เล่าเบื้องหลังข่าว โควิดระบาด “คลัสเตอร์คลองเตย”

กรณีการระบาดโควิด-19  คลัสเตอร์คลองเตย ส่งผลให้มีการสั่งตรวจเชิงรุก อย่างน้อย 2 หมื่นคน พร้อมระดมฉีดวัคซีนกลุ่มเสี่ยงอย่างน้อย 5หมื่นคนภายใน 2 สัปดาห์ และกำชับให้ทุกเขตในกทม. ใช้โมเดลเชิงรุกคลองเตย เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด

“....จุดเริ่มต้นของปัญหาที่เกิด คือเจ้าหน้าที่ไม่ให้ความสำคัญเท่าที่ควร อย่างเช่นกรณีคลัชเตอร์คลองเคย ก่อนหน้านี้ทีมข่าวเวิร์คพ้อยท์และช่อง3 ได้ลงพื้นที่และเห็นเบาะแสจากความแออัดในพื้นที่ทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 จึงพยายามกระทุ้งถามไปยังเจ้าหน้าที่กทม. ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนเมษายน  แต่กทม. ทิ้งเวลาผ่านไปนานเกือบ1 สัปดาห์ ถึงจะลงตรวจสอบ  ซึ่งแน่นอนว่าเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อที่รวดเร็วแล้ว  ปัญหาของการแพร่ระบาดครั้งนี้คือความล่าช้าในการแก้ปัญหา...”

ความคิดเห็นบางช่วงบางตอนของ สมศักดิ์ ศรีชุ่ม ผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์เวิร์คพอยท์ ซึ่งเกาะติดสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในพื้นที่ชุมชนคลองเตย โดยยอมรับว่าก่อนหน้าที่จะมีการแพร่ระบาดจนเป็นที่มาของคลัสเตอร์คลองเตย  ทีมข่าวเวิร์คพ้อยท์และทีมข่าวช่อง3 ได้ลงพื้นที่และพบเห็นแบะแสจากความแออัด  ทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 จึงพยายามกระทุ้งถามไปยังเจ้าหน้าที่กทม. ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนเมษายน  แต่กทม.กลับทิ้งเวลาผ่านไปนานเกือบ1 สัปดาห์ ถึงจะลงตรวจสอบ  ซึ่งแน่นอนว่าเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อที่รวดเร็วเกินจะควบคุมแล้ว 

นอกจากนี้ยังได้คุยกับทีมเจ้าหน้าที่มูลนิธิดวงประทีป  พบว่ามีการประสานงานไม่ดีเท่าที่ควร  เพราะทางมูลนิธิฯ ทำการสำรวจข้อมูลประชากรในชุมชนคลองเตยไว้หมดแล้ว แต่ทางกทม.เลือกที่จะใช้ข้อมูลของผู้นำชุมชน ซึ่งทำให้ได้รับข้อมูลที่ไม่ตรงกัน   มีปัญหาเรื่องการประสานงานและความล่าช้า  สอบถามไปยังชาวบ้านก็บอกว่ายังไม่มีเจ้าหน้าที่มาดูแล มีเพียงการปิดตลาดคลองเตย2ครั้งเพื่อทำความสะอาด  ขณะที่แนวทางปฏิบัติเพิ่งจะมาเริ่มจังจังเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา  โดยกทม.ได้ให้ผู้นำชุมชนออกสำรวจ เพื่อนำข้อมูลมาให้เจ้าหน้าที่กทม.คัดกรอง  พบว่าในชุมชนคลองเตยมีประชากรเยอะกว่าแสนคน มีทั้งคนไทยและแรงงานต่างด้าว  การอาศัยอยู่ในครอบครัวเฉลี่ยครอบครัวละ 7-8 คน

สำหรับการแก้ปัญหาแพร่ระบาดองโควิด-19 ในชุมชนคลองเตย กทม.ได้เร่งฉีดวัคซีนสำหรับกลุ่มเสี่ยงในช่วงวันที่ 4-6 พ.ค. ที่ผ่านมา แล้วทั้งหมดกว่า3พันคน  แม้ว่าจะมีการฉีดไปแล้วแต่ก็อยากให้มีการเฝ้าระวังต่อเนื่อง

ในส่วนของการลงพื้นที่ทำข่าวของทีมข่าวภาคสนาม ทุกทีมต่างมีความกังวลเรื่องความปลอดภัย  แต่ก็ต้องลงพื้นที่เพื่อติดตามความจริง  ซึ่งผู้บริหารของสถานีฯ  ค่อนข้างเห็นความสำคัญเรื่องความปลอดภัยของผู้สื่อข่าวภาคสนาม จึงมีการจัดเตรียมชุดป้องกันในเบื้องต้นคล้ายชุดPPE  มีการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์การทำงานเช่นเพิ่มเพื่อป้องกันความเสี่ยงของทีมข่าวภาคสนาม  

ติดตามรายการ #ช่วยกันคิดทิศทางข่าว ได้ทุกวันอาทิตย์  เวลา 11.00-12.00 น. ทางวิทยุและ Facebook live FM 100.5  MCOT News Network และ Facebook สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

#ช่วยกันคิดทิศทางข่าว #โควิด-19

#สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

#สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ #Thaijournalistsassociation