สรุปสถานการณ์สื่อ ประจำวันที่ 1-29 ก.พ.2563

สรุปสถานการณ์สื่อ ประจำวันที่ 1-29 ก.พ.2563

 

1.เว็ปไซต์ nationweekend.com ได้รายงานถึง เฟซบุ๊ก บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ กำลังดำเนินมาตรการเพื่อต่อสู้กับการกล่าวอ้างหรือการเผยแพร่ข้อมูลผิดๆ เกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา ที่กำลังแพร่กระจายอยู่บนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก และอินสตาแกรม โดยเฟซบุ๊กจะนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเชื้อไวรัสที่ถูกต้องและแม่นยำจากหน่วยงานด้านสุขภาพระหว่างประเทศ อาทิ องค์การอนามัยโลก (WHO) และกลุ่มพันธมิตรบุคคลที่ 3 จากทั่วโลก แก่ผู้ใช้แพลตฟอร์มดังกล่าว ภายหลังที่นายโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ประกาศให้การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาเป็น “ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ” (PHEIC)

2.เว็ปไซต์ yarmfaojor.com รายงานถึงนายเขมทัตต์ พลเดช กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ได้เปิดแคมเปญรณรงค์ให้ความรู้ และรายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับไวรัสโคโรนา ตั้งแต่วันที่ 24 ม.ค.2563 ซึ่งเป็นช่วงเทศกาลตรุษจีน โดย อสมท ร่วมกับ China Media Group หรือ CMG สื่อหลักของรัฐบาลจีน (บริษัทแม่ของ CCTV และ CGTN) จัดการถ่ายทอดสด งานเทศกาลตรุษจีนจากกรุงปักกิ่ง ในระหว่างการถ่ายทอดสดทางการจีนได้มีข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ทาง อสมท จึงได้หารือกับ นายเลี่ยว ลี่ ผู้อำนวยการ CMG ซึ่งเมื่อเสร็จสิ้นการถ่ายทอดสด อสมท จึงได้สั่งการให้ ทุกสื่อในเครือ ดำเนินการดังนี้
1.ประกาศเป็น Trusted Source โดยร่วมกับ CMG ในการส่งข้อมูลและรายงานสดจากจีนมาที่ อสมท เพื่อให้อ้างอิงข้อมูล ข่าว ภาพ ที่ถูกต้องและรวดเร็ว
2.ให้สำนักข่าวไทยจัดทำ รายการ “เกาะติดไวรัสโคโรนา” ทุกวันในข่าวภาคค่ำ และรายการคับข่าวครบประเด็น ตลอดเดือนกุมภาพันธ์ หรือจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย
3.เน้นรายงานตรวจสอบสถานการณ์ จากในประเทศและต่างประเทศ ในข่าวต้นชั่วโมง จำนวน 10 ช่วง/วัน
4.จัดทำข่าวออนไลน์ ผ่าน 2 platforms คือ สำนักข่าวไทยออนไลน์ (Thai News Agency: TNA) และ MCOT Digital ซึ่งทาง CCTV ได้ link ข่าวกลับไปยังรัฐบาลจีนได้รับทราบทุกวัน
5.ให้ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ทe factsheet รายงานความเป็นจริง และสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับไวรัสโคโรนา และการดeเนินงานของภาครัฐ เพื่อป้องกัน Fake News โดยผ่าน Website , LINE @SureAndShare, Facebook และ Twitter ของศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ทุกวัน
6.ประชาสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายวิทยุ อสมท ทั่วประเทศ 62 สถานี และ Facebook ของทุกสถานีวิทยุ
นอกจากนี้ อสมท ได้วางแนวทางป้องกัน Fake News ในการรายงานข่าวและให้ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ไวรัสโคโรนา เพื่อให้ข้อมูลประชาชนอย่างถูกต้องและเที่ยงตรง 1.อสมท ได้รณรงค์ให้ประชาชน ติดตามและตรวจสอบข้อมูลที่แท้จริง จาก สำนักข่าวไทย (Thai News Agency) MCOT Digital ซึ่งเป็น Website ของ อสมท และ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ โดยได้ความร่วมมืออย่างเป็นทางการจาก CMG 2.รายงานข่าวความเคลื่อนไหวของรัฐบาลในการรับมือสถานการณ์ และนำนโยบายของรัฐบาล เร่งสื่อสารให้ประชาชน หันมาติดตามสื่อที่มีข้อมูลอ้างอิงถูกต้อง อสมท ได้เสนอข่าวโดยใช้ข้อมูลอ้างอิงจาก CMG ประมาณวันละ 3-4 ข่าวต่อวัน พร้อมนำประเด็นไปขยายต่อในสื่อวิทยุเครือข่ายของ อสมท และช่องทาง Online รวมทั้ง ทำสรุปเป็น Infographic

3.เว็ปไซต์ thansettakij.com รายงานกรณีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ก่อตั้งศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม หรือ Anti-Fake News Center Thailand โดยเฉพาะจากกรณีข้อมูลไวรัสโคโรนา มีการแชร์โพสต์ทั้งคลิปวิดีโอและรูปภาพทั้งข่าวจริงและข่าวปลอม โดยระหว่าง ระหว่างวันที่ 25-29 มกราคม 2563 พบว่า มีจำนวนข้อความที่แจ้งเข้ามาทั้งสิ้น 7,587 ข้อความ แต่มีจำนวนที่ต้องตรวจสอบยืนยัน (Verify) 160 ข้อความ โดยพบว่ามีข่าวที่เกี่ยวข้องโดยตรง 26 เรื่อง แบ่งเป็น ข่าวปลอม 22 เรื่อง  และข่าวจริง 4 เรื่อง
สำหรับ 22 เรื่องข่าปลอทที่ค้นพบ ประกอบด้วย 1.กรมควบคุมโรค หยุดใช้เครื่องตรวจวัดฯ ไวรัสโคโรน่าฯ, 2.สเปรย์พ่นปาก ฆ่าเชื้อไวรัสโคโรนา, 3. พนักงานการบินไทยติดโรคปอดอักเสบจากไวรัสโคโรนาฯ, 4.กรมควบคุมโรคยกเลิกการคัดกรองผู้โดยสารด้วยเทอร์โมสแกน, 5.คลิปสุดช็อค! ไวรัสโคโรนา ทำคนล้มทั้งยืน, 6.เชื้อไวรัสโคโรนาฯ ติดต่อผ่านการมองตาได้, 7.พัทยาพบผู้ป่วยเสียชีวิตจากไวรัสโคโรนา 1 ราย 8.พบผู้ป่วยชาวจีนติดเชื้อไวรัสโคโรนา รักษาตัวที่จ.พระนครศรีอยุธยา, 9.พบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา เสียชีวิตที่ จ.ภูเก็ต เพิ่ม 1 ราย ,10.ผู้ป่วยติดเชื่อไวรัสโคโรน่า เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล จ. นครราชสีมา, 11.สีจิ้นผิงสั่งใช้กฏหมายสูงสุด วิสามัญโดยเจ้าหน้าที่
12.วิธีป้องกันคือ ต้องรักษาความชุ่มชื้นของเยื่อเมือกลำคอฯ, 13.รัฐบาลจีนปิดบังข้อมูล แท้จริงมีผู้ติดเชื้อ 90,000 ราย, 14. ติดเชื้อไวรัสโคโรนาทำให้เสียชีวิตทุกรายในเวลาอันสั้น, 15.เตือน! เขตคลองเตยให้ใส่แมส รอฟังแถลงข่าวฯ 2 รายในไอซียู, 16.ชื้อ H3N2 ระบาดถึงเชียงใหม่ ‘ไวรัสโคโรนา” ตัวใหม่จากอู่ฮั่น 17.เชื้อไวรัสโคโรนาทำพิษ ชาวจีนล้มตึงกลางกลางสุวรรณภูมิ ,18.แพทย์ชี้นั่งเครื่องพร้อมผู้ป่วยไวรัสโคโรนา มีโอกาสติดเชื้อทั้งลำ, 19.พบผู้ติดเชื้อโคโรนาที่จังหวัดศรีสะเกษ, 20.ล่าสุดกรุงเทพติดเชื้อไวรัสโคโรนา 5 ราย 21. เชื้อไวรัสโคโรนาระบาดหนัก คาดคนตายนับไม่ถ้วน รัฐสั่งทุกสื่อปิดข่าว และ 22.แชร์ว่อน!! ยืนยันสนามบินภูเก็ต ไร้จุดคัดกรอง "ไวรัสโคโรนา

4.เว็ปไซต์ thansettakij.com รายงานกรณีผู้ประกอบการทีวีบางช่องได้ ไลฟ์สดเหตุอุกอาจจ่าสิบเอกยิงกราดที่โคราช ทางสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่ชาติ หรือ กสทช. ได้มีการกำชับในเรื่องนี้แต่ก็ยังมีสถานีบางข่องยังฝ่าฝืนคำส่ง โดยนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช. ได้ทวิตข้อความว่า เรียน "พี่น้องประชาชนทุกท่านสำนักงาน กสทช. ต้องขอแสดงความเสียใจเป็นอย่างยิ่ง กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในจังหวัดนครราชสีมา เหตุการณ์เกิดขึ้นเกิดอย่างฉุกละหุก  สำนักงานจึงได้ออกคำสั่งไปยังสถานีทุกข่องให้การงดการนำเสนอภาพข่าว การรายงานสด ที่จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติการในเหตุการณ์"
"จากการติดตามตรวจสอบของสำนักงาน กสทช พบว่ายังมีบางสถานีที่ไม่ได้ปฎิบัติตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด จึงได้โทรศัพท์แจ้งเตือนโดยตลอด จนทำให้ระดับการรายงานข่าวที่ส่งผลกระทบต่อการปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสำนักงาน กสทช ได้ดำเนินงานอย่างเต็มกำลังเพื่อแก้ไขปัญหาอันเกิดจากสถานการณ์เร่งด่วนดังกล่าว"
"หลังจากนี้ สำนักงานฯ จะรีบบรรจุเรื่องนี้เป็นวาระเร่งด่วนเสนอที่ประชุม กสทช. เพื่อเรียกสถานีทุกช่อง โดยเฉพาะสถานีที่มีการรายงานสด มาให้ข้อมูล พร้อมทั้งพิจารณาหลักฐานประกอบ ก่อนที่ กสทช. จะลงมติดำเนินการกับช่องทีวีเหล่านั้นต่อไป และสำนักงาน กสทช. จะได้เรียกสถานีโทรทัศน์ทุกสถานีมาทำความเข้าใจการนำเนอเนื้อหาที่มีความละเอียดอ่อน ส่งผบกระทบต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอีกครั้ง เพื่อดำเนินการเสนอมาตรการรองรับการออกอากาศรายการในลักษณะดังกล่าว ต่อไปสุดท้ายนี้สำนักงาน กสทช. ขอแสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ในครั้งนี้อย่างยิ่ง"
จากนั้น กสทช.ได้ออกแถลงการณ์ เรียกสถานีทุกช่อง โดยเฉพาะสถานีที่มีการรายงานสดมาให้ข้อมูล พร้อมทั้งพิจารณาหลักฐานประกอบ ก่อนที่ กสทช. จะลงมติดำเนินการกับช่องทีวีเหล่านั้นต่อไป และสำนักงาน กสทช. จะได้เรียกสถานีโทรทัศน์ทุกสถานีมาทำความเข้าใจการนำเสนอเนื้อหาที่มีความละเอียดอ่อน ส่งผบกระทบต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอีกครั้ง เพื่อดำเนินการเสนอมาตรการรองรับการออกอากาศรายการในลักษณะดังกล่าว ต่อไป

5.เว็ปไซต์ yarmfaojor.com ได้รายงานบทความนายกฤษฎา แสงเจริญทรัพย์ อาจารย์ประจำสาขาวิชานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ให้ความเห็นต่อเหตุการณ์กราดยิงที่จังหวัดนครราชสีมา ในฐานะที่เป็นผู้สนใจในด้านการศึกษาสาเหตุในการประกอบอาชญากรรม (อาชญาวิทยา) โดยมองว่าสื่อควรมีบทบาทมากกว่าการรายงานกระตุ้นอารมณ์
ความคิดเห็นของนายกฤษฎา มีเนื้อหาระบุถึงบทบาทของสื่อมวลชนเป็นอีกองค์กรหนึ่งที่สามารถมีบทบาทและหน้าที่ในเรื่องดังกล่าวด้วยเช่นกัน โดยนอกเหนือจากการทำหน้าที่รายงานข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว ยังควรมีการรายงานถึงข้อมูลในเชิงสาเหตุ รากเหง้าต้นตอของปัญหา รวมถึงข้อแนะนำเบื้องต้นให้กับประชาชนในการสังเกต หรือระวังภัย อันจะเป็นประโยชน์แก่สังคม และน่าจะเป็นการดีกว่าการรายงานข่าวในเชิงกระตุ้นเร้าอารมณ์ และความรู้สึกของผู้รับข่าวสาร ที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ แก่สังคม นอกจากจะเป็นการสร้างความตึงเครียด สร้างความเกลียดชัง วิตกกังวล ก่อให้เกิดอารมณ์ทางด้านลบ รวมถึงการผลิตภาพความรุนแรงซ้ำไปซ้ำมาให้แก่ผู้รับข่าวสารในลักษณะของการมุ่งขายข่าวแต่เพียงอย่างเดียว

6.เว็ปไซต์ thaipost.net รายงานความคืบหน้าวันที่ 10 ก.พ. จากกรณีนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) ตรวจสอบการนำเสนอสื่อมวลชนบางรายที่รายงานสดเหตุการณ์ที่คนร้ายกราดยิง รวมถึงการรายงานแผนปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ขณะปฏิบัติการจับกุมคนร้ายที่ จ.นครราชสีมา สำนักงาน กสทช.ตระหนักถึงความเสียหายจากการนำเสนอข้อมูลข่าวสารของสถานีโทรทัศน์ในลักษณะดังกล่าว     เลขาธิการ กสทช. เปิดเผยถึงการศึกษาข้อมูลที่มีการนำเสนอผ่านสื่อต่างๆ และสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูลข่าวสารในลักษณะเดียวกันของสื่อมวลชนในต่างประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา กรณีเหตุการณ์ยิงกราด เหตุการณ์สะเทือนขวัญต่างๆ และหลักการนำเสนอข่าวสารลักษณะนี้ของสื่อมวลชนที่องค์การอนามัยโลกได้เคยให้ไว้ พบว่าหลายประเทศมีการเลิกนำเสนอรูปคนร้ายในสื่อ เลิกการรายงานสดเหตุการณ์ ยกเลิกการนำเสนอคลิปเหตุการณ์สะเทือนขวัญต่างๆ แล้ว
เพราะในต่างประเทศมีผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาและอาชญาวิทยาออกมาเตือนถึงการนำเสนอข้อมูลข่าวสารแบบนี้ ว่าอาจนำไปสู่พฤติกรรมการเลียนแบบ ซึ่งจากผลการศึกษาจำนวนมากพบว่าข้อสันนิษฐาน ข้อสังเกตที่ผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาและอาชญาวิทยาเหล่านั้นออกมาเตือนนั้นเป็นความจริง จึงเห็นด้วยกับแนวทางการนำเสนอข้อมูลข่าวสารเหตุการณ์ยิงกราด เหตุการณ์สะเทือนขวัญต่างๆ ของประเทศสหรัฐอเมริกาและองค์การอนามัยโลกข้างต้น ที่การนำเสนอข่าวสารเหตุการณ์ดังกล่าวไม่ควรมีการนำเสนอภาพคนร้าย รายละเอียด แผนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ เพราะจะทำให้คนร้ายทราบข้อมูลในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ส่งผลกระทบให้เจ้าหน้าปฏิบัติงานได้ยากขึ้น ทำเหตุการณ์เลวร้ายยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ    นอกจากนั้นยังไม่ควรลงชื่อคนร้ายในสื่อ หรือลงให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นเท่านั้น อย่าให้พื้นที่สื่อกับคนร้าย อย่าขุดคุ้ยเรื่องราวของคนร้ายมานำเสนอให้คนสนใจตื่นเต้นจนเกินเหตุ เพื่อให้ขายข่าวได้ และอย่าลงการแถลงคำพูด คำสารภาพผิดของคนร้าย ต้องไม่ให้ความสำคัญกับคนร้ายจนคนร้ายกลายเป็นฮีโร่ ซึ่งจะนำแนวทางดังกล่าวเสนอที่ประชุม กสทช.เพื่อพิจารณาใช้เป็นแนวทางในการทำข่าวลักษณะนี้ต่อไป

7.เว็ปไซต์ nationweekend.com รายงานถึงบทสัมภาษณ์ของที่ประชุมคณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ หยิบยกประเด็นปัญหาด้วยจริยธรรมของสื่อมวลชนกรณีการนำเสนอข่าวเหตุกราดยิงที่โคราชมาพิจารณา มีมติพร้อมให้ความร่วมมือกับทุกองค์กรที่เกี่ยวข้องในการทบทวนและถอดบทเรียนจากเหตุการณ์นี้ โดยการประชุมคณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมัยที่ 9 ครั้งที่ 2/ 2563 เมื่อวันที่ 11 ก.พ.2563 ที่ประชุมฯ ได้หยิบยกปัญหากรณีที่มีการวิพากษ์วิจารณ์การทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในช่วงเหตุการณ์ที่คนร้ายก่อเหตุฆ่าผู้บังคับบัญชาแล้วปล้นปืนในค่ายทหารออกมาสังหารประชาชนและเจ้าหน้าที่เสียชีวิตเกือบ 30 คน ในช่วงวันที่ 8-9 ก.พ.ที่ผ่านมา
โดยที่ประชุมเห็นว่า สื่อมวลชนส่วนใหญ่สามารถทำหน้าที่นำเสนอข้อมูลข่าวสารได้อย่างครบถ้วนรอบด้าน แต่ก็มีสื่อมวลชนบางส่วนที่นำเสนอข่าวหมิ่นเหม่ต่อกฎหมายและแนวปฏิบัติทางด้านจริยธรรมที่สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ร่วมกับองค์กรวิชาชีพต่างๆ ที่ร่วมกันจัดทำไว้ อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อเสนอเชิงจริยธรรมอีกบางประการที่เป็นเรื่องใหม่ที่จะต้องมีการพิจารณาทบทวนและถอดบทเรียนร่วมกันระหว่างองค์กรสื่อมวลชนและองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับทุกองค์กรต่อไป

8.เว็ปไซต์ nationweekend.com เผยแพร่บทสัมภาษณ์ของนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) จากการหารือกับผู้บริหารทวิตเตอร์ (Twitter) ประจำสิงคโปร์ ถึงความร่วมมือระหว่างกันใน 2 ประเด็น 1.ประเด็นข่าวการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า ซึ่งมีข่าวปลอม (Fake News) เผยแพร่ทางสื่อโซเชียลมีเดียเป็นจำนวนมาก โดยจากการหารือ พบว่า ทวิตเตอร์มีแนวปฏิบัติในการให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ประชาชน ผ่านการพัฒนาฟังก์ชั่นใหม่อย่าง #knowthefact เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนที่เข้ามาค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับ #ไวรัสโคโรน่า 
สำหรับประเทศไทย ทวิตเตอร์ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทยในการเป็นแหล่งข้อมูล และประชาสัมพันธ์ช่องทางการติดต่อสายด่วนของกรมควบคุมโรค โดยจะขึ้นเป็นลำดับแรกในการค้นหา #ไวรัสโคโรน่า ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือ และป้องกันการตื่นตระหนกจากข่าวปลอม ประเด็นที่ 2 ด้านเนื้อหาความรุนแรงและข่าวปลอมจากโศกนาฏกรรม ณ จังหวัดนครราชสีมา จากการหารือ ทวิตเตอร์ได้ให้ข้อมูลว่าบริษัทฯ มีนโยบายและกระบวนการในการต่อต้านกลุ่มคนที่มีแนวคิดรุนแรงแบบสุดขั้ว (Violent Extremism) และการชูความรุนแรง (Glorification of Violence) ซึ่งจะขัดต่อกฎของทางบริษัทฯ 
ส่วนการดำเนินการร่วมกันกับกระทรวงดิจิทัลฯ ทางทวิตเตอร์แจ้งว่า ทวิตเตอร์มีช่องทางการรายงานและช่องทางการติดต่อกรณีฉุกเฉินสำหรับรัฐบาลและสำหรับหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมาย ในการรายงานและให้ความร่วมมือ รวมถึงในช่วงระยะเวลาวิกฤติ นอกจากนี้ ทวิตเตอร์ได้เสนอความร่วมมือในการทำงานร่วมกันในอนาคต โดยยินดีที่จะเข้ามาอบรมผู้เชี่ยวชาญจากไทยให้สามารถใช้งานและประสานงานกับทวิตเตอร์ได้อย่างใกล้ชิด

9.เว็ปไซต์ presscouncil.or.th รายงานการประชุมตัวแทน 6 องค์กรวิชาชีพสื่อ เมื่อวันที่ 13 ก.พ. ประกอบด้วย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ และสหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย ประชุมร่วมกับ ดร.ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
โดยที่ประชุมมีความเห็นและข้อเสนอแนะร่วมกันว่า ทั้งสองฝ่าย คือ กสทช. และ องค์กรวิชาชีพสื่อ  “จะส่งเสริมยกระดับแนวทางการกำกับดูแลร่วม เพื่อแก้ปัญหาช่องว่างในการกำกับดูแลสื่อในภาวะวิกฤติฉุกเฉิน โดยจะมีการวางกรอบแนวทางการปฏิบัติของสื่อมวลชน และในระหว่างที่กรอบแนวทางการปฏิบัติยังไม่แล้วเสร็จ จะวิธีการสื่อสารประสานงานร่วมกันระหว่าง กสทช. และ องค์กรวิชาชีพสื่อในกรณีที่การทำหน้าที่ของสื่อมวลชนเกินกว่าการควบคุมส่งเสริมด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณ ก็ต้องเป็นบทบาทหน้าที่ของ กสทช.ในการดำเนินการตามระเบียบข้อบังคับประกาศต่างๆ ของ กสทช. จากเบาไปหาหนัก”

ทั้งนี้ นายพีระวัฒน์ โชติธรรมโม นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ในฐานะตัวแทน 6 องค์กรวิชาชีพสื่อ ได้เปิดเผยผลการประชุมหารือร่วมกันว่า จะมีการการกำกับดูแลร่วมกัน ระหว่าง องค์กรวิชาชีพสื่อ และ กสทช. โดยทั้ง 6 องค์กรวิชาชีพสื่อ จะทำงานร่วมกันในเชิงมาตรฐานด้านจริยธรรมการกำกับดูแลกันเอง ในสถานการณ์วิกฤติฉุกเฉินและสื่อเข้าไปทำหน้าที่ในการนำเสนอข่าวต่อไป องค์กรวิชาชีพสื่อจะต้องมีการสื่อสารด้วยกันเพื่อประเมินสถานการณ์ร่วมกันถึงบทบาทหน้าที่การทำข่าวและการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน


10.เว็ปไซต์ bangkokbiznews.com ได้รายงานถึงสมาคมนักข่าวเศรษฐกิจ ประกาศผลประกวดรางวัลบทความ "ป๋วย อึ๊งภากรณ์" ประจำปี 2562 นักข่าว "กรุงเทพธุรกิจ" คว้ารางวัลที่ 1 หัวข้อ "ถึงเวลาปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทย สร้างโอกาสใหม่ในการพัฒนาประเทศ" ตามที่สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ ได้จัดโครงการประกวด “บทความข่าวเชิงวิเคราะห์” ประจำปี 2562 ซึ่งเป็นการจัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 13 เพื่อพัฒนาทักษะในการนำเสนอข่าวด้านเศรษฐกิจ เพื่อคนในสังคมส่วนใหญ่จะได้หันมาให้ความสนใจกับข่าวเศรษฐกิจมากขึ้น
สมาคมฯ ได้จัดพิธีมอบรางวัลในงานประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2562/2563 วันพุธที่ 26 ก.พ. 2563 โดยมีรายชื่อสมาชิกที่ได้รับรางวัลดังต่อไปนี้ ผลการประกวดบทความ ปี 2562
“รางวัลบทความป๋วย อึ๊งภากรณ์” ประเภทสื่อสิ่งพิมพ์รางวัลที่ 1  ได้แก่ เรื่อง ถึงเวลาปรับ “โครงสร้างเศรษฐกิจไทย”สร้างโอกาสใหม่ในการพัฒนาประเทศ” โดย นายนครินทร์ ศรีเลิศ  หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ เงินรางวัล  20,000 บาท พร้อมโล่เกียรติคุณ รางวัลที่ 2  ได้แก่ เรื่อง “ครัวเรือนไทยไม่พอเพียง เสี่ยงเศรษฐกิจสังคมพังระยะยาว” โดย นางสาวอนัญญา มูลเพ็ญ เว็บไซต์เดอะเปเปอร์ไทยแลนด์ เงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมโล่เกียรติคุณ และรางวัลที่ 2 ได้แก่ เรื่อง “บำนาญไทยรั้งท้าย สูงวัยจะอยู่รอดได้อย่างไร” โดย ทีม wealthplustoday เงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมโล่เกียรติคุณ

ประเภทสื่อโทรทัศน์ รางวัลที่ 1  ได้แก่ เรื่อง  “แจกสะบัด เงิน (ไม่) สะพัด” โดย ทีมข่าวเศรษฐกิจ สถานีโทรทัศโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เงินรางวัล 20,000 บาท พร้อมโล่เกียรติคุณ รางวัลชมเชย  ได้แก่ เรื่อง มุมมอง “สังคมผู้สูงอายุ” กับผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคม โดย นางสาวมาสิรี  กล่อมแก้ว สถานีโทรทัศน์ PPTV HD36 เงินรางวัล  5,000 บาท พร้อมโล่เกียรติคุณ ประเภทสื่อวิทยุ รางวัลชมเชย ได้แก่ เรื่อง “ ปีแห่งการรณรงค์ถุงพลาสติกและพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง ” โดย นางสาวปิยาพรรณ ยังเทียน กรมประชาสัมพันธ์ เงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมโล่เกียรติคุณ


11.เว็ปไซต์ bangkokbiznews.com รายงานถึงความเคลื่อนไหวในอุตสาหกรรมโฆษณาติดลบ 1% เม็ดเงินรวมกว่า 8,500 ล้านบาท สื่อดั้งเดิมยังเผชิญวิบากกรรม หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุ หดตัวตัวต่อเนื่อง สื่ออินเตอร์เน็ตลดความร้อนแรง อสังหาฯ อาหารและเครื่องดื่ม โทรคมนาคมฯ ใช้จ่ายเงินลดลง โดยบริษัทนีลเส็น (ประเทศไทย) เผยงบโฆษณาเดือนม.ค.2563 ประเดิมหดตัวลง 1 % เม็ดเงินสะพัด 8,562 ล้านบาท
เมื่อแบ่งตามหมวดหมู่สื่อ ทีวี มีเม็ดเงิน 4,693 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.26% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทีวีดาวเทียม/เคเบิลทีวี 164 ล้านบาท เพิ่ม 0.61% สื่อโฆษณาในโรงภาพยนตร์ 519 ล้านบาท เพิ่ม 3.59% สื่อนอกบ้าน 527 ล้านบาท เพิ่ม 1.35% สื่อเคลื่อนที่ ไม่มีการเติบโต(0.00%) สื่ออินเทอร์เน็ต 1,503 ล้านบาท ทรงตัวเท่ากับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนสื่อที่ยังหดตัวต่อเนื่อง ได้แก่ วิทยุ 314 ล้านบาท ลดลง 2.48%, หนังสือพิมพ์ 267 ล้านบาท ลดลง 27%, นิตยสาร 53 ล้านบาท ลดลง 29.33% และสื่อในห้างเม็ดเงิน 51 ล้านบาท ลดลง 12.07%


12.เว็ปไซต์ matichon.co.th ได้รายงานว่า เมื่อวันที่ 19 ก.พ.เพจ “Positioning Magazine Online” ได้โพสต์เฟซบุ๊ก เรื่อง ช่อง 3 จะเปิดโครงการลาออกด้วยความสมัครใจอีกรอบ โดยมีรายละเอียด UPDATE : ช่อง 3 เปิดโครงการสมัครใจลาออก เตรียมลดขนาดองค์กรอีกรอบ
BEC World หรือ ช่อง 3 ยังคงเจอความท้าทายในอุตสาหกรรมทีวีดิจิทัล หลังจากที่ “อริยะ พนมยงค์” เข้ากุมบังเหียนเมื่อปีที่แล้ว ได้ปรับโครงสร้าง ปรับลดพนักงานไปแล้ว ล่าสุดช่อง 3 เตรียมลดขนาดองค์กรอีกครั้ง ปรับลดจำนวนพนักงานเพื่อความคล่องตัว โดยที่ได้เปิดโครงการ “สมัครใจลาออก” จะเริ่มในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์เพื่อให้พนักงานที่สนใจได้แสดงความจำนงค์ ซึ่งโครงการนี้ได้จะขึ้นอยู่กับความสมัครใจของพนักงาน
อริยะ พนมยงค์ กรรมการผู้อำนวยการ บมจ.บีอีซี เวิลด์ ได้ชี้แจงกับพนักงานถึงกลยุทธ์ และแนวทางการทำธุรกิจของบริษัทในปี 2020 แล้ว เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ชมในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งกลยุทธ์ของช่อง 3 จะครอบคลุมด้านคอนเทนต์ ที่จะมีการปรับปรุงให้เหมาะสมกับผู้ชม โดยเฉพาะการปรับคอนเทนต์ในช่วงไพรม์ไทม์ที่เริ่มชิงคนดูตั้งแต่เวลา18:00 จนถึง 22:30น. กลยุทธ์ต่อมาคือการเปิดตัว CH3+ (ออนไลน์แพลตฟอร์มโฉมใหม่ แทนที่ Mellow) นอกจากนี้ยังมีกลยุทธ์ D2C หรือ Direct to Consumers และรวมถึงกลยุทธ์การขายคอนเทนต์ของช่อง 3 ไปยังต่างประเทศ
ซึ่งการทำกลยุทธ์ทั้งหมดนี้ทำให้ช่อง 3 ต้องมีการปรับการทำงานขององค์กรให้มีความคล่องตัว ลดการทับซ้อนในการทำงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ บริษัทจึงมีความจำเป็นที่จะต้องลดขนาดขององค์กรลง ดังนั้นบริษัทจึงได้แจ้งต่อพนักงานถึงโครงการสมัครใจลาออก การลดขนาดขององค์กรในครั้งนี้จะทำให้บริษัทสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างคล่องตัว กลับมาทำกำไร และเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป


12.เว็ปไซต์ bangkokbiznews.com ยังรายงานผลประกอบการ บมจ.บีอีซี เวิลด์ ในปี 2562 มีรายได้รวม 8.31 พันล้านบาท ลดลง 17.9% จากปีก่อนที่ทำได้ 1.01 หมื่นล้านบาท โดยการลดลงเป็นผลจากรายได้จากการขายเวลาโฆษณาที่ทำได้ 6.74 พันล้านบาท ลดลง 22% ขณะที่รายได้จากการให้ใช้ลิขสิทธิ์และบริการอื่น ทำได้ 953.3 ล้านบาท ลดลง 8.4% เช่นเดียวกับรายได้จากการขายสินค้าซึ่งทำได้ 56.4 ล้านบาท ลดลง 23.3% ส่วนรายได้จากการจัดแสดงคอนเสิร์ตและแสดงโชว์ ทำได้ 557 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 51.1%
ทั้งนี้ บริษัทมีผลขาดทุนสุทธิในส่วนที่เป็นของ BEC จำนวน 397.2 ล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ขาดทุน 330.2 ล้านบาท ขณะเดียวกันบริษัทมีกระแสเงินสดสุทธิจากการดำเนินงาน 2.44 พันล้านบาท สำหรับปี 2563 บริษัทตั้งเป้ากระจายความเสี่ยงและหารายได้จากแหล่งใหม่ๆ เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของภาวะอุตสาหกรรมที่เป็นไปอย่างรวดเร็วเพื่อให้กลุ่ม BEC สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน โดยเราได้ตั้งเป้าปรับโครงสร้างรายได้ของบริษัทภายในปี 2566 โดยเพิ่มรายได้โฆษณาที่ไม่ใช่ทีวีสปอตเป็น 35% จากปัจจุบันที่ต่ำกว่า 20% ผ่านสื่อใหม่และธุรกิจใหม่


13.เว็ปไซต์ thaipost.net รายงานผลสำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “เงาสะท้อนสื่อไทย” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 19 – 20 ก.พ.2563 ถึงจริยธรรม/จรรยาบรรณต่อการทำข่าว/รายงานข่าว ของสื่อมวลชนไทยในปัจจุบัน พบว่า ร้อยละ 11.91 ระบุว่า มีจริยธรรม/จรรยาบรรณมาก ร้อยละ 47.18 ระบุว่า ค่อนข้างมีจริยธรรม/จรรยาบรรณ ร้อยละ 33.60 ระบุว่า ไม่ค่อยมีจริยธรรม/จรรยาบรรณ  ร้อยละ 6.36 ระบุว่า ไม่มีจริยธรรม/จรรยาบรรณเลย และร้อยละ 0.95 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ด้านการทำข่าว/รายงานข่าว ของสื่อมวลชนไทยในปัจจุบัน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 28.12 ระบุว่า ทำข่าว/รายงานข่าว  เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจขององค์กรตนเอง ร้อยละ 24.23 ระบุว่า ทำข่าว/รายงานข่าว อย่างเป็นกลาง ร้อยละ 21.13 ระบุว่า ทำข่าว/รายงานข่าว แบบเลือกข้าง ร้อยละ 19.86 ระบุว่า ทำข่าว/รายงานข่าว จากข้อมูลที่ยังไม่มีการตรวจสอบความจริง ร้อยละ 12.07 ระบุว่า ทำข่าว/รายงานข่าว จากข้อมูลจริงที่น่าเชื่อถือ ร้อยละ 11.28 ระบุว่า ทำข่าว/รายงานข่าว เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน
เมื่อถามถึงประสิทธิภาพของสมาคม/องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนต่อการควบคุมจรรยาบรรณวิชาชีพสื่อมวลชนไทยในการทำข่าว/รายงานข่าว พบว่า ร้อยละ 13.03 ระบุว่า มีประสิทธิภาพมาก ร้อยละ 42.02 ระบุว่า ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 32.64 ระบุว่า ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 9.61 ระบุว่า ไม่มีประสิทธิภาพเลย และร้อยละ 2.70 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ   
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความจำเป็นเร่งด่วนต่อการปฏิรูปสื่อมวลชนไทย พบว่า ร้อยละ 50.20 ระบุว่า เป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนอย่างมาก ร้อยละ 30.82 ระบุว่า ค่อนข้างเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วน ร้อยละ 12.23 ระบุว่า ไม่ค่อยเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วน ร้อยละ 4.92 ระบุว่า ไม่เป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนเลย และร้อยละ 1.83 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ


14.เว็ปไซต์ prachachat.net รายงานบทสัมภาษณ์  พล.ท. ดร.พีระพงษ์ มานะกิจ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จากผลประชุม กสทช.เมื่อวันที่ 26 ก.พ. ได้พิจารณาข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการออกอากาศเหตุการณ์ที่ จ. นครราชสีมา ในรายการข่าวทางช่องรายการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลจำนวน 3 ช่อง ที่อาจมีเนื้อหาไม่เหมาะสม ได้แก่ ช่อง One (ช่อง 31) ช่องไทยรัฐทีวี (ช่อง 32) และช่องอมรินทร์ ทีวี เอชดี (ช่อง 34)

ที่ประชุม กสทช.มีมติเห็นชอบตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการกลั่นกรองงานของ กสทช. ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ที่เห็นชอบให้มีคำสั่งปรับทางปกครองแก่บริษัท วัน สามสิบเอ็ด จำกัด ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ช่อง One (ช่อง 31) เป็นเงิน 250,000 บาท บริษัท ทริปเปิล วี บรอดคาสท์ จำกัด ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ช่องไทยรัฐทีวี (ช่อง 32) เป็นเงิน 500,000 บาท และบริษัท อมรินทร์ เทเลวิชั่น จำกัด ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ช่องอมรินทร์ ทีวี เอชดี (ช่อง 34) เป็นเงิน 500,000 บาท

โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 59 (3) ประกอบมาตรา 57 (2) แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและไกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 เนื่องจากการออกอากาศเนื้อหาเกาะติดสถานการณ์ และถ่ายทอดสดเหตุการณ์ที่ จ.นครราชสีมา เข้าข่ายเป็นเนื้อหาสาระที่มีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อการให้เกิดความเสื่อมทรามทางจิตใจอย่างร้ายแรง อันเป็นการต้องห้ามตามมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ. ฉบับเดียวกัน