม หรือเปลี่ยนไป

ผู้แทนสมาคมผู้สื่อข่าววิทยุโทรทัศน์ไทย*

คุณ อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล เครือข่ายพลเมืองเน็ท

ดร.กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ ผู้อำนวยการหลักสูตรดุษฎีบัณฑิตสาขานิเทศศาสตร์

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต

11.50 น       อภิปรายเรื่อง วังวนของการไม่ลงโทษผู้กระทำผิด ผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพสื่อฯ

จากไทยสู่อาเซียน

คุณชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

คุณสุนัย ผาสุข ที่ปรึกษาประจำประเทศไทย องค์กร Human Rights Watch

12.20 น        SEAPA สรุปและกล่าวปิดงาน

12.45 น        จบการอภิปราย และ รัปประทานอาหารกลางวันร่วมกัน

* รอการยืนยัน

หมายเหตุ ผู้ดำเนินการอภิปรายจะแจ้งอีกครั้ง