ราชดำเนินเสวนา ครั้งที่ ๗ / ๒๕๕๔ “นโยบายด้านสุขภาพ : ข้อเสนอต่อพรรคการเมือง?”

ราชดำเนินเสวนา ครั้งที่ ๗ / ๒๕๕๔

“ นโยบายด้านสุขภาพ : ข้อเสนอต่อพรรคการเมือง ? ”

วันจันทร์ที่ ๖ มิถุนายน  ๒๕๕๔  เวลา  ๑๑.oo – ๑๓.oo  น.

ณ ห้องประชุมอิศรา อมันตกุล ชั้น ๓  สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

ถนนสามเสน (ตรงข้าม รพ. วชิระ) กรุงเทพฯ

 

วิทยากร

นายจุรินทร์   ลักษณวิศิษฏ์   

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พรรคประชาธิปัตย์

นายวิชาญ มีนชัยนันท์

อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พรรคเพื่อไทย

วันที่ 6 มิถุนายน สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย จัดราชดำเนินเสวนาครั้งที่ 7/2554 เรื่อง “นโยบาย ด้านสุขภาพ: ข้อเสนอต่อพรรคการเมือง?” ณ ห้องประชุมอิศรา ชั้น 3 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ โดยมีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พรรคประชาธิปัตย์ และนายวิชาญ มีนชัยนันท์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวง สาธารณสุข พรรคเพื่อไทย


นายจุรินทร์ กล่าวว่า ในส่วนของนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ เรื่องสาธารณสุข มุ่งเน้นในเรื่องของการป้องกันมากกว่าการรักษา เพื่อลดการเจ็บป่วย ภาระค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นงบประมาณของประเทศ โดยมาตรการป้องกันที่เป็นรูปธรรม เช่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การดำรงชีวิต และการบริโภคของประชาชน เนื่องจากพบว่า คนไทยป่วยเป็น 5 โรค ได้แก่ เบาหวาน ความดัน อัมพฤกษ์อัมพาต หัวใจและมะเร็ง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายปีละกว่าแสนล้านบาทในการรักษา

สำหรับสาเหตุ พบว่า คนไทยป่วยด้วย 5 โรคดังกล่าวมากที่สุด เพราะพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการดำรงชีวิต ฉะนั้น จึงจะต้องมีนโยบาย เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ลดอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม เพิ่มการบริโภคผักผลไม้ การออกกำลังกาย งดเหล้า บุหรี่

นอกจากนี้ใน เรื่องนโยบายป้องกัน พบว่า ในช่วงหายปีที่ผ่านมา เราสูญเสียศักยภาพในการผลิตวัคซีน ในอดีตเราผลิตวัคซีนได้จำนวนมาก แต่ในปัจจุบันเหลือศักยภาพในการผลิตเพียงแค่ 2 ตัวคือ วัคซีนวัณโรค กับไข้สมองอักเสบเจอี

ซึ่งหากพรรค ประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาล เรามีนโยบายที่จะยืนอยู่บนขาตนเองด้าน วัคซีน กล่าวคือ ภายใน 10 ปี จะผลิตวัคซีนให้ได้อย่างน้อย 7 ตัว รวมกับที่ทำได้แล้ว 2 ตัว เท่ากับเป็น 9 ตัว ซึ่งเรื่องดังกล่าวได้มีการเตรียม การไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้วว่า จะใช้งบประมาณ 5,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นงบจากรัฐบาล 4,000 ล้านบาท เอกชนจ่ายอีก 1,000 ล้านบาท ซึ่งมีแผนงานชัดเจนว่า ภายใน 2 ปี จะผลิตวัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ภายใน 4 ปีจะผลิตวัคซีนตับอักเสบบี วัคซีนวัณโรคบีซีจี รวมทั้งขยายการผลิตวัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี ซึ่งเป็นเซลล์เพาะเลี้ยง ภายใน 10 ปี จะผลิตวัคซีนไข้เลือดออกเชื้อเป็น ไข้สมองอักเสบเจอีเชื้อเป็นให้ได้ กล่าวโดยสรุปก็คือ จะยืนบนขาตนเองให้ได้ 9 ตัวภาย ใน 10 ปี

ส่วนนโยบาย เรื่องการรักษาพยาบาล นายจุรินทร์ กล่าวว่า นโยบายที่สำคัญที่สุดคือ นโยบายบัตรประชาชนใบเดียว รักษาฟรี อย่างมีคุณภาพ ซึ่งมีนัยยะสำคัญ 3 ประเด็นคือ 1.บัตรประชาชนใบเดียว 2.รักษาฟรี 3.อย่างมีคุณภาพ

“บัตรประชาชนใบเดียวคือ ไม่ต้องมีบัตรทองคู่กับบัตรประชาชน หรือบัตรอื่นๆ อีกต่อไป ทั้งนี้ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการทำบัตรทองและ บัตรอื่นๆ ขณะที่การรักษาฟรี เป็นการต่อยอดนโยบายเดิมของพรรคประชาธิ ปัตย์ ตั้งแต่สมัยนายชวน หลีกภัย เป็นรัฐมนตรีสาธารณสุข ซึ่งยุคนั้นมีการรักษาฟรีคนจน คนแก่ เด็ก ผู้นำชุมชน พอมาถึงยุคนี้ประชาชน 48 ล้านคน ที่ไม่ได้อยู่ในระบบสวัสดิการข้าราชการและประกันสังคม จะสามารถรักษาฟรีในทุกโรคได้จริงๆ ซึ่งในอนาคตอาจถึงขั้นผ่าตัดเปลี่ยน ตับ หัวใจฟรีได้”

ส่วน รักษาอย่างมีคุณภาพ ต้องไม่ใช่ลักษณะที่ว่า รักษาฟรีแล้วจะมีสภาพอนาถา แต่การรักษาที่มีคุณภาพ 1.ยาต้องอยู่ในบัญชียาหลัก 2.ทุกโรง พยาบาล ต้องยึดถือการให้บริการแบบ 3 ดี นั่นคือ บรรยากาศดี บริการดี บริหารจัดการดี 3.โรงพยาบาลทุกระ ดับ ตั้งแต่โรงพยาบาลระดับชุมชน จะต้องผ่านมาตรฐาน HA สุดท้ายค่าใช้จ่ายรายหัวจะเพิ่มขึ้นใน ระดับที่เหมาะสม

ในอดีตค่าใช้ จ่ายรายหัวตกอยู่ที่รายละ 1,300-1,400 บาท แต่ปีที่แล้ว เมื่อประชาธิปัตย์เข้ามาได้เพิ่มค่าใช้จ่ายเป็น 2,546 บาทต่อหัว ซึ่งต่อไปจะเพิ่มเป็น 2,900 บาท เพิ่มกว่าอดีตถึงหนึ่งเท่าตัว ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มคุณภาพด้านการรักษาพยาบาล

ถัดมา นโยบายในเรื่องสถานพยาบาล นายจุรินทร์ กล่าวว่า 1.จะยกระดับ สถานีอนามัย เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ทั้งหมด ซึ่งในช่วงปีเศษที่เข้ามาดำรงตำแหน่ง ได้เดินหน้ายกระดับเป็นที่เรียบร้อย แล้ว แต่ขั้นต่อไปหากประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลจะเดินหน้าเรื่องคุณภาพ ของ รพ.สต. เพื่อให้เป็นหน่วยงานที่เข้าถึงชุมชน หมู่บ้าน ตำบลในการให้บริการด้านสุขภาพอย่างใกล้ชิดที่สุด ! 2.ในเรื่องสถาน พยาบาล เรามีอำเภอที่เกิดใหม่จำนวน 53 อำเภอ ทั่วประเทศที่ยังไม่มีโรงพยาบาลชุมชน ซึ่งจะดำเนินการจัดสร้างโรง พยาบาลชุมชนให้ครบ 3.ในพื้นที่ชายขอบ พื้นที่ห่างไกล รพ.สต. เข้าไม่ถึง ได้มีนโยบายจั! ดตั้งศูนย์สาธารณสุขชุมชน ซึ่งจากการสำรวจพบว่ามีด้วยกันประมาณ 195 จุดที่จะต้อง จัดสร้างขึ้น สิ่งเหล่านี้เป็นนโยบายที่ต้องทำต่อไปในเรื่อง เกี่ยวกับสถานพยาบาล

ขณะที่ในเป็น เรื่องของประกันสังคม นายจุรินทร์ กล่าวว่า 1.นโยบายของพรรค ประชาธิปัตย์ จะมีนโยบายเฉพาะเรื่องการรักษาพยาบาลให้สามารถใช้บัตรประชาชน ใบเดียว เข้ารักษาในสังกัดใดก็ได้ 2.จะมีการขยายสิทธิไปยังบุตร คู่สมรสของผู้! ประกันตนว่า จะใช้สิทธิตามประกันสังคมหรือรักษาฟรีก็ได้ 3.ประกันสังคม จะต้องขยายครอบคลุมแรงงานนอกระบบ เช่น คนขับแท็กซี่ หาบเร่แผงลอย เกษตร หรืออื่นๆ โดยจะให้สามารถที่จะได้รับสิทธิในประกันสังคมตามราย ละเอียดที่กำหนด เช่น ชดเชยการเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต รวมทั้งจะไปไกลถึงขั้น เปิดโอกาสให้แรงงานนอกระบบ สามารถที่จะเข้ารวมกองทุนบำนาญ บำเหน็จประชาชน

เช่น สมมุติว่า ผู้ประกันตนที่เป็นแรงงานนอกระบบ ต้องการจ่ายเงินก่อนหนึ่ง x บาทรัฐบาล จะจ่ายให้ y บาท เมื่ออายุครบ 60 ปีก็จะได้เงิน X+Y+ดอกเบี้ย รัฐบาลไม่เอาเงินสมทบคืน สิ่งเหล่านี้เป็นแนวทางของพรรคประชาธิปัตย์

สำหรับอาสา สมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) มีนโยบายที่จะเดินหน้าเบี้ย อสม ต่อไป ขณะนี้ยืนอยู่ที่ 600 บาท ในอนาคตต้องพิจารณาไปตามความเหมาะสม ตามศักยภาพและภาวะของงบประมาณแผ่นดินต่อไป ส่วนสิทธิประโยชน์อื่นที่จะให้กับ อสม. เช่น อสม.ทุกคนสามารถใช้สิทธิห้องพิเศษ รวมค่าอาหารฟรี อีกทั้งหาก อสม. คนใดทำงานตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป นอกจากได้สิทธิห้องพิเศษ รวมค่าอาหารฟรีแล้ว จะขยายเลยต่อไปถึงครอบครัวด้วย และหากใครเป็น อสม.ดีเด่น ยังจะได้รับสิทธิห้องพิเศษ รวมค่าอาหารฟรี ทั้งตนเองและครอบครัว โดยไม่ต้องรอถึง 10 ปี

นอกจากนี้ยัง จะมีการขยาย อสม. ออกไปอีก 6 ประเภท จากปัจจุบันมี 1 ปะเภทคือ อาสาสมัครสาธารสุขประจำหมู่บ้านเพิ่มเป็น 1. อสม.พระ ซึ่งจะเข้าไปถวายความรู้ให้แก่พระด้วยกัน 2. อสม.โรงเรียน สำหรับเด็กนักเรียน ผู้ที่อยู่ในสถานศึกษา3.อสม.แรง งานต่างดาว ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นและมีการเดินหน้าไปบางส่วนแล้ว เพราะแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศ และเป็นพาหะของโรคติดต่อหลายชนิด จึงจำเป็นต้องอบรมแรงงานต่างด้าวให้ เป็น อสม. เพื่อดูแลสุขภาพ แก้ปัญหา และสกัดไม่ให้แพร่โรคมายังคนไทย

4.อสม.ไทยในต่างแดน เรามีหลายประเทศที่คนไทยเข้าไปอยู่ใน ประเทศเหล่านั้น ไม่ว่าจะเยอรมัน อิสราเอล อียิปต์ ญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงค์โปร์ เราจะอบรมคนไทยที่นั่นให้เป็น อสม. และนำวิธีการของกระทรวงสาธารณสุขไปใช้ เพื่อดูแลคนไทยในต่างแดน5.อสม.ใน สถานประกอบการ เช่น เปิดมุมเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่ในสถานประกอบการ และ 6.คือ อสม.อื่นๆ

นอกจากนี้ นโยบายด้านกฎหมาย หากประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล จะเดินหน้า 1. พ.ร.บ.วิชาชีพสาธารณ สุข เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ ใน รพ.สต. และในโรงพยาบาลชุมชนบางส่วน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ยกระดับงานเป็นวิชาชีพที่&nb! sp;7 จากปัจจุบัน ที่มีอยู่ 6 2. พ.ร.บ.วิชาชีพแพทย์แผนไทย และ3.พ.ร.บ.สร้าง ความสัมพันธ์! ที่ดีระหว่างผู้ป่วยและแพทย์ หรือบุคลากรสาธารณสุข ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นแนวทาง ที่จะต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงในราย ละเอียดต่อไป

สุดท้าย เรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค นายจุรินทร์ กล่าวว่า ประชาธิปัตย์ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าว ในช่วง 2-3 ปีที่เข้าไป บริหารกระทรวงสาธารณสุข พิสูจน์ชัดเจนว่า มีการเอาจริงกับเรื่องดังกล่าว ทั้งการจับกุม ดำเนินการป้องกัน ป้องปราม ซึ่งจะเดินหน้าต่อไปและมีรางวัลนำจับ รวมทั้งยังจะมีการปรับปรุงฉลาก อาหาร ฉลากยา ให้ประชาชนทั่วไปอ่านง่าย เข้าใจง่าย ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเดินหน้าต่อไปอย่างเป็นระบบ

นายจุรินทร์ กล่าวถึงเรื่องการรวมกองทุนข้าราชการ ประกันสังคม และกองทุน 30 บาทรักษาทุก โรคว่า ประชาชนจำนวน 48ล้านคนมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน แต่อย่างไรก็ตามใช่ว่า จะละเ! ลย เพราะขณะนี้ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อศึกษา ดูแลในเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ คณะกรรมการจะมีอายุการทำงานเป็นเวลา 3 ปี และถึงแม้ว่า จะยังไม่ได้ข้อสรุป แต่อย่างน้อยที่สุดในหลักการ จะต้องมีมาตรฐานกลางในการดูแลคนไทย

นายวิชาญ มีนชัยอนันท์ พรรคเพื่อไทย ในเรื่องการดุแลเรื่องสุขภาพ พท.ให้ความสำคัญเรื่องการดูแลรักษา เรื่อง30บาท ในช่วง9ปีที่ผ่านมา โครงการ30บาทเริ่มเสื่อมถอย สิ่งที่ต้องเร่งเรื่องบุคคลา กรที่ขาด กพ.บอกเองว่าจำนวนเรื่องของการบรรจุ วิชาชีพแพทย์เป็นที่ขาดแคลน ของ กทม. หลังจาก พรบ. กทม. ออกมา ก็สามารถดำเนินการเองได้ เราได้เคยเข้าไปดูติดตามเรื่องสถาบันพระบรม ราชชนก ซึ่งเป็น พรบ.ที่จะจัดตั้งมหาวิทยาลัย แต่ตอนนี้เข้าใจว่ายังอยู่นิ่งและ ไม่ได้เดิน แต่ว่าจะไปดูเรื่องบุคลากรทางการแพทย์ให้พอ และก็ต้องมาต่อยอดเรื่องของการดูแลสวัสดิการให้ดีมีควา! มเหมาะสม ตามด้วยอุปกรณ์ เครื่องไม้เครื่องมือแพทย์ รวมถึงเตียงต่างๆซึ่งตอนนี้มีความขาดแคลน จริงๆแล้วทั้งหมดมันเกี่ยวข้องกับ งบประมาณส่วนหนึ่ง แต่วิธีการจัดการนั้นอีกเรื่องนึง คงจะต้องไปดูความ เหมาะสมตามจำนวน สปสช. มีบอร์ด เราดูว่า สปสช.เองดึงเงินไปใช้ตรงจุดไหน และกระจายส่วนต่างๆลงไปเป็นหมวดภาระกิจ ซึ่งมองว่าหมวดภาระกิจต่างๆ จะไม่ตรงกับความจำเป็นต้องจ้างหรือความต้องการ เราจำเป็นต้องคุย เราเป็นรัฐบาล ในแต่ละจังหวัดแต่ละภูมิภาคนั้น โรคระบาดหรือโรคติดต่อ หรือโรคที่ยังต้องไปดูนั้น ในกลุ่มต่างๆเหล่านี้ให้เขาเป็นหมวดเป็นหัว ได้หรือปล่าว แล้วก็จะไปดูว่าในการเลือกใช้บัตร30บาทจะนำกลับมา  ผม มองว่าการลงทะเบียนมีความสำคัญ ตั้งแต่ยกเลิกการเก็บ30คนบาท ทำให้คนไหลเข้า เราต้องยอมรับว่าการเก็บ30บาทแต่ก่อน เราไม่ได้เรียกเก็บหมด เราให้โอกาสของคนที่มีสตางค์ ได้ช่วยเหลือคนจนก็คือเสีย30บาท แล้วคนที่มีปัจจัยน้อยกว่าก็คือคนที่ไม่ได้มีสตางค์ เราไม่ได้เรียกเก็บ เป็นบัตร30บาทก็จริงแต่มีผลน้อยมาก ไม่ต้องเก็บ ในส่วนนี้ภาระกิจเบื้องต้นเรื่องงบประมาณต้องใส่ให้เหมาะสม ไม่ได้ใส่ไปหมด แต่ใส่เป็นรายหัวและปรับเปลี่ยนจากโรงพยาบาลที่จะต้อง รับคนไปหมด แต่จะต้องรับเป็นหนึ่งภาระกิจแล้วจ่ายเป็นหมวด จ่ายเป็นวาระอุดหนุนไป เหมือนแต่ก่อนที่เริ่มอุดหนุนเป็นหมวดมากกว่า เราก็เริ่มเห็นว่าโรงพยาบาลก็มีการแข่งขัน ถ้าโรงพยาบาลไหนมีการแข่งขันได้เงินมากขึ้น นั่นหมายถึงว่าลูกค้าเพิ่มขึ้น ความพึงพอใจเพิ่มมากขึ้น เงินก็จะส่งเติมเข้าไปในส่วนนี้ แล้วก็จะต้องช่วยกัน เพราะว่าหมอขาดแต่สิ่งที่คิดว่าจะต้องทำคือเรื่องของการป้องกัน และส่งเสริมสนับสนุน ตั้งแต่เกิด จะดูแลบำรุงยังไงไม่เจ็บไม! ่ป่วย นมมารดา และในส่วนของนมจะต้องเสริมสร้างเข้าไปให้กับเด็กเพื่อ เสริมส! ร้างความแข็งแรง เรื่องของโรงบาล เรื่องของการดูแล คนวัยทำงาน เพราะคนวัยทำงาน มีการตรวจดูแลสุขภาพเพื่อพลานามัย ให้มีการออกกำลังกาย การดูแลในเรื่องของอาหารการกินทุกเพศทุกวัยลงไป อย่างนั้น

ส่วนการป้องกันในส่วนนั้น นอกจากโรคต่างๆที่มีอยู่แล้ว เรายังต้องตรวจสอบว่าแต่ละโรคที่เพิ่มมากขึ้นขึ้นนั้นมีวิธีดูแล และแก้ไขอย่างไร เพราะ30บาทถ้าทำไปแล้วนั้นมันต้องครอบคลุมทุกโรค ตามที่เรียนตั้งแต่แรกว่านโยบายคือทำให้มันมีคุณภาพ ทุกโรคจะต้องรักษาได้ ไม่ใช่เพิ่มทีละโรค แต่ทำให้มีความพร้อมขึ้นมาในแต่ละ ระดับ และก็ดูแลในส่วนต่างๆ ทีนี้ถ้ายกตัวอย่าง อย่างโรคมะเร็งปากมดลูก ซึ่งเป็นโรคที่มีการติดเชื้อแพร่ระบาดได้ แต่คนถึงของวัคซีน ตอนนี้แพงถึง6,000บาท 13เข็มเป็นจำนวนเงินที่สูง ในกับต่างประเทศทำไม่เกิน500บาท ถ้าคนจำนวนมากที่เกิด เด็กนี่เกิดประมาณ8แสนคนต่อปี เราก็ทราบว่าวัยรุร่นก่อนมีประจำเดือน จะอยู่ที่ประมาณสัก13ลงมา แล้วฉีดวัคซีนตัวนี้ลงไป การป้องกันตรงนี้ป้องกันที่ไม่แพร่ระบาด ทีนี้เมื่อเราป้องกันแล้ว สนับสนุนแล้ว จำนวนโรคต่างๆที่เข้ามาสู่ระบบก็น้อยลง โดยการอ้างที่การเก็บ30บาท ผมมีจำนวนความถี่ ความถี่ก่อนที่จะเกิดการยกเลิก ในสมัย คมช. จำนวนความถี่จะน้อยกว่า เพราะว่าคนที่เป็เนไข้เล็กๆน้อยๆเขาซื้อยาทานเองได้ เราก็มีความถี่เมื่อเปิดกว้างในการเข้าพบแพทย์114ล้านครั้ง คูณจำนวน30เข้าไป มันก็คือ5,000กว่าล้านบาท หรือหกพันล้านบาท แล้วตัวเลขที่กลับมานี่ มีโรงพยาบาลขาดทุนประมาณ 500โรง  ใน จำนวนกว่า500โรง จำนวนเหล่านี้ก็มีปัญหาว่า เอาเงินซึ่งเป็นเงินรายได้ของ โรงพยาบาล เอามาจ่ายเพื่อรักษา จริงๆแล้วรัฐบาลต้อเงเติมให้เขา เพราะว่ารัฐบาลเติมเรื่องอื่นมากกว่า เช่น อาวุธยุทโธปกรณ์เยอะมาก แต่ลืมเติมในเรื่องพวกนี้ และในเรื่องปีงบประมาณ จากที่อุปกรณ์ต้องใช้เครื่องมือแพทย์ ส่วนอีกเรื่องคือเรื่อง กฎหมาย พ.ร.บ .ผู้ประสบภัยจากการรักษา ในส่ว! นของพรรคเพื่อไทย เห็นด้วย แต่ระยะเวลาตอนนี้มันค้างอยู่ และคิดว่า พรบ.ฉบ! ับนี้ให้ดี  ตอนนี้มันมีที่เขา ดำเนินการไว้ ในมาตราที่47 กำหนดไว้ในส่วนของ สปสช.ที่เขามี ดังนั้นเขามีเงิน 1%ของยอดที่เขาหักไว้ก็ประมาณหนึ่งพันล้านบาท เท่ากับกองทุนนั้นใช้ได้เลย ซึ่งในขณะเดียวกันเกือบ10ปีแล้วจ่ายไม่ เกิน2แสน บาท ถ้าเอาความถี่ของผู้รักษาประมาณ2ร้อยล้านครั้ง 830 กว่าครั้งที่มีการฟ้องร้อง และในการฟ้องร้อง ส่วนหนึ่งจ่ายไปแค่31ล้านบาทตาม ตัวเลข ถ้าเอากองทุนตรงนี้มาช่วยเหลือตรองนั้นก่อน แล้ว้ามีความพึงพอใจในส่วนนี้ มันก็จะช่วยในการออก พรบ. มาใช้มันก็ใช้เวลาพอสมควร

การทำให้หลักประกันมีประสิทธิภาพ หลักประกันใช้มา10ปี เราเป็นผู้เริ่ม แต่การดูแลการปรับปรุงไม่ได้เป็นไปตามกลไก สมมติว่า เด็กที่เกิดประมาณปีล่ะ1.8แสนคน จากที่เราดูแลหลักประกัน48ล้านคนที่ใช้ อยู่นับจากจำนวนประชากร เราก็จะไปตั้งตั้งแต่เด็ก เด็กควรจะอยู่กับแม่ในช่วงให้น้ำนม แต่พอพ้น7เดือนแล้วต้องไปทำ งาน เมื่อคนไปทำงานเราจะจัดตั้งศูนย์หรือถ้าตามโรงงานใหญ่ๆเราก็จะ หักลดภาษี เป็นเนิสเซอรี่เป็นเดย์แคร์ให้ ตอนเย็นก็รับกลับ ก้ช่วยดูแลได้ห! รือให้เอกชนเข้าไปช่วยดูแลหรือบริหารจัดการ จนกว่า7ขวบ จึงเป็นเรื่องของการบูรณาการของ2กระทรวง คือสาธารณสุขกับศึกษาธิการ  เช่นมี อสม.น้อย อายุ60ขึ้นไปต้องยอมรับ ว่าต้องดูแล แต่ถ้าดูแลตั้งแต่แรกว่าเรื่องอาหารการกินจนไปถึง อายุ60 อายุเฉลี่ยผู้หญิง77ผู้ชาย73 ตามตัวเลขเดิม ตอนนี้ผู้สูงอายุแพ้ญี่ปุ่น  แต่ญี่ปุ่นเขามาบ้านเรา เขามีการส่งเสริมดูแลจ่ายเงินเข้ามาก็ไม่เป็นไร กระทรวงสาธารณสุขเคยสำรวจที่ดินอยู่ อย่างที่เชียงรายมีที่พันไร่ ที่สำหรับชะลอเก็บคนที่เป็นโรคเรื้อน ทางระยอง จันทบุรีมี300ไร่ เราก็จะจัดหมวดหมู่ให้แต่ละภูมิภาคให้เอกชนมาดำเนินการให้จ่ายเป็น หัวไปเลย คนสูงอายุเข้ามาอยุ่ในนั้น แล้วของผมเองนี่ คนสูงอายุมีเบี้ย เบี้ยอายุหกสิบหกร้อย เจ็ดสิบเจ็ดร้อย แปดสิบแปดร้อย เก้าสิบเก้าร้อย มากกว่าเก้าก็รับไปหนึ่งพัน แต่ต้องมีความเหมาะสมของการดูแลคนชรา ที่จะต้องมีการรักษา ทีนี้พอต้องเข้าไปอยุ่ในศูนย์แล้ว เราก็ต้องให้งานต่างๆเขาทำ ผมเคยไปที่สระบุรีก็มีการปลูกพืชสมุนไพรโดย คนอายุเจ็ดสิบที่ยังแข็งแรง แต่ดูแลเป็นลักษณะที่ไม่ใช่งานหนัก แล้วพอญาติจะไปเยี่ยมก็แยกไปที่บ้า! นพักที่เป็นรีสอร์ทอยุ่ในส่วนนั้น อันนี้ก็เป็นเรื่องที่ต้องบูรณา การระหว่! างกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงพัฒนาสังคม เป็นเรื่องของสุขภาพ

เรื่องยา ต้องจัดให้เพียงพอ โดนบ่นพบหมอเขาโรงบาลแล้วจัดยา พารา จัดยาอะไร แต่ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่าลำบาก เงินที่เอาไปให้นี่ส่วนหนึ่งนี่มันน้อยกว่า แล้วจำนวนนี่เขาหักจากจำนวนต่างๆ หมอนี่เขาหักจากค่าแรงของหมอ ค่าแรงต่างๆ

สิ่งที่เราต้องสร้างเสริมนั้น เราสร้างเสริมในภาระกิจต่างๆ เช่น ข้างล่างเราเห็นภาระกิจของ อสม. มีความสำคัญในด่านแรก ในเรื่องของการสนับสนุนต้องได้เต็มที่ ในเรื่องของการรักษาพยาบาลที่ถัดเข้ามาทางจังหวัด ทางอำเภอ ก็ต้องให้คิดเป็นรายหัว จ่ายจริง