ฟังเนื้อหาราชดำเนินเสวนา หัวข้อเรื่อง “การแลกเปลี่ยนประสบการณ์สวัสดิการสื่อ” วันพุธที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๐.๐๐ -๑๒.๐๐ น.

 

{mp3remote}http://www.tja.or.th/images/sound2554/541221-seminar.mp3{/mp3remote}

 

ราชดำเนินเสวนา โดย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

ร่วมกับสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย

หัวข้อเรื่อง “การแลกเปลี่ยนประสบการณ์สวัสดิการสื่อ”

วันพุธที่ ๒๑ ธันวาคม  ๒๕๕๔ เวลา ๑๐.๐๐ -๑๒.๐๐ น.

ณ ห้องประชุม ๑ ชั้น ๒ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

 

 

วิทยากร

โกศล  นาคาชล

ประธานสหภาพแรงงานหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์

กว่าจะได้สหภาพแรงงานของเราขึ้นมาเพื่อมาปกป้องสิทธิของพนักงาน มันก็ความเสี่ยงครั้งแรกก็มีการจัดตั้ง กว่าจะได้ตรงนี้มาแล้ว คนทำงานรุ่นแรกก็มาร่วมสมาชิกแข็งแกร่ง แรกเราจะไปประชุมเรื่องจะมีการสัมมนา ไม่ใช่สัมมนา ประชุมย่อย ทุกคนกระตือรือร้นเพื่อรักษาสิทธิต้องการสิทธิ พอมาสัก 10 ปีให้หลัง คนที่เข้ามาใหม่จะไม่รู้ว่าที่กลุ่มแรกก่อตั้งขึ้นมามีความสำคัญยังไง เขาไม่รู้หรอก เขานึกว่าสวัสดิการที่เขาได้ตอนสมัครงานครั้งแรก นึกว่าบริษัทให้ ความจริงไม่ใช่ หลาย ๆ อย่างค่าสวัสดิการ, ค่ารักษาพยาบาล, ค่าแรงขั้นต่ำ อะไรต่ออะไร สหภาพแรงงานเป็นตัวริเริ่ม เป็นคนเรียกร้องให้กับพนักงาน แต่พื้นฐานจะไม่รู้ มาร่วมทำกิจกรรมกับสหภาพแรงงานน้อยลง พอ 20 ปีให้หลัง ยิ่งน้อยกว่านั้นอีก เพราะเรามีเทคโนโลยี ไม่ได้เข้าร่วมประชุม ไม่รู้จักว่าคนทำงานบริษัทเดียวกันต้องมาร่วมทำกิจกรรมหรือเรียกร้องสิทธิของตัวเอง จะทำได้ยากขึ้นเรื่อย ๆ บอกว่าที่ยังอยู่ได้ช่วงหลัง ช่วง 10 ปี เราได้จัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ขึ้นมา เพื่อให้กับสมาชิกสหภาพแรงงาน มีการกู้ยืมอะไรก็แล้วแต่ เรามีตัวนี้ขึ้นมา เราก็มีกฎข้อบังคับอันนึงว่าถ้าคุณอยากจะมาเป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ของเรา คุณต้องเป็นสมาชิกสหภาพก่อนเพื่อที่จะ ได้กระเตื้องขึ้นมาว่าหลาย ๆ คนต้องการสิ่งนี้ ต้องสมัครเป็นสมาชิกสหภาพ พนักงานของเราตอนนี้ก็มีอยู่พันกว่าคน ประมาณ 1,200 เป็นสมาชิกสหภาพประมาณ 800 คน เรามีสมาชิกสหภาพ ผู้บังคับบัญชาบริษัทได้ หมายถึงว่าไอ้คนกลุ่มนี้ เราต้องมาแยกคน 2 กลุ่มเป็นสหภาพ สหภาพผู้บังคับบัญชา สหภาพผู้ปฏิบัติงาน 2 สหภาพ ก็ยังทำงานร่วมกัน การเรียกร้องก็มีเรื่อย ๆ นะ เหมือนเหตุการณ์ที่ผ่านมาในของเรา ครั้งหลังสุดน้ำท่วม เราก็มีกฎระเบียบของเราในที่เราเขียนไว้ ผลประโยชน์ก็สาธารณะ อันนี้ต้องจ่ายครั้งละรายละ 5,000 บาท ถ้าเป็นเหตุเพลิงไหม้จ่าย 10,000 บาท แต่ว่าจะมีความเสียหายมากน้อยยังไง ให้สักหลังหรืออะไรก็แล้วแต่ ฝ่ายบริหารจะดูแลเพิ่มเติม ในภาวะอุทกภัยครั้งใหญ่ของประเทศไทยครั้งนี้ บริษัทเราสหภาพแรงงานไม่ได้เรียกร้องนะ ใช้กฎข้อบังคับของบริษัทที่มีอยู่ 5,000 บาท จ่ายให้คนละ 5,000 แต่เขาก็ใจดี เราไม่ได้เรียกร้องอะไร เขาก็ 5,000 บาท ก็เป็น 10,000 บาทต่อราย ก็เป็นให้กำลังใจผู้ประสบภัย หลาย ๆ อย่างที่เราจัดตั้งสหภาพขึ้นมาแล้วองค์กรตัวนี้เป็นตัวเชื่อมระหว่างลูกจ้างและนายจ้าง เพื่อบางครั้งลูกจ้างระดับล่างจะขึ้นไปหาฝ่ายบริหารยาก มีพวกเราเป็นตัวแทน ก็ 3 เดือนก็ครั้งนึง เขาเรียกว่าสัญญาลูกจ้างตามกฎหมายจะต้องรายงานให้กระทรวงสหภาพ 3 เดือนว่าเราได้พบปะพูดคุยอะไรกันบ้าง สหภาพหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ก็ดำเนินงาน

 

เสด็จ  บุนนาค

ประธานสหภาพแรงงานสื่อสารมวลชนไทย

ในนามของสหภาพแรงงาน จริง ๆ แล้วอาจจะอ่านชื่อแล้วงง ๆ ว่าแรงงานอยู่ที่ไหน เราใช้ชื่อว่าสหภาพแรงงานสื่อสารมวลชนไทยด้วยมันมีต้นเหตุเพราะว่าที่เนชั่นเอง หลาย ๆ ท่านก็อาจจะพอทราบเบื้องหลังกันมาว่าการจัดตั้งสหภาพเนชั่นมันค่อนข้างมีประวัติ แล้วมันก็เกิดเหตุมาครั้งนึงแล้วตั้งแต่ยุคแรก ๆ ที่มีการเริ่มก่อตั้งสหภาพกัน แล้วก็ทางนายจ้างเองตอนนั้นผู้บริหารเองก็ไม่ค่อยพอใจ แล้วก็มีการบีบคั้นกันจนผู้ที่จะจัดตั้งก็คืออยู่ไม่ได้ต้องลาออกกันไปบ้างอะไรไปบ้าง พอมาครั้งนี้การดำเนินการตั้งสหภาพเราก็เลยมีการหารือกันกับผู้นำแรงงานที่เกี่ยวกับในภาคที่เข้ามาช่วยดูแลกับเรา ก็เลยบอกว่าถ้าเราจะหลีกเลี่ยงว่าไม่ให้มีปัญหากับทางบริษัทก็จัดตั้งใช้ชื่ออื่นไป อย่าไปใช้ชื่อเนชั่นโดยตรง ก็เลยจดในนามของสหภาพแรงงานสื่อสารมวลชนไทยก็คือสหภาพเนชั่นนี่แหละ ก็ตั้งมา 3 ปี จริง ๆ แล้วช่วงการจัดตั้งก็มีปัญหา หลังจากนั้นที่มันมีเรื่องของผู้บริหารบีบพนักงานออกในช่วงนั้นแล้ว เงียบซากันไป พนักงานลุกขึ้นมาบอกว่าไม่ได้ มันต้องมีตัวแทนของลูกจ้างที่จะเข้าไปคุยกับนายจ้างบ้างอะไรบ้าง ก็มีการคุยกันกับทางผู้บริหารแล้วก็มีการจัดตั้งคณะกรรมการลูกจ้างตามกฎหมายที่ต้องมีตัวนี้ ก็มีการตั้งคณะกรรมการลูกจ้างมา คณะกรรมการลูกจ้างมา 3, 4 ปี ก็มีการคุยกับผู้บริหารทุกเครือจนกระทั่งครั้งนึง มันก็จะมีเหตุซึ่งทางเนชั่นมันจะมีเรื่องของเดี๋ยวก็จะเลย์ออฟเดี๋ยวก็จะอะไรต่ออะไร ช่วงนั้นก็จะค่อนข้างเยอะ ช่วงของเศรษฐกิจไม่ดีบ้างอะไรบ้าง ก็จะคิดกันว่ามันไม่ เราก็เลยรวมตัวกัน รวมกันในกลุ่มของบรรดาลูกจ้างแล้วก็ไปจดสหภาพ เราก็ไปจดก่อนแล้วก็ไปรวมพลกันจดทะเบียนเสร็จ แล้วก็มาบอกเขาบอกว่าเราจะจดสหภาพนะ เรียกประชุมบรรดาลูกจ้างจดเป็นสหภาพ ก็จะแบบว่าดีเหรอ แรก ๆ ก็ หลังจากนั้นเราบอกว่าตอนนี้ผมจดแล้วได้ทะเบียนมาเรียบร้อยแล้ว เอาทะเบียนให้เขาดูว่าได้ทะเบียนมาเรียบร้อย เขาก็อึ้ง ๆ ไปนิดนึง แต่ว่าโดยที่ตอนนี้ในเรื่องการจดทะเบียนสหภาพมันกลายเป็นเรื่องที่ต้องตามกฎหมาย มันมีกฎหมายรองรับ มันมีอะไรต่าง ๆ ซึ่งเขาก็ไม่สามารถที่จะมาห้ามเราได้ จดเสร็จ แม้แต่คุณสุทธิชัยเองที่เป็นบิ๊กบอสเนชั่นก็ยังมีความรู้สึกว่าก็เอาดี จดแล้วก็จะได้มาช่วยกันทำงาน ซึ่งทางเนชั่นช่วงหลังมันไม่ได้มีปัญหากับทางพนักงานมากในเรื่องของสวัสดิการเพราะว่าหลาย ๆ เรื่องมันก็จะมีสวัสดิการรองรับอยู่ ก็มีส่วนนึงที่มีการพูดคุยกันตลอดระหว่างผู้บริหารกับพนักงานในส่วนของกรรมการลูกจ้าง ซึ่งมีสหภาพแล้วมันก็จะคุยกันในนามของสหภาพแรงงานด้วยกับผู้บริหารทุกเดือน มีปัญหาอะไรก็คุยกันทุกเดือน หลาย ๆ เรื่องมันก็จะได้ข้อยุติ เรื่องของการที่เราจะขอให้มีการบรรจุคน, ขอให้มีเรื่องของเพิ่มค่าตอบแทน, หรือแม้แต่ว่าล่าสุดที่เรื่องของ 300 บาท ก็มีการพูดคุยกันต้องปรับนะอะไรนะ เบื้องต้นก็คือปรับแล้วจากเรื่องของค่าแรงอะไรต่าง ๆ ต่อไปก็ไอ้เรื่องของเงินเดือน 15,000 ก็คงต้องพูดกันอีกทีนึง อันนี้ก็ให้ผู้บริหารเอาไปนั่งคิดว่าจะไปพิจารณายังไงว่าต้องไปปรับฐานยังไง เพราะว่าเงินเดือนมันก็ปรับฐานกันทั้งหมด จะเอายังไง เรื่องของการช่วยเหลืออะไรต่าง ๆ ทั้งเรื่องของโบนัส ทั้งเรื่องของการขึ้นเงินเดือน มันก็พูดคุยกัน มันมีประเด็นตรงที่บอกว่าทุก ๆ ครั้งเรื่องของการประเมินผลสิ้นปี ประเมินผลพนักงานเราก็จะเห็นว่าใครอยู่ใกล้เจ้านายก็จะได้ประเมินผลเยอะเป็นทุกที่แทบจะทุกที่ เราก็พูดคุยกันบ่อยว่าเรื่องของการประเมินผล คุณเลิกสักทีประเมินผลแบบอะไรแบบนี้ หัวหน้าประเมินแล้วก็คุณก็ให้ มันก็มีการพูดคุยแล้วก็เอามีนักวิชาการมีอะไรเข้ามาดูแลเรื่องของการทำประเมินว่าจะทำยังไงแบบไหน มีการส่งไปสำรวจ เรียกว่าอะไร แต่ละคนทำภารกิจอะไรยังไงบ้าง เขาเรียกเจดีย์อะไรพวกนี้ ก็ทำ มันก็จะดีขึ้นแล้วก็เรื่องของการประเมินต่าง ๆ มันก็เลยเริ่มที่จะเข้าที่เข้าทางมากขึ้นโดยที่หัวหน้าไปประเมินลูกน้องในทางที่จริง ๆ เรื่องของโบนัสก็จะชัดเจนมากขึ้นหลังจากที่แต่ก่อนทุกปี ถึงปลายปีเราก็จะมานั่งบอกว่าปีนี้จะได้เท่าไรก็ต้องรอเขาโยนมาให้ ซึ่งหลังจากนั้นผมว่าไม่ใช่ พอทำประเมินแบบนี้มันก็จะกลายเป็นเรื่องของการดูเรื่องของผลประกอบการของสถานที่ด้วย เพราะว่าในทางบริษัท มันจะมีหลายบริษัทย่อย ๆ เยอะ ก็จะแบ่งเรื่องของผลประกอบการกันไป ของกรุงเทพธุรกิจอาจจะดี ของคมชัดลึกอาจจะด้อยลงมาหน่อย หรือว่าทางทีวีเนชั่นอาจจะดีขึ้น ก็มีการพูดคุยว่าจะยังไง ถ้าอย่างนี้จะเกลี่ยมาทั้งหมดมันก็จะ ช่วงแรก ๆ ก็คงจะเกลี่ยคุยกันไปจะให้โบนัสกันยังไง ก็คงต้องมีการแยกกันเรื่องของผลประโยชน์ แต่ทีนี้ว่าของใครทำดีก็ต้องได้มากหน่อย มันก็จะมานั่งคุยกันทุกปีว่าปีนี้จะได้เท่าไร ปีนี้จะได้รึเปล่า บริษัทบอกขาดทุนอีกแล้ว ขาดทุนตรงไหนยังไง มันจะชัดเจนขึ้น

การมีสหภาพมันก็จะดีตรงที่ว่าอย่างน้อยพนักงานเองก็จะได้รับรู้ว่าวันนี้ผู้บริหารทำอะไรไปบ้าง วันนี้ผลประกอบการเรากำไรจริงหรือไม่จริง ตัวเลขมันไปโชว์ในตลาดหลักทรัพย์ได้เป็นบวกแต่มาบอกเราว่าขาดทุนอะไรอย่างนี้ ทำไมถึงเป็นอย่างนั้นก็ต้องมีการพูดคุยกัน ซึ่งก็ดีขึ้นแล้วก็ได้ใกล้ชิดแล้วก็เป็นการเชื่อมต่อ พนักงานก็จะมาวันนี้โดนเรื่องอะไรมีปัญหาอะไรยังก็จะมาให้เราเข้าไปคุยกับทางผู้บริหารได้ คือใช้ช่องทางของสหภาพแรงงานแล้วก็กรรมการลูกจ้าง ซึ่งจริง ๆ แล้วก็เป็นกลุ่มที่มันซ้อนกันอยู่ตรงนี้ คนทำงานโดยปกติแล้วในออฟฟิศ คนทำงานแบบนี้มันก็จะมีอยู่ไม่เยอะหรอก อยู่กันกลุ่มเดียวนั่นแหละ กระจุกเดียวนั่นแหละ ทั้งสหภาพ, ทั้งสหกรณ์, ทั้งกรรมการลูกจ้างเป็นหมดเลย โดยที่ผมก็เป็นหมดเลย ก็จะลงมาช่วยกันทำงาน ถ้ามีการตั้งเป็นสหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนขึ้นมาได้ มันก็สามารถน่าจะที่จะต่อรองอะไรกับนายจ้างได้มากกว่าที่เป็นอยู่ ณ ขณะนี้ แต่ว่าหลายที่อาจจะรู้สึกว่าของเราก็อาจจะดีอยู่แล้ว สวัสดิการเราก็ดีอยู่ ทำไมจะต้องไปตั้งสหภาพให้มันไปขัดแย้งเคืองใจผู้บริหารอีก ก็คงต้องมาดูกันว่าแล้วไอ้สิ่งที่คุณได้มันที่อื่นเขาไม่ได้ มันไม่เท่าเทียมกัน การที่จะตั้งสหภาพขึ้นมามันก็จะเหมือนกับว่าอะไรที่เป็นสวัสดิการที่มันก้ำกึ่งกันอยู่หลาย ๆ ที่ บางที่ส่วนใหญ่อาจจะดีแล้วแต่ว่าสื่อเล็ก ๆ อาจจะไม่ดี มันก็ต้องพูดคุยกันว่าผู้บริหารสามารถจะดึงขึ้นมาได้ไหม หรือว่าให้มันเหมาะสมได้ไหม

 

อรวรรณ กริ่มวิรัตน์กุล

ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท อสมท.

สวัสดีค่ะผู้เข้าร่วมการสัมมนาทุกท่าน วันนี้ขออภัยมาช้า ติดภารกิจตอนเช้านิดนึง ก็จริง ๆ ก็เป็นเรื่องที่เคยคุยกันวงในแล้วกับทางท่านประธานในสายด้วยกัน 3, 4 คน ก็ไม่มีอะไรแตกต่างในแง่ที่ว่าในสายงานของสื่อมวลชนเอง ควรจะมีการรวมตัวอย่างน้อยหนึ่งที่ทำให้เกิดการรวมตัวกันในเชิงสหภาพ แต่ที่ยากที่สุดทำไงให้คนอาชีพสื่อมีสหภาพแรงงานได้ วันนี้จัดหัวข้อเสวนาฉันว่าน่าจะเปลี่ยนนะเป็นเรื่องของจัดหัวข้อว่าไปผูกคอแมวรึเปล่า นี่พูดแบบไม่ต้องอ้อมค้อม เป็นคนทำงานสื่อคนนึง นักข่าวเรียกร้องสารพัด ตรวจสอบชาวบ้านก็เยอะ สิ่งที่ไม่กล้าทำคือการเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับตัวเอง แล้วก็ไม่กล้าเรียกร้องเอากับเจ้านายตัวเองที่ทำงานตัวเอง บางทีต่อให้ประกาศว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีเสรีภาพด้านสื่อขนาดไหน ไม่มีการเซ็นเซอร์หรืออะไรก็ตาม ถึงจะมีบ้างในขอบเขตที่จำกัด แต่ตราบใดที่คุณไม่สามารถฝ่าด่านแรกเพื่อไปมีสหภาพของตัวเองได้ ไม่ต้องมาพูดเรื่องอื่นแล้ว ก่อนที่จะมาคิดถึงเรื่องการรวมตัว ไปคิดให้ดีกันก่อน

ฉันจะขอมองตั้งแต่รากเหง้าเลย คือก่อนจะรวมตัวกัน รวมตัวไม่ยาก แต่พอรวมสายสื่ออาจจะเป็นโครงการระยะยาว แต่ระยะเฉพาะหน้าที่เร่งด่วน คนในสายอาชีพสื่อเองน่าจะมีความกล้าในการเรียกร้องเรื่องของตัวเองได้แล้ว เพราะว่าเรียกได้ไง โดนเล็งแน่ ๆ แต่ถ้าเราดูการเกิดขึ้นขององค์กรแรงงานไม่มีเรื่องง่าย ไม่มีหนทางที่ปูด้วยกลีบกุหลาบ ทุกที่เจ็บหมด ถ้าพร้อมเจ็บตัวแต่สิ่งที่แลกมามันยั่งยืนก็น่าจะทำ การมีสหภาพแรงงานในส่วนของบ้านเราจริง ๆ แล้วมันก็ผูกพันกับจังหวะก้าวทางการเมือง เรื่องนี้อาจารย์ศักดินาน่าจะพูดได้ดีกว่าฉัน แทบจะดูแล้วไล่เรียงประวัติ วันนี้ด้วยความที่ต้องมาพูดเรื่องนี้เลยไปค้นหนังสือซึ่งอาจารย์ทำไว้ดีมาก ต้องกราบขออภัยอาจารย์ว่าเหมือนเด็กจะสอบ ปกติสอบจึงหยิบตำรามาอ่าน องค์กรแรงงานเกิดขึ้นเมื่อครั้งมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เกิดขึ้นอย่างเบ่งบานหลังปี 16 ที่มีสหภาพแรงงานเยอะ ๆ มาเกิดยุค รสช. ตอนนั้นองค์กรแรงงานก็โตขึ้นมา ก็กลายเป็นว่าสหภาพแรงงานหรือองค์กรด้านแรงงานทั้งหลายทั้งปวงมีอันพังพาบหมดเลย เพราะว่าเขารู้แล้วว่าเวลารวมตัวกัน สมมุติจะรบกับใครก็ตามแต่ แต่ถ้ารบกับขบวนการแรงงานก็พูดง่าย ๆ ว่ามันรวมได้ทุกสาขาอาชีพ มันเป็นงานหนัก ผู้มีอำนาจจะกลัว กลัวซะยิ่งกว่าการรบกับกองกำลังที่ติดอาวุธซะอีก เพราะฉะนั้นคนที่มีอำนาจในมือและยิ่งได้อำนาจเขาจะกลัวการรวมตัวในลักษณะนี้ พอเขายุบไปหมด เขาก็ตอนเลยนะคะ

ถ้าดูจากหนังสือคือว่าจากการเป็นสหภาพแต่ละที่ เขาเหลือให้เหลือแค่สมาคม ดูแล้วมันเหมือนอย่างพวกสมาคมอะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ สมาคมบิลเลียดทำนองนั้น แต่การเป็นสมาคมในยุคที่หลังจากเกิด รสช. คุณรวมตัวกันไม่ได้ สหภาพ 2 แห่งรวมตัวกันได้เป็น 3 องค์กรแรงงานหลาย ๆ ที่รวมกันเป็นสภาแรงงาน แต่พอคุณถูกตอนเป็นสมาคม คุณก็อยู่หัวเดียวกระเทียมลีบ ทำอะไรก็ทำกันไปของตนเอง ก็เลยทำให้เกิด สรส. เกิดขึ้น ก็ต้องขอบคุณคนในยุคนั้นที่ก่อตั้ง สรส. สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ เพราะเป็นการหลีกไปอีกว่าในเมื่อไม่ให้ฉันตั้งสหพันธ์ฉันเป็นสมาพันธ์ก็ได้ ทำเอา รสช. คงจะงงเหมือนกัน แล้ว สรส. ก็อยู่ยั่งยืนมาจนถึงทุกวันนี้ แต่ถ้าในทางรัฐวิสาหกิจในยุคหลังที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง มีการผ่อนคลายมากขึ้น จากยุคของสมาคม ซึ่ง รสช. ตั้งเมื่อปี 2534 ก่อนที่จะมี สรส. ในปี 38 จากปี 34 จนถึงวันนี้ 20 ปี ยั่งยืนนะคะในการที่สะสมจำนวนสมาชิกตั้งแต่ยุคแรกเริ่มมีพนักงานพันกว่าคนมีสมาชิกอยู่ 400 ตอนนั้นคนยังไม่กล้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน

วันนี้ อสมท. มีพนักงานทั้งที่เป็นพนักงานตั้งแต่ก่อนแปรรูปจนถึงพนักงานรุ่นใหม่หลังการแปรรูปแล้วก็มีลูกจ้างใหม่ก็มีอยู่ประมาณ 1,400 กว่าคน เป็นสมาชิกสหภาพแล้วประมาณ 800 กว่า ก็ถือว่าเป็นการเติบโตในอัตราที่น่าพอใจ แต่มันก็เป็นตัวเลขที่ไม่สามารถโตไปได้มากกว่านี้ เพราะว่าในลักษณะของกฎหมายมันก็บังคับอยู่ว่าเมื่อไรที่สมาชิกคนนั้นได้เติบโตในหน้าที่การงานขึ้นไปเป็นผู้บริหาร คุณก็ต้องหลุดจากการเป็นสมาชิกสหภาพแรงง่านไป เพราะฉะนั้นตัวเลขมันก็จะมีข้อจำกัดอยู่ และเราก็จะสูญเสียสมาชิกที่อาจจะมีการมีส่วนร่วมที่ดี มีความรู้ความเข้าใจในด้านของสหภาพแรงงานไปทุกปี ๆ จากการเลื่อนตำแหน่ง หรือไม่ถูกเลื่อนเขาก็ยัดเยียดจะให้เป็นจะได้หลุดไปจากตำแหน่งซึ่งล่าสุดฉันก็ถูกเรียกให้ไปเป็นผู้บริหารแล้ว ได้รับเกียรติมากเลย ทำงานมา 7 ปีเพิ่งคิดถึง ไม่รู้ว่ารักหรือว่าอยากกำจัดกันแน่ แต่ก็ยังไม่ไปเพราะว่ามีภารกิจส่วนตัวอยู่ ไม่ได้ว่าติดหวงตำแน่งอะไร แต่ทำไมอยากให้มี หนึ่งสหภาพแรงงาน บางทีเราดูแล้วน่าน้อยใจนะที่เราพูดกับคนในอาชีพสื่อด้วยกันโดยเฉพาะพวกคนงานกินแรงงานที่เขาทำงานโรงงานทั้งหลาย หนึ่งเขาวุฒิการศึกษาน้อยกว่าเรา เขาทำงานลำบากกว่าเรา รายได้น้อยกว่าเรา แต่เขายังมีสหภาพแรงงานได้ เขายังสามารถรวมตัวกันช่วยเหลือกันได้ มีอะไรพี่ ๆ น้อง ๆ เดือดร้อนมา เขาช่วยกันได้ แต่เวลาสื่อเราด้วยกัน เวลาเดือดร้อนแทบไม่มีเลยนะ

สมาคมวิชาชีพอย่างนี้ เราไม่มีการช่วยเหลือกันได้เลย แต่มันก็ช่วยได้ในแง่จำกัด มันก็ช่วยในเชิงสวัสดิการ เป็นปากเป็นเสียงในเชิงที่เวลาใครมีปัญหาในเชิงการได้รับความไม่เป็นธรรม มันก็ยากเพราะมันก็เป็นเรื่องภายในของแต่ละองค์กร เราไปดูว่าทำไมเมืองไทยเราถึงได้ร้อนใจว่าสหภาพสื่อิไม่เกิด ดูแล้วสาขาอาชีพอื่นเขามีหมด แต่นี่ดูข้อมูลเก่าตั้งแต่ปี 42 ปัจจุบันไม่รู้พัฒนาไปมากกว่านี้รึเปล่า เครื่องใช้ไฟฟ้าก็มีสหพันธ์แรงงาน ขนส่งก็มี สิ่งทอตัดเย็บเสื้อผ้าหนังก็มี ทำปิโตเลียมเคมีภัณฑ์ก็มี ทำธนาคารก็มี ทำโลหะก็มีสหพันธ์แรงงาน ทำโรงงานกระดาษการพิมพ์ก็มี ทำก่อสร้าง คนทำไม้ก็มี ยานยนต์ก็มี เยอะหมดเลย แล้วไมไม่มีการรวมสหพันธ์ของกลุ่มคนสื่อ คนที่ทำงานหนักกว่าเรา ดูแล้วสถานภาพในสังคมอาจจะต้องบอกว่าเป็นอีกกลุ่มนึงที่ไม่เหมือนพวกเรา คนทำสื่ออาจจะเป็นหนึ่งใน white collar เป็นกลุ่มที่ถูกมองจากสังคม สถานภาพในระดับนี้ แต่เราไม่สามารถทำเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นได้เลยในประวัติของด้านการต่อสู้ทางแรงงาน ทำไมถึงยาก มันลำบาก หนึ่งเราเป็นลูกจ้าง นี้พูดกันตรง ๆ บอกว่าในแง่ที่ว่าเข้า อสมท. มาก็มีสหภาพรออยู่แล้ว แล้ววันนึงมาก็ทุกอย่างพร้อมสรรพ รุ่นพี่ ๆ ที่บุกเบิกเขาทำมาให้หมด  แต่สำหรับคนที่ยังไม่มีกำลังบอกว่าทำไมต้องมี   แต่มีเองยาก ยากจริง ๆ ถึงแม้ว่าจะมีสหภาพอยู่ใน อสมท. แล้วแต่ถามว่าบทบาทของการเป็นสหภาพแรงงานมักเป็นที่ไม่ปลื้มเสมอ ไม่ว่าจะเป็นรัฐวิสาหกิจ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทเอกชนหรืออะไรก็ตาม เขามีความรู้สึกว่าพวกนี้คือกลุ่มที่หัวหมอช่างเรียกร้องอยากได้นั่นได้นี่ไม่รู้จบ คือจะถูกสร้างว่ามีภาพพจน์อย่างนั้นตลอดเวลา แล้วก็เป็นกลุ่มเหมือนฝ่านค้านในองค์กร เหมือนมีผู้บริหารแล้วฝ่ายตรงข้ามเป็นสหภาพ ไม่ได้มองมิติของสหภาพแรงงานในเชิงความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันและกัน ซึ่งจริง ๆ เรามีหน้าที่ตรงนั้น เราไม่ใช่ว่าต้องสู้รบปรบมือกันแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เราสามารถทำมิติแรงงานในแง่ของการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและเข้าอกเข้าใจกันได้ในระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง บทบาทของสหภาพแรงงาน แต่ด้วยความที่ถูกมองกันไว้อย่างนั้นมันก็เลยเกิดยาก ใครก็ตามที่คิดจะตั้งสหภาพจะถูกเล็ง หรือแม้แต่บอกว่าคนทำสื่อเองอาจหาญชาญชัยถามผู้นำในประเทศนี้ตั้งแต่เบอร์หนึ่งลงมาจนถึงระดับก็ถามได้ แต่ไม่สามารถไปถามเจ้าของบริษัทหรือผู้จัดการได้ว่าทำไมถึงจ่ายค่าทำงานแบบนี้ ทำไมไม่มีโอที

ทำไมวันหยุดก็ยังเหมารวมควบรวมกันไป บอกงานมันเยอะยังไงก็ทำ ๆ ลูกจ้างก็ทำ ไม่สามารถไปตั้งคำถามง่าย ๆ ได้เลย มันก็เป็นเรื่องน่าเศร้า คือคนที่จะเริ่มตรงนี้ได้ ดิฉันว่าทำคนเดียวทำลำพังหรือมีจิตใจที่กล้าแข็งคงลำบาก แต่กำลังนึกอย่างนี้นะคะว่าสหภาพแรงงานของสื่อแต่ละที่เอง ถ้าจะเกิดขึ้นได้ต้องไปหาคนที่มีแนวคิดอย่างนี้ อย่างน้อยถ้าหัวหน้าข่าวของเราหรือเจ้าของหรือผู้บริหารของเรา ถ้าเขาเคยผ่านงานภาคปฏิบัติมา อย่างน้อยน่าจะนึกออกว่าตัวเองในวันที่ยังไม่ร่ำรวยยังไม่ได้เป็นเจ้าของสื่อมีความใฝ่ฝันและความต้องการที่จะทำงานอย่างไร ถ้ามีอะไรที่จะสามารถช่วยเหลือให้ดีขึ้นกว่าการจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ในที่ทำงาน อันนี้ก็ช่วยมีสวัสดิการด้านการเงินการทองพอแล้ว มีสวัสดิการอื่นของบริษัทพอแล้ว ก็อยากให้คิดถึงเรื่องมิติทางด้านแรงงานบ้าง ทีนี้เราบอกว่าเรื่องนี้ถ้าจะให้เกิดจริง ๆ ถ้าไม่ให้เป็นแค่เพียงหัวข้อสนทนาแล้วก็ให้สามารถเกิดได้ในชีวิตจริง คนที่จะผลักดันได้ก็ต้องรุ่นใหญ่ในสมาคม สมาคมนักข่าวหนังสือพิมพ์โทรทัศน์พวกนี้หรือแม้แต่สภาหนังสือพิมพ์จะมีรุ่นใหญ่ ๆ รุ่นผู้บริหารเยอะ ในฐานะสมาชิกกลุ่มก่อตั้ง ถ้าไม่ให้สมาคมเหล่านี้ออกหน้า ไม่เกิดหรอก ให้ฟังอันนี้ไปแทบตาย ตั้งเองก็ตั้งไม่ได้ ต้องให้สมาคมออกหน้าค่ะ ว่าถ้าเรื่องนี้ถ้าเปรียบเทียบกับทอผ้ายังมีสหพันธ์แรงงาน ทำสื่อแทบตายเกิดสหภาพที่เดียวยังไม่ได้เลย ต้องเอาเรื่องนี้ไปขายกันอย่างหนักว่าเราจะไปทำหน้าที่เรียกร้องความเป็นธรรม จะไปเป็นหมาเฝ้าบ้าน จะไปตรวจสอบเขาได้ยังไง ในเมื่อเรื่องในบ้านตัวเองก็ยังไม่สามารถจัดการได้เลยในแง่ความเป็นธรรมกับคนทำงาน แล้วให้นักข่าวตัวเล็ก ๆ มาหลีกเลี่ยงซองขาวหรือสินบนหรือการจัดเลี้ยงของขวัญปีใหม่ได้อย่างไร ในเมื่อชีวิตความเป็นอยู่ของเขาก็ยังต่ำกว่ามาตรฐานในหลาย ๆ เรื่อง ก็ต้องถกเรื่องกันอย่างนี้ แล้วก็ลองดูสิว่าผู้หลักผู้ใหญ่ที่มานั่งมีตำแหน่งจะเอาด้วยไหม จะกล้าไปเจรจากับเจ้าของผลักดันเรื่องนี้ได้หรือเปล่า ถ้าไม่รุ่นใหญ่ทำ ดิฉันบอกได้เลยตัวเล็กยังไงก็ไม่ หนักมาก ยากมาก เพียงแค่คุณคิดริเริ่มชวนเพื่อนมาจะตั้งสหภาพ คุณก็โดนเล็งแล้ว อาจจะได้ไปย้ายงานใหม่เลย แม้อยากมีสหภาพเหรองั้นก็ไปอยู่ที่อื่นละกัน ไปทำงานโรงงานอะไรสักอย่างที่เขามีสหภาพแล้วกัน เพราะว่าที่นี่ยังไม่มีนโยบาย ต้องให้รุ่นใหญ่ออกแรงไม่งั้นไม่เกิด ในส่วนของรัฐวิสาหกิจเอง

การมีสหภาพแรงงานที่บอกว่ามีสวัสดิการดีอยู่แล้วจนไม่รู้จะเอาอะไรอีกแล้ว  อันนี้ก็มีนะคะ  คือบางทีเหมือนกับมีแต่บางทีมันก็ล้าสมัย  อย่างตอนที่ทำสหภาพของ อสมท. บางอย่างเห็นแล้วก็น่าตกใจ มันมีเรื่องของสวัสดิการตัวนึงที่น่าขำมากก็คือว่ามีค่าช่วยเลี้ยงดูบุตร เราใช้กันมา 20 กว่าปีโดยไม่เคยเปลี่ยนเลย ค่าเลี้ยงดูบุตรเขาให้พนักงานเดือนละ 50 บาท ขอย้ำว่า 50 บาท 20 ปีแล้วที่ไม่เคยเปลี่ยนเลย เราก็ต้องไปดูมันเป็นไปได้ไง 50 บาท มันเลี้ยงลูกได้ยังไง วันละ 50 มันยังค้อนใส่เลย ลูกมันยังไม่เอา เขวี้ยงเงินใส่เลย จะไปเลี้ยงใครทั้งเดือน 50 บาท ก็ต้องได้อาศัยสหภาพที่ต้องไปเที่ยวกวาดต้อนดูว่าสวัสดิการของรัฐวิสาหกิจอื่น ๆ เรื่องของค่าเลี้ยงดูบุตรได้กันเท่าไร ก็ไม่มีใครใช้ 50 บาท ก็ยกตัวอย่างเรื่องนี้ขึ้นมา ก็ได้เป็น 200 บาท ก็ยังดีอย่างน้อยขึ้นมา 4 เท่าตัว ถึงจะดูน่าเกลียดในชีวิตความเป็นจริงว่ายังไม่ถึงวันละ 10 บาทเลยค่าเลี้ยงลูก อันนี้เป็นตัวอย่างนึง ถ้าไม่มีสหภาพมันก็ทำไม่ได้ สวัสดิการมีอยู่แล้ว เรียกร้องอะไรอีก ทำอะไรอีก จุดนึงของในเชิงรัฐวิสาหกิจมันจะมีเรื่องว่ามันจะต้องมีเรื่องของการดูแลปกป้องผลประโยชน์ของพนักงานและองค์กร สิ่งที่สหภาพ อสมท. ทำได้ เรื่องสวัสดิการหลังจากที่เราดูแล้วเราก็โอเค ไม่ขี้เหร่ นอกจากการช่วยเหลือบางครั้งบางคราวที่จำเป็นจริง ๆ อย่างการปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงภัย 3 ชายแดนภาคใต้ มีค่าเสี่ยงภัยให้เขาบ้าง หรือเรื่องของน้ำท่วม ถ้าไม่ไปกวาดต้อนเอาว่าบริษัทเอกชนใหญ่ ๆ หรือที่เขามีมาตรฐาน เขาช่วยเหลือพนักงานเรื่องน้ำท่วมก็ไม่เกิดไอ้พวกนี้ ครั้งคราวอะไรพวกนี้ ก็จะเป็นสิ่งที่สหภาพในเชิงรัฐวิสาหกิจทำให้ได้ แต่สิ่งที่กรณีของ อสมท. ที่ฉันไปพูดให้ที่อื่นไม่ได้นะคะ เพราะว่าไม่รู้ลึกของเขา แต่ในกรณี อสมท.

ในเรื่องของคำว่าปกป้องผลประโยชน์ขององค์กร มันทำให้สหภาพสามารถทำงานในเชิงตรวจสอบผู้บริหารตั้งแต่ผู้บริหารภายในที่เป็นพนักงานด้วยกันเองจนถึงคณะบุคคลภายนอกที่เข้ามาในรัฐวิสาหกิจไม่ว่าจะเป็นในรูปของบอร์ดหรือว่าผู้บริหารที่เป็นผอ.ก็ตาม ด้วยคำว่าดูแลผลประโยชน์ขององค์กร มันทำให้สหภาพสามารถมีบทบาทในเชิงตรวจสอบ สามารถที่จะทำหน้าที่ตรงนี้ สามารถที่จะผลักดันเรื่องพวกนี้ได้อีกทางหนึ่ง ไม่งั้นรัฐวิสาหกิจมันก็คือแหล่งหาผลประโยชน์ พนักงานทุกคนรู้ว่าอาจจะมีเรื่องไม่ถูกต้องเกิดขึ้น แต่ใครจะกล้าไปตรวจ ใครจะกล้าไปสอบถามถ้าไม่ผ่านสหภาพเพราะทุกคนก็มีสถานภาพมีตำแหน่ง ไปอยู่ในที่ประชุมก็ตัวเล็กกว่าเขาแล้ว แต่สหภาพแรงงานสามารถทำหน้าที่นี้ได้ ทั้งในการสอบถามผู้บริหารหรือแม้กระทั่งสอบถามจากการมีวงหารือที่เขาเรียกว่าคณะกรรมการกิจกรรมสัมพันธ์เป็นลักษณะเฉพาะตัวของรัฐวิสาหกิจที่ทำให้เราสามารถทำบทบาทเชิงนี้เกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้นในขอบข่ายความรับผิดชอบของสหภาพแบบรัฐวิสาหกิจ อสมท. มันก็เลยทำสารพัด พูดง่าย ๆ ว่าตั้งแต่เรื่องเล็ก ๆ เรื่องกระจิบกระจ้อย การจ้างงาน, การดูแล, หรือแม้กระทั่งเรื่องใหญ่ ๆ ก็ทำให้สหภาพได้ ยิ่งเฉพาะตัวรัฐวิสาหกิจของเราเองซึ่งเราถือว่าเราเป็นสื่อด้วย ยิ่งเป็นสื่อก็ยิ่งต้องทำหน้าที่ตรงนี้ให้เข้มแข็งเท่าที่จะทำได้   แต่กำลังนึกว่านี่คือ  อสมท.  แต่ถ้าเราไม่ว่าจะเป็นในส่วนรัฐวิสาหกิจแบบสื่อ   อสมท. ไม่ว่าจะเป็นส่วนราชการแบบสื่อกรมประชาสัมพันธ์ซึ่งเขาก็เคยคิดตั้งสหภาพแต่ก็ยังไม่ไปถึงไหน แล้วถ้ามารวมกันกับในเชิงเอกชนที่มีสาขาอาชีพอยู่ไม่ว่าจะเป็นวิทยุโทรทัศน์เอกชนหรือถ้าจะมีเคเบิลมีกลุ่มทำสื่อใหม่อะไรมากมาย ถ้าเรารวมตัวกันแล้วทำในเรื่องดีได้นอกเหนือจากในเชิงสวัสดิการที่จะให้ข้อมูลที่มีซึ่งกันและกัน ใครมีอะไรดีสามารถไปอ้างอิงกันได้เพราะว่าของเหล่านี้ต้องมีการอ้างว่าคนอื่นเขาทำมาเขาเริ่มไว้ ถ้าเราทำอย่างนี้ได้มันก็จะยิ่งเป็นช่องทางที่อย่างน้อยอาชีพนักข่าวมันก็ยังคงเป็นอาชีพที่ไม่ได้ดูย่ำแย่ ยังสามารถมีเกียรติมีศักดิ์ศรีในการทำงานได้ และในยามจำเป็นของบ้านเมืองมันก็มีพลังในการที่จะผลักดันหรือเรียกร้องที่จะทำให้เกิดการขับเคลื่อนอะไรบางอย่างนะคะ พอแค่นี้ก่อนค่ะ


นายชวรงค์  ลิมป์ปัทมปาณี  นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า

วันนี้ก็ขอบคุณวิทยากรที่มาร่วมเสวนาก็อยากจะบอกว่านี่ก็เป็นความพยายามอันนึงของสมาคมนักข่าวหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยนะครับ ที่จะพยายามร่วมในการผลักดันให้เกิดสหภาพแรงงานของนักข่าวขึ้นมาเพื่อที่จะช่วยกันดูแลผลประโยชน์ในเรื่องของชีวิตความเป็นอยู่ ก็คิดว่าตุ๊กพูดหลายเรื่องก็ตรงประเด็น เรื่องว่าการที่เราไม่มีสหภาพแรงงานก็ทำให้เกิดปัญหาเรื่องของจริยธรรมตามมาด้วย แต่ว่าส่วนที่บอกว่าสมาคมนักข่าวต้องเป็นหัวหอก อันนี้ก็สิ่งที่เราทำได้ ผมอยากจะบอกว่าถ้าสมาคมไปตั้งสหภาพเองคงจะไม่เหมาะแล้วก็อันนี้พอดีไม่เคยเล่าให้ฟัง เล่าให้ฟังหลายวงแล้ว ก็เคยมีคนเขาท้วงติงบอกว่าจริง ๆ แล้วคิดมาทำ 10 ปีแล้ว แล้วก็บอกว่าถ้าทำสหภาพ พวกคุณไปทำก็พวกคุณอีกนั่นแหละ ก็ไม่มีคนใหม่เข้ามาก็จะเป็นคนเดิม ๆ ตั้งองค์กรใหม่ก็คนเดิมเข้าไปทำอีก

อันนี้ก็เลยคิดว่าเราอยากจะขยายวงออกไปเพื่อที่จะให้มีคนเข้ามา อย่างที่พี่ศักดินาว่าต้องมียุทธศาสตร์ชัดเจนต้องมีคนที่มุ่งมั่น ตอนนี้ต้องบอกว่าสมาคมนักข่าวปีนี้ซึ่งกำลังจะหมดแล้วถ้ายังอยู่ต่อถึงปีหน้าก็จะเดินหน้าเรื่องนี้อย่างเรียกว่าเต็มสูบในเรื่องของการที่จะให้การสนับสนุนทุกอย่างเท่าที่จะทำได้ ต้องบอกเลยว่าไม่มีกั๊กแล้วก็ไม่มีกลัวว่าถ้ามันเกิดสหภาพแรงงานขึ้นมาแล้ว นักข่าวหรือว่าสหพันธ์แรงงานมันจะมาทำให้บทบาทของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์มันน้อยลงไปในเรื่องของสิทธิเสรีภาพ อันนี้ไม่เคยคิดอยู่ใน agenda เลย  เราคิดอย่างเดียวว่าทำยังไงที่จะให้เกิดให้ได้  เพราะว่าเกิดให้ได้มันจะลด  คือพูดง่าย ๆ คือผมไม่ได้พูดว่าลดภาระตัวผม ลดภาระของตัวสมาคมในอนาคต เพราะว่าทุกคนก็คงทราบดีเวลามันเกิดปัญหาเรื่องสวัสดิการการดูแลตั้งแต่เรื่องเวลาเกิดการชุมนุม, การดูแลสวัสดิภาพของนักข่าวควรจะต้องมีเครื่องป้องกันให้เพียงพอ ควรจะมีเบี้ยเสี่ยงภัย ควรจะมีอะไรต่าง ๆ นักข่าวก็เรียกร้องมาที่สมาคม แต่ว่าข้อจำกัดของสมาคมก็มีอยู่ที่ทุกคนก็ทราบดีว่าเรามาอยู่ตรงนี้ได้ด้วยฉันทานุมัติของนายจ้าง ถ้าไปทำอะไรที่มันเกินเลยจากบทบาท พวกเราก็ไม่สามารถที่มาทำงานที่นี่ได้ ถ้าไม่มาทำงานที่นี่ได้ก็อาจจะไม่มีใครทำงานเลย หรือว่าก็อาจจะต้องปล่อยให้มันเป็นไปอย่างนั้นรึเปล่า ไม่ทราบ แต่ว่าเราก็พยายามทำเท่าที่เราสามารถจะทำได้ ก็มีการเจรจาภายใน, มีการพูดคุยอะไรต่าง ๆ นั่นคือสิ่งที่สมาคมทำได้ ณ วันนี้ก็อย่างที่บอกก็คืออะไรที่สมาคมสามารถทำได้ตั้งแต่เรื่องของการหาทุน

อันนี้ก็ได้พาร์ทเนอร์อย่างเอฟอีเอสก็พร้อมที่จะมาร่วม แล้วยังมีที่รออยู่ข้างนอกอีก international federation of journalist  ( IFJ ) รออยู่ เจอผมทีไรก็ถามทุกทีว่าเมื่อไรจะตั้งพร้อมที่จะระดมกำลังมาจากทั่วโลก สหภาพแรงงานนักข่าวทั่วโลกที่จะมาร่วมสนับสนุนให้เกิด แต่ว่านอกจากนี้ก็เรื่องของสถานที่, เรื่องเจ้าหน้าที่, เรื่องเรียกว่าระบบธุรการทั้งหมด ตอนนี้สิ่งที่เราขาดคือเราขาดคนที่มุ่งมั่น ซึ่งเราก็กำลังก็พยายามจะคุยกันอยู่ว่าก็มีน้อง ๆ หลายคนที่มุ่งมั่น เราก็พยายามจะดึงเข้ามาแล้วก็สร้างเวทีที่ให้มันค่อย ๆ เกิด แล้วก็น่าดีใจที่ว่าได้คุยกับทาง SPS บอกว่า SPS ก็เข้าใจดีว่ากระบวนการในการเกิดขึ้นของสหภาพแรงงานมันก็ไม่ได้ง่าย มันไม่สามารถจะเสร็จได้ภายใน 3 เดือน 6 เดือน ก็ต้องใช้เวลามากกว่านั้น ก็ยังพร้อมที่ให้การสนับสนุน แล้วผมก็คิดว่าของเราก็ทำต่อ ผมไม่แน่ใจว่าเสด็จในฐานะที่เป็นนายกที่ดูแลเรื่องนี้ได้บอกด้วยหรือเปล่าว่าสิ่งที่เรากำลังทำคู่ขนานกันไปก็คือเราจะมีงานวิจัยถึงสวัสดิการแล้วก็สวัสดิภาพของนักข่าว คือตอนนี้เงินเดือนของนักข่าวแต่ละที่สวัสดิการมีอะไรมั่งมากน้อยแค่ไหน ซึ่งเราเคยทำเมื่อ 10 ปีที่แล้ว แต่ก็จะมาอัพเดตกันอีกทีนึง รายได้ของเราไปเปรียบเทียบกับอาชีพอย่างอื่นเป็นยังไง แล้วก็เรื่องของการที่รายได้เท่านี้กระทบกับจริยธรรมไหม มีส่วนในเรื่องมีปัญหาเรื่องสิทธิเสรีภาพอะไรรึเปล่าอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ เพื่อที่จะมาหนุนช่วยให้เกิดความชอบธรรม แต่ที่สำคัญที่เมื่อกี้ตุ๊กบอกก็คือว่าสิ่งที่เราต้องทำเราก็เตรียมกันไว้แล้ว นั่นก็คือการที่เราจะต้องไปช่วยล็อปปี้กับนายจ้างผู้บริหารในกรณีที่มันมีการรวมตัวกันขึ้นมาก็เป็นหน้าที่หลักของเราเลยที่จะต้องไปรีเซนต์ให้ว่าการเกิดตรงนี้ ที่บอกก็คือว่ามันสามารถที่จะสร้างมิติทางด้านแรงงานที่สร้างสรรค์ได้ มันไม่จำเป็นที่พอมีสหภาพแรงงานแล้ว มันจะต้องเกิดความขัดแย้ง จะต้องทำให้นายจ้างลูกจ้างไม่สามารถทำงานด้วยกันได้เสมอไป

อันนี้ก็เป็นหน้าที่ของพวกเราที่อยู่ที่สมาคมนักข่าวซึ่งก็ยอมรับว่าเป็นงานหนัก แต่เราก็พร้อมที่จะทำ พร้อมที่จะร่วมผลักดันตรงนี้ไป วันนี้ก็เป็นอีกจุดนึงที่เราได้แลกเปลี่ยน เพราะว่าได้เจอกับกลุ่มคนที่ทำตรงนี้มา แล้วก็ผมคิดว่าทั้ง 3 สหภาพ 1 สมาพันธ์ก็คงจะได้ช่วยเป็นพี่เลี้ยงหรือเป็นแกนหลักที่จะให้เกิดขึ้นได้ต่อไป ผมคิดว่าผมมีแนวคิดว่ามันต้องอุตสาหกรรมเดียวกันมันถึงจะเข้าใจกัน ถ้าไปเอาคนจากอุตสาหกรรมอื่นมาผลักดันสหภาพแรงงานนักข่าว ผมว่าบางทีก็อาจจะไม่ค่อยเข้าใจว่าสภาพการจ้างหรือว่าลักษณะของวัฒนธรรมการจ้างมันก็แตกต่างกันไป คงจำได้นะครับหลายคนอาจจะเคยได้ยินหรืออาจจะไม่เคยได้ยินมีผู้หลักผู้ใหญ่ในแวดวงสื่อเวลาพูดถึงเรื่องการเรียกร้องสหภาพแรงงานนักข่าวอะไรต่าง ๆ เขาก็จะบอกว่ามีใครเอาปืนจี้หัวคุณให้มาทำอาชีพนี้รึเปล่า ถ้าคุณไม่อยากทำอาชีพนี้คุณไม่พอใจก็ไปทำอาชีพอื่นจะมาทำอาชีพนี้ทำไม อาชีพนี้มันต้องทำงานหามรุ่งหามค่ำ อยู่ได้ตลอดเวลาจะมาบ่นไม่ได้จะมาเรียกร้องอะไร อันนี้ก็เป็นเสียงสะท้อนจากผู้หลักผู้ใหญ่ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าวันนี้แนวคิดท่านเปลี่ยนไปแล้วรึยัง เพราะว่าท่านก็ผ่านร้อนผ่านหนาวในช่วง 5, 6 ปีที่ผ่านมาหลายเรื่องเหมือนกัน ผมเจอผมอาจจะลองถามดูว่าท่านยังคิดเหมือนเดิมอยู่รึเปล่า เพราะว่าท่านเองก็ไปเจอประสบปัญหากับพวกนี้หลายเรื่องเหมือนกันในช่วงที่ผ่านมา อันนี้ก็เป็นส่วนที่อยากสะท้อน แล้ววันนี้เราก็มีเข้าใจว่ามีแขกเพิ่ม ผู้มีเกียรติในฐานะอดีตเลขาธิการสหภาพแรงงานนักหนังสือพิมพ์เมื่อ  20  ปีก่อน  30  ปีก่อนมาร่วมแชร์ประสบการณ์กับเราวันนี้ด้วย  พี่อลงกรณ์  พลบุตร ก็ขออนุญาตต้อนรับพี่ด้วยนะครับ ผมก็มีเรื่องสะท้อนเท่านี้ ก็แลกเปลี่ยนกัน มีประเด็นก็ต่อ ขอบคุณครับ

ประเด็นต่าง ๆ ที่เราพูดคุยกันเรื่องของสวัสดิการของตัวนักข่าวเองในเรื่องของจุดนี้แล้วก็สวัสดิภาพของเขาเองอย่างการที่เสวนานี้ เราก็พยายามที่จะประชาสัมพันธ์แล้วก็เชิญชวนนักข่าวภาคสนามให้เข้ามาร่วมซึ่งก็เท่าที่เห็นมีอยู่เท่านี้ ทีนี้ก็คือว่าอยากจะเชิญให้ช่วยกันระดมความเห็นการที่จะช่วยกันสร้างความตระหนักให้กับตัวนักข่าวเอง ตระหนักในสิทธิเสรีภาพและก็ความสำคัญในการที่จะมีสหภาพแรงงาน ขอเชิญทั้งวิทยากรแล้วก็ทั้งในเวทีที่ร่วมเสวนานี้ด้วยนะคะ

โปรดสังเกตนะครับที่ตั้งหัวข้อ พยายามตั้งหัวข้อแบบนี้แล้วนะ ยังไม่กล้ามากันอีก ถ้าตั้งวันนี้จะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตั้งสหภาพยิ่งอาจจะไม่มาเลย

 

 

ประสพสินธุ์  บุญประสิทธิ์

ประธานสมาพันธ์พนักงานองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย

ของที่กระจายเสียง เรื่องสวัสดิการเหมือนกัน ตอนแรกของเรายอมรับว่าเป็นน้องใหม่ก่อตั้งมาได้ 3 ปี โดยพรบ. ฉะนั้นระเบียบสวัสดิการต่าง ๆ มันจะยังไม่มี มันถูกกำหนดโดยคณะกรรมการพรบ. ให้พนักงานจัดตั้งคณะกรรมการสวัสดิการขึ้นมาก่อน แล้วก็ใช้กรรมการสวัสดิการกำหนดว่าในสวัสดิการมันมีอะไรบ้าง อย่างที่ผมเองตอนนี้เป็นทั้งคณะกรรมการสวัสดิการ, คณะกรรมการสหกรณ์, แล้วก็ประธานสมาพันธ์ เป็นเยอะไปหมด แล้วก็ในส่วนของสวัสดิการตอนนี้ที่เรามีก็คือ ค่ารักษาพยาบาลมีเรียกร้องตามที่กำหนดไว้ หลายอย่าง และก็ที่ล่าสุดที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงก็คือค่ารักษาพยาบาลซึ่งปกติจากปีละ 40,000 เราก็เรียกร้องมาเป็นปีละ อาจจะค่อนข้างมากกว่าที่อื่นนิดนึง คาดว่าประมาณแสนกว่าบาท ไม่ว่าเจ็บป่วยก็ไปก็จะได้ ถ้าเป็น OPD วงเงิน 40,000 บาท ซึ่งตรงนี้เราก็เรียกร้องบอกว่ามันควรจะเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งถ้าถามว่าถ้ารวมตัวกันได้อย่างนี้ เป็นจำนวนของพนักงานสื่อสารมวลชนทั้งหมดทั้งประเทศไทย ไม่ว่าจะทีวีทุกช่องหนังสือพิมพ์ทุกฉบับถ้ารวมตัวกันได้ มันก็จะเป็นการทุกข์สุขพี่ ๆ น้อง ๆ ของเราเองด้วยกัน เพราะผมเชื่อว่ากรณีที่เกิดภัยพิบัติอย่างน้ำท่วมก็อาจจะได้ไม่ทั่วถึง บ้างหน่วยงานอาจจะได้มาก ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับช่องอื่นว่าช่องนี้ก็ไม่น้อย งั้นถ้าเป็นไปได้ ถ้ามีการรวมตัวของสหภาพพนักงานสื่อสารมวลชนได้ ผมว่ามันเป็นการร่วมมือขององค์กรสื่อ ซึ่งจะทำให้ความรู้สึกทุกคนความเข้มแข็งและความมั่นคงในวิชาชีพมากกว่า แทนที่ในการเสี่ยงว่าไม่ทำตามรัฐบาลแล้วจะมีปัญหา สหภาพสามารถออกหน้าได้เพราะว่าเราเป็นตัวแทนของพนักงานสื่อทุกคน เช่นบางข่าวเราต้องยอมรับมาทำ ขอพาดพิงนิดนึงเพราะว่าหนังสือพิมพ์แม้กระทั่งทีวีเอง บางทีก็เป็นการสะท้อนว่าอยากทำใช่ไหมขอได้ไหม ซึ่งถ้าเราจะทำให้เป็นมาตรฐานเหมือนต่างประเทศ เขาก็มีสถานีของเขา การที่เราจะมีสถานีของเราได้ เราต้องร่วมมือกันทุกวิชาชีพ พี่ ๆ หนังสือพิมพ์และก็พี่ ๆ วงการทีวีทุกคน ถ้าเราร่วมมือกัน ขอเพียงเชื่อมั่นว่าการจัดตั้งสหภาพของสื่อสารมวลชนตรงนี้ มันจะช่วยคุ้มครองพนักงานและช่วยสวัสดิการที่ยังไม่เท่าเทียมกันให้เท่าเทียมให้มากที่สุด ประมาณนี้

 

ศักดินา  ฉัตรกุล ณ อยุธยา นักวิชาการด้านแรงงาน

โจทย์ที่ให้มาคือทำไมเราต้องมีสหภาพในองค์กรสื่อนะครับ ประเด็นแรกเลย สหภาพทุกคนก็เป็นคนงานเป็นพนักงาน บางทีเราอาจไม่รู้สึกว่าเราก็เป็นผู้ใช้แรงงานเหมือนกัน การมีสหภาพแรงงาน การมีสิทธิในการที่จะไปเจรจาต่อรองที่ตะกี้ทั้ง 3 ท่านพูดไว้คือ ถ้าไม่มีสหภาพนี่ยาก ในการที่จะไปมีในการเจรจาต่อรอง เขาถือว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานสำหรับ ในเมื่อคนทำสื่อ, พนักงานสื่อ, สื่อมวลชนเป็นคนงานคนหนึ่งเหมือนกันก็ควรจะได้รับสิทธินี้ แล้วสิทธิเป็นขั้นพื้นฐานเป็นสิทธิที่ได้รับการรับรองโดยปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ เป็นสิทธิที่อยู่ในอนุสัญญา 2 ฉบับ ของ  ILO ฉบับที่ 87 ซึ่งถือเป็น 2 ใน 8 ฉบับที่เป็น เขาเรียกว่า พอล standard ก็คือเป็นมาแล้ว อนุสัญญาหลักที่เป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน ทุกประเทศจะต้องเคารพ ถึงแมคุณจะให้สัตยาบรรณหรือไม่ให้ก็ต้องปฏิบัติตาม

ประเทศไทยเป็นประเทศที่ไม่ให้สัตยาบรรณอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับนี้ คือฉบับที่ 87 เหลืออีก 30 ประเทศในโลกที่ไม่ให้สัตยาบรรณ ฉบับที่ 98 เหลือ 20 ประเทศ เราอยู่ใน 30 กับ 20 ประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นประเทศเผด็จการหรือไม่ก็เป็นประเทศที่เป็นสหพันธรัฐ  เขามีกฎหมายที่แตกต่างกัน   ทำให้สัตยาบรรณยาก แต่ว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ชัดเจนว่าเราไม่เคารพในเรื่องสิทธิ ก็ทำให้ประเทศไทยมีคนงานเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานน้อย อันดับที่บ๊วย ๆ ของโลก ศึกษาเปรียบเทียบกันประเทศต่าง ๆ เรามีคนงานเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานเพียง 1.3% ของคนทำงานทั้งหมด ซึ่งเป็นความเข้มข้นที่ต่ำมาก แล้วมันก็สะท้อนถึง มันไปมีความสัมพันธ์กับเรื่องของความเป็นธรรมไม่เป็นธรรมความเลื่อมล้ำในสังคม

ประเทศไหนที่มีคนเป็นสมาชิกน้อย มันจะมีความสัมพันธ์กับความเลื่อมล้ำ ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนและเราอยู่ในกลุ่มที่ชัดเจนว่าเรามีความเลื่อมล้ำสูง ประเทศไหนที่มีคนเป็นสมาชิกเยอะก็จะมีความเลื่อมล้ำน้อยเพราะว่าไอ้ความเลื่อมล้ำมันมาจากการกระจาย การกระจายรายได้มันมาจากการเจรจาต่อรองระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ถึงบอกว่าฉะนั้นในฐานะที่เราเป็นคนงานคนนึง มันเป็นสิทธิพื้นฐานเลยทีเดียว ประเทศไทยเป็นประเทศที่รับรองสิทธิพื้นฐานมาโดยตลอด แต่ว่าสื่อมวลชนน่าจะแตกต่างจากคนงานประเภทอื่น ๆ เพราะเราอยู่ใกล้เรื่องสิทธิเสรีภาพในการเสนอข่าว เรามีความเป็นเดือดเป็นร้อนกับประเด็นเรื่องของสิทธิมาก แต่เรากับสนใจเรื่องสิทธิของตัวเองค่อนข้างน้อย เรามีสหภาพอย่างที่ทราบ ตอนนี้มีการรวมตัวกันเป็นองค์กร จริง ๆ 3 สหภาพกับอีก 1 องค์กรที่สหภาพแรงงานตามกฎหมายซึ่งถือว่าน้อยมาก ถ้าถามว่าทำไมคนงานจึงต้อง นักข่าวต้องสนใจที่จะรวมกัน ถ้าคนศึกษาประวัติศาสตร์ของขบวนการแรงงานเรื่องของการรวมตัวในประเทศไทยมันเริ่มคุณทวัช นิทิเดช สมัยรัชกาลที่ 6 เป็นคนแรกที่รวมกลุ่มไม่นับถึงองค์กรใต้ดินคนจีนโพ้นทะเล ทวัช นิทิเดช เป็นกลุ่มแรก เขาเป็นสื่อมวลชนเป็นนักหนังสือพิมพ์ ถือว่าเป็นนักหนังสือพิมพ์รุ่นอาวุโสรุ่นแรก ๆ ในช่วงนั้น โดยประวัติแล้วเรื่องของการรวมตัวกันของคนงานสหภาพแรงงานกับสื่อมันไม่ใช่เรื่องที่แปลกแยก แต่ว่ามันกลายเป็นเรื่องแปลกแยกในเรื่องข้อเท็จจริงว่าเราสหภาพกับสื่อกลับกลายเป็นเรื่องที่ห่างกันพอสมควรด้วยข้อจำกัดหลายอย่างในสังคมไทย

ฉะนั้นสภาพที่เรามาคุยกันว่าสวัสดิการของคนงานเรื่องของค่าจ้าง, เรื่องของความมั่นคงในการทำงานของคนงานในองค์การสื่อแตกต่างกันเพราะว่าเราไม่มีสหภาพแรงงาน ก็เลยขึ้นอยู่กับดุลอำนาจดุลยพินิจของนายจ้างเป็นส่วนใหญ่ เขาเป็นคนกำหนดสภาพการจ้าง เขาเป็นคนกำหนดค่าจ้าง เขาเป็นคนกำหนดมาตรฐานต่าง ๆ ถ้าเรายังอยู่ในสภาพแบบนี้ก็คงจะลำบากขึ้นเรื่อย ๆ ถึงบอกว่ามันมีความจำเป็นที่จะต้องคนสื่อจะต้องหันมาสนใจเรื่องของการรวมตัวกันเป็นสหภาพ ที่ถามว่าทำไมมันถึงยาก ของในบ้านเราคนทำสื่อจริง ๆ ไม่รวมตัวกันมันถึงมีน้อย โดยธรรมชาติแล้วปกติโดยภูมิหลังของมัน มันเกิดขึ้นจากคนที่อ่อนแอมาก ๆ ส่วนใหญ่จะเป็นพวก blue collar คอปกน้ำเงิน คนที่เป็นคนที่ใช้พลังงานเป็นหลักก็จะเข้ากันได้ดีกับสหภาพเพราะเขารู้สึกอ่อนแอ เขาต้องรวมตัวกัน แล้วถึงมารวมตัวกันเพื่อที่จะต่อรอง เพื่อให้เขาได้รับความเป็นธรรม แต่ว่ากรณีของสื่อ สื่อส่วนใหญ่จะเป็นชนชั้นกลาง เป็นคน white collar ซึ่งปกติโดยธรรมชาติคนเหล่านี้จะมีความเชื่อมั่นในตนเองค่อนข้างมากกว่าถ้าเทียบกับคนที่เป็น blue collar งั้นโดยธรรมชาติแล้วการรวมตัวของคนเหล่านี้จะเป็นไปได้ช้ากว่า แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นไปไม่ได้ ในหลายประเทศคนที่ทำสื่อก็รวมตัวกันและก็เป็นองค์กรสหภาพแรงงานที่มีความเข้มแข็งด้วย แต่ว่าบ้านเราก็โดยธรรมชาติของการที่ว่าคนงานสื่อเป็น white collar ซึ่งคิดว่าตัวเองช่วยตัวเองได้แล้วก็สนใจที่จะมารวมกันน้อย เพราะว่ามีทางเลือกมากกว่า ไม่พอใจกับสภาพการจ้างก็จะใช้วิธีหนีไป ไปหาสภาพการจ้างอื่น ไปหานายจ้างอื่น ซึ่งก็เป็นวิธีการที่ทำให้ไม่สามารถที่จะปรับสภาพการจ้างได้ เป็นวิธีที่ไม่ถูกต้อง ข้อจำกัดอีกอันนึงที่ทำให้คนสื่อไม่สามารถที่จะมีการรวมกันได้ เรามีข้อจำกัดเรื่องวัฒนธรรม เราอยู่ในสังคมไทยซึ่งมันมีวัฒนธรรมทางการเมืองที่ไม่สอดรับกับการมีสหภาพแรงงาน

สหภาพแรงงานมันมีในสังคมที่เป็นประชาธิปไตย มันเป็น indicator ตัวนึงของความเป็นประชาธิปไตยของสังคมด้วย ประเทศไทยเราเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตย 80 ปี แต่ว่าวัฒนธรรมทางการเมืองจะเป็นแบบอุปธรรม ระบบวัฒนธรรมทางการเมืองแบบอุปธรรมเป็นอุปสรรคสำคัญของการรวมตัวกัน เพราะว่านายจ้างต้องการเป็นผู้อุปถัมภ์ ลูกจ้างก็ยังพอใจเป็นผู้ได้รับการอุปถัมภ์ นี่เป็นข้อจำกัด เรายังมีข้อจำกัดเรื่องข้อกฎหมายเรื่องอะไรอีกหลายอย่างที่ทำให้เราไปสู่ตรงนั้นยาก การที่ไปยากก็ทำให้มันขาดความมุ่งมั่นที่จะไป แต่ถามว่าถ้าเราจะไปถึงจุดที่จะทำให้เกิดสหภาพสื่อ ผมเห็นด้วยกับแนวความคิดเรื่องที่มีสหภาพกลาง จริง ๆ แล้วในหลายประเทศปรากฏการณ์แรงงานที่เข้มแข็ง มันจะต้องเป็นสหภาพที่ใหญ่ เป็น industry union หรือเป็น national union คือสหภาพที่ครอบคลุมทั้งอุตสาหกรรมหรือทั้งประเทศ มันก็จะทำให้มีอำนาจในการต่อรอง

แต่ว่าระบบสหภาพบ้านเรามันจะเป็นแบบที่เรียกว่า out union คือสหภาพสถานประกอยการใครสถานประกอบการมันซึ่งมันก็จะเป็นการต่อรองเฉพาะในสถานประกอบการเป็นส่วนใหญ่ แล้วมันก็จะไม่เอื้ออำนวยประโยชน์ให้กับคนในวิชาชีพเดียวกันที่ไม่มีสหภาพ ผมเห็นด้วยว่าต้องมาคิดว่าจะไปในสหภาพแบบไหน สหภาพที่มีอยู่ ถ้าสมมุติเราจะไปในทิศทางที่จะเป็นแบบ industry union หรือสหภาพกลาง สหภาพที่มีอยู่จะปรับกันยังไง จะปรับบทบาทยังไงก็เป็นสิ่งที่จะต้องขบคิดต่อไปว่าด้วยข้อจำกัดที่ผมบอกว่าเราผ่านมาตั้งหลายปีแล้วเราเพิ่งมี 3 สหภาพในสื่อ แสดงว่ามันมีความยากลำบาก ขนาดในอุตสาหกรรมอื่นที่มีสหภาพเยอะ มันก็ยังมีอุปสรรคเยอะ นี่แสดงว่ามีอุปสรรคมากกว่า จะต้องใช้ความพยายามมากเป็นพิเศษอย่างยิ่งยวด เพราะว่าการตั้งสหภาพแต่ละสหภาพมันใช้เวลาเยอะ ต้องใช้เจตนารมณ์ความมุ่งมั่นความเสียสละของคน มันจะต้องมีคนกลุ่มหนึ่งที่เห็นคุณค่าเพียงพอที่จะสละเวลา เสียสละเพราะว่าบางครั้งก็อาจจะต้องเอาอนาคตของตัวเองเข้าแลก ต้องตกงาน ต้องเผชิญกับอะไรหลายอย่าง

ถ้าจะไปถึงจุดนั้นก็ต้องมีคณะบุคคลแบบนี้ก่อนเพื่อที่จะมาเป็นตัวตั้งต้นในการที่จะก้าวไปถึงจุดนั้นและก็มาช่วยกำหนด ถ้าจะทำให้เกิดขึ้นจริง อย่างที่กรณีของเนชั่น เขาเริ่มที่การมีคณะกรรมการลูกจ้างก่อนเป็นการเริ่มต้นที่หลาย ๆ สหภาพในประเทศไทยทำ เพราะว่ากฎหมายแรงงานสัมพันธ์มันไม่คุ้มครองผู้ก่อตั้งสหภาพ แต่ว่าเขาคุ้มครองคณะกรรมการลูกจ้าง ง่าย ๆ ว่าไปฟ้องศาลอย่างเดียว ก็จะเป็นเหมือนเครื่องมือปกป้องไม่ให้ถูกนายจ้างเลิกจ้างได้และก็อาจจะต้องมาคิดค้นวิธีการ ถ้าจะเราตั้งสหภาพแรงงานเพื่ออะไร เพื่อปกป้องผลประโยชน์คนงานด้วยกัน เข้าไปเจรจา เปอร์เซ็นต์การยื่นข้อเรียกร้องก็จะต้องมี 15% หรือสหภาพก็ต้องมี 20% ฉะนั้นผมคิดว่าเรื่องเหล่านี้รายละเอียดแบบนี้ต้องมานั่งคิดกันว่าถ้าจะจัดตั้งสหภาพแบบกลาง เราจะทำยังไงถึงจะครอบคลุมสื่อทุกแขนงให้เข้ามา แล้วเราจะทำยังไงถึงจะให้เขา เพราะว่ามันมีอุปสรรคมีแรงต้านทานเยอะมาก พี่น้องจะรู้สึกมั่นใจที่จะเข้ามา ถ้าเขาเข้ามาแล้วเขาไม่ถูกเลิกจ้าง อันนี้เป็นโจทย์ที่คนที่จะก่อตั้งต้องคิด ก็ต้องทำแบบพลิกแพลงเป็นแล้วก็ต้องเหมือนกับขู่ คือมีลูกขู่กับนายจ้างด้วยว่าเราเอาจริง ถ้าคุณเล่นงานคนของเราก็ต้องเจอกัน อาจจะต้องเป็นต้องมานั่งคุยกำหนดยุทธศาสตร์ ในเบื้องต้นก็ประมาณนี้ว่าถ้าจะทำ ผมเห็นด้วยมีความจำเป็นที่ต้องทำ และยิ่งไม่ทำเราก็จะถูกเป็นฝ่ายปฏิบัติและเราก็จะวิ่งหนีไปเรื่อย ๆ หาที่ ๆ ดีกว่า ท้ายที่สุดมันจะเป็นหลุมเต็มไปหมด แล้วจะเหลือไม่กี่พื้นที่ที่เราจะสามารถทำงานอยู่ได้ นายจ้างก็จะได้ใจที่จะกำหนดสภาพการจ้างด้วยตัวเอง แต่ว่าถ้าจะทำ จะทำยังไง ต้องมียุทธศาสตร์แล้วก็ต้องมีขั้นตอนที่มุ่งมั่นเอาจริงเอาจังด้วย เพราะว่าไม่เอาจริงเอาจังเกิดยาก แต่ผมคิดว่ามีความจำเป็นที่จะต้องทำ ขอบคุณ และก็โดยเฉพาะสื่อ สื่อเป็นองค์ประกอบสำคัญของประชาธิปไตย ถ้าสื่อไม่เข้มแข็งก็เป็นประชาธิปไตยไม่ได้ แต่สื่อจะเข้มแข็ง ถ้าเขาไม่มีองค์กรปกป้องก็ไม่มีอำนาจที่จะไปทำหน้าที่ของตนเองได้

 

คุณอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตนักข่าวที่ร่วมก่อตั้งสหภาพแรงงานกลางสื่อ

ความจริงประธานสหภาพแรงงานหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยคนที่ 2 ก็อยู่ที่นี่ พี่วิทยา ที่หนึ่งคือพี่พัต พี่พัตเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้ง แต่ว่าจดทะเบียนเป็นทางการก็พี่วิทยา ตอนนั้นหาคนเป็นประธานยาก แต่ว่าตอนนั้นต้องเรียนว่ามันเป็นสถานการณ์คาบลูกคาบดอกระหว่างเรื่องสวัสดิภาพสวัสดิการและก็เสรีภาพ มัน 3 ด้านด้วยกัน ขณะนั้นสถานการณ์ของสื่อมวลชนบ้านเราอยู่ในภาวะที่ถือว่าเป็นอาชีพที่ไม่มีความมั่นคงเลย ขณะเดียวกันเสรีภาพก็มี ปร.42 เป็นโซ่ตรวน ทางด้านของสวัสดิการก็แย่มาก ทั้งในกรุงเทพต่างจังหวัดก็ถูกคุกคาม เพราะฉะนั้นทั้ง 3 ด้านจึงทำให้เกิดแรงกดดันในการก่อตัวที่เป็นสหภาพแรงงานที่เป็นระดับอุตสาหกรรม ไม่ใช่เป็นระดับสถานประกอบการ เพราะฉะนั้นในปี 2524 ก็ครบ 30 ปีพอดี ผมและสมัครพรรคพวกซึ่งตอนนี้ก็ล้วนแล้วแต่เป็นผู้เป็นใหญ่หลาย ๆ คน มีทั้งสภาอยู่ในรัฐบาลอยู่ในฝ่ายค้านและก็ยังอยู่ในสื่อมวลชน ส่วนใหญ่ก็เป็นผู้บริหาร อย่างเทพชัยย่องก็พูดได้, ปราโมทย์ หลายต่อหลายคนทั้งที่มีชีวิตและก็เสียชีวิตไปแล้ว ตอนนั้นก็รวมกันตั้ง 2 ลักษณะ หนึ่งก็คือว่าเป็นสหภาพระดับอุตสาหกรรมไม่ใช่ระดับสถานประกอบการก็คงเป็นเหตุผลเดียวกันคือไม่ต้องการการเผชิญหน้าตรง ๆ  สองก็คือว่ารวมทุกพนักงานไม่ใช่เฉพาะในกองบรรณาธิการ ก็รวมทั้งพนักงานฝ่ายอื่น ๆ ด้วย สมัยนั้นยังไม่มีคอมพิวกราฟฟิก ยังเรียงพิมพ์ โรโตรี่แล้ว แต่ว่ายังเรียงพิมพ์

เพราะงั้นจะมีพนักงานค่อนข้างมาก ยังไม่ใช้เทคโนโลยีโนว์ฮาวมากนัก ช่างกล้องช่างภาพก็ยังมาโหลดฟิล์มตัดฟิล์มทุกเช้า ไม่มีดิจิตอล เพราะนั้นก็เป็นฝีมือจริง ๆ เป็นแรงงานจริง ๆ ก็รวมอยู่ด้วยรวมทั้งคนขับรถที่ในการส่งหนังสือพิมพ์อะไรต่าง ๆ ก็เป็นลักษณะที่สอง ลักษณะที่สามต่างไปจากสภาพโดยทั่วไปก็คือว่าเป็นสหภาพที่ไม่ใช่ทำเฉพาะเรื่องของสวัสดิภาพสวัสดิการเท่านั้น ไม่ใช่เรื่องของสัญญาการจ้าง, เรื่องของสิทธิการจ้างเพียงเท่านั้น แต่ว่าตั้งใจที่จะเป็นองค์กรต่อสู้ในเรื่องของเสรีภาพ ต่อสู้กับทางภาครัฐ และก็ต่อสู้ ขณะนั้นต้องเรียนว่ามีหนังสือพิมพ์ที่อยู่ได้เพียงฉบับสองฉบับเท่านั้น 2, 3 ฉบับเท่านั้นเอง นอกนั้นนี่ตัวแดงหมด จะพิมพ์ก็ต้องขอไอ้อ้วน ขอแปะโป้งไว้ก่อนค่ากระดาษ ก็ไม่ต้องพูดถึงสวัสดิภาพสวัสดิการของพนักงานลูกจ้าง มันก็ยิ่งยากมากขึ้นในแง่ที่ว่าทางนายจ้างหรือบริษัทเจ้าของ เขาก็ไม่ค่อยเต็มใจ เผอิญช่วงนั้นอาจจะเป็นจังหวะที่หนังสือพิมพ์ Time of London เกิดการสไตรค์ใหญ่โดยสหภาพหนังสือพิมพ์แล้วก็ยุบตัวเอง ก็เลยทำให้บิ๊ก 3 ของหนังสือพิมพ์ภาษาไทย, ของหนังสือจีน, แล้วหนังสือภาษาอังกฤษรวมตัวกันต่อต้านสหภาพ แต่ว่าเราก็ไม่หยุดยั้ง

ตอนนั้นเหมือนคณะปฏิวัติเลย ที่นี่ 40 คนยังเติร์กยืนเป็นแผงเลย สมัยนั้นมันก็ 20 กว่านะ ส่วนคนมีลูกมีเมียแล้วก็อยู่แถวหลัง เพราะว่ารู้ดีว่าพวกนี้จะโดนไล่ออก แล้วก็ไปอัญเชิญอย่างพระที่วิทยาคือหน่วยไม่กลัวตาย ซึ่งตอนนั้นหายากจริง ๆ ส่วนที่กำลังแต่งงานหรือจะแต่งงาน พวกนี้ก็อยู่แถวหลังเพราะว่าล่อแหลมต่ออาชีพมาก สถานการณ์ตอนนั้นก็ยากลำบาก แล้ววัตถุประสงค์เรามันก็ค่อนข้างที่จะกว้าง รวมทั้งการต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพ เรื่องโซ่ตรวน 42 ก็ดำเนินการมาได้ประมาณ 4, 5 ปี แต่ว่าหลังจากที่มีการต่อต้าน มันก็มีแรงเสียดทาน สิ่งที่แนะนำถ้าจะคิดก่อตั้งคือหาที่ปรึกษากฎหมาย อันนี้สำคัญมาก ตอนนั้นเรามีพี่ทองใบทองกวาว ถึงไหนถึงกัน สู้ทั้งเรื่องของเสรีภาพทั้งเรื่องของสหภาพ ตอนนั้นเราก็ฟ้องหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ไปหลายฉบับเหมือนกัน คือพอนั่นเขาก็กดดันโดยการให้พนักงานออกบ้างข่มขู่บ้าง ผมก็ฟ้องต่อสู้กันศาลแรงงาน ตอนนั้นกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ก็ไม่เท่าไร กรมแรงงานก็ยังอยู่ที่กระทรวงมหาดไทย จุดประสงค์อันนั้นตอนนั้นเป็นอธิบดีก็ลูกโดด เราก็หาแนวร่วม ผมเรียกว่าเป็นผู้นำแรงงานที่เขาตื่นเต้นมาก เพราะส่วนใหญ่มาจากโรงงาน ไอ้นี่มาจากหนังสือพิมพ์ อายุน้อยที่สุดด้วยนะตอนนั้น 20 กว่า ยุคโดดเลย พวกล้วนแต่เก๋า ๆ ทั้งนั้น เราก็ไปมีส่วนในระดับชาติด้วยในการทำเรื่องการพัฒนาเรื่องแรงงานสัมพันธ์ แต่ว่าในระดับของอุตสาหกรรม หลังจากประมาณปีกว่าพรรคพวกก็ถอยไปเยอะเพราะว่าโดนไล่ออก เพื่อนหลายคนที่อยู่กองบรรณาธิการระดับหัวหน้าข่าวก็บอกตรง ๆ บ้านต้องเช่าข้าวต้องซื้อลูกต้องเลี้ยง เพราะฉะนั้นขอถอยไม่งั้นมันเอาออกแน่

เราก็ไม่เป็นไรก็เข้าใจ ต่อมาก็เกิดการเห็นว่าถ้าสู้ในระดับนี้ ส่วนนึงไม่ไหวก็แตกตัวลงไปจัดตั้งเป็นสหภาพระดับสถานประกอบการ ก็มีบางกอกโพส, เดอะเนชั่น ต่อมาเข้าใจว่าจะมีไอทีวีที่เป็นเรื่องเป็นราว เนชั่นก็สนุกมาก คือพอมีข่าวว่าพวกเนชั่นจะตั้งก็พี่ชายน้องชายตอนนั้นคงคิดไม่เหมือนกัน เพราะว่าหนังสือพิมพ์มันมี 2 สถานะ สถานะหนึ่งคือการเป็นสื่อมวลชน สถานะหนึ่งคือสถานประกอบการ ก็เป็นครั้งแรกที่เนชั่นย้ายสำนักงานไปอยู่โรงแรมท็อกกาเดโร่ แยกกองบรรณาธิการบริษัทหนึ่ง แยกโรงพิมพ์บริษัทหนึ่ง แยกฝ่ายการตลาดบริษัทหนึ่ง นั่นคือการต่อสู้เรื่องแนวคิดสหภาพ แต่เขาก็ชอบใจเพราะว่าหนังสือพิมพ์ขณะนั้นก็อยู่ไม่ง่าย แล้วก็ขณะเดียวกันสถานการณ์ระหว่างประเทศมันก็เกิดปัญหา Time of London ก็ทำให้เกิดปัญหา แล้วก็ปีช่วงนั้นถึงแม้จะเป็นช่วงเริ่มต้นของยุคโชติช่วงชัชวาล แต่ว่าในด้านของธุรกิจการพิมพ์ก็ยังไม่ดีเท่าไร นั่นคือที่ไปที่มา หลังจากนั้นก็มีสหภาพเกิดขึ้นในระดับสถานประกอบการ  ส่วนระดับชาติหลังจาก 4, 5 ปีผ่านไปก็สลาย อยู่กันไม่ได้พูดง่าย ๆ ดังนั้นก็เป็นประสบการณ์ที่มาแชร์ ผมก็พยายามพอรู้ว่าพวกเรามีความมั่นใจก็เลยลองดราฟดูนิดนึง ถ้าจะสรุปก็คือว่าการจะตั้งสหภาพแรงงานในรูปของระดับอุตสาหกรรมอย่างที่คิดกันหรือว่าจะลงไปสถานประกอบการก็เป็นรูปแบบที่ทำได้ทั้ง 2 รูปแบบ สองก็คือสิ่งที่ต้องคิดให้มากก็คือในเรื่องของสหภาพเอกชนแล้วก็ของรัฐวิสาหกิจ

ตรงนั้นลองดูหน่อยว่าเข้าใจว่าคุณ ของเราจะมีที่ อสมท. ใช่ไหม อสมท. เป็นสถานะดิสเท็ดแต่ไม่รู้สถานะเป็นรัฐวิสาหกิจด้วยใช่ไหม เป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเขาจะมีพรบ. เฉพาะของเขา แรงงานรัฐวิสาหกิจสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ส่วนตัวแรงงานในส่วนภาคเอกชนก็ดูว่าเป็นส่วนของอุตสาหกรรม อย่างสหภาพระดับอุตสาหกรรมจะสามารถคร่อมสมาชิกส่วนนี้ได้หรือไม่ มันมีลักษณะของความเป็นสหพันธ์อยู่แต่นั่นหมายความว่า อย่างเช่นสหพันธ์สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจก็คือสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ 9 แห่ง 10 แห่ง รวมกันจดเป็นสหพันธ์ แต่ลักษณะที่เอกชนกับรัฐวิสาหกิจผมไม่แน่ใจ อันนี้ลองเช็คดูข้อมูล วัตถุประสงค์ดูว่าถ้าจะมี 4 ด้านด้วยกันที่ผมคิดว่าปัจจุบันนี้ ในอดีตอาจจะ 3 ด้าน แต่ปัจจุบันนี้ผมคิดว่ามันมาด้านที่ 4 คือนอกจากเรื่องของสวัสดิภาพ, สวัสดิการ, เสรีภาพผมคิดว่าเมื่อกี้ไม่แตะมากก็เพราะว่าจะมาพูดตอนนี้ ด้านที่ 3 คือด้านเสรีภาพ ด้านที่ 4 ก็คือเรื่องการพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อยกระดับขึ้นมา

แต่ว่าด้านเสรีภาพที่เมื่อกี้วงเล็บไว้ยังไม่พูดถึง แล้วมาพูดตอนนี้ก็คือว่าเสรีภาพไม่ใช่เฉพาะในส่วนของเสรีภาพภายนอก จะด้วยกฎหมาย, ด้วยระเบียบ, ด้วยอะไรก็แล้วแต่ เสรีภาพที่ถูกจองจำมากที่สุดกับในสถานประกอบการของเรา 30 ปีที่แล้วละกัน เพราะพูดตอนนี้เดี๋ยวกระเทือน 30 ปีที่แล้วสมัยคุณกำพลยังเป็นเจ้าพ่อ ผมฟ้องแกเป็นคนแรกเลย ขึ้นบัญชีผมหนังหมาเลย เขียนหนังหมาจริง ๆ นะ ไปบอกมันเลยว่าขึ้นบัญชีหนังหมาไม่ให้มันเข้าไทยรัฐ ไปกล้าฟ้องศาลแรงงาน ศาลบอกนี่จุดที่จำกัดสิทธิเสรีภาพมากที่สุด จะด้วยการอิงถ้อยการเมืองหรือไม่ก็ตามหรือการที่มีเหตุผลทางธุรกิจก็ตามหรือเหตุผลทางผลประโยชน์ก็ตาม ตรงนี้ทำให้นักหนังสือพิมพ์, นักข่าวไม่สามารถทำหน้าที่ได้เต็มที่ ไอ้ตรงนี้ก็คิดว่าถ้าวัตถุประสงค์ของการขับเคลื่อนก็ที่ผมมีความเห็นว่านอกจากสวัสดิภาพสวัสดิการ เสรีภาพต้องปกป้องให้ได้ แล้วก็นำศักดิ์ศรีความเป็นสื่อมวลชนที่มีความเป็นอิสระแต่แท้จริงกลับเรื่องมาก ไม่มีองค์กรไหนหรอกครับที่จะ ไอ้ตอนที่คิดตังตอนนั้นถามบอกว่าเรามีสมาคมหลายสมาคมไหม มีหลายสมาคมอยู่แล้ว แล้วกำลังคิดตั้งสภาการหนังสือพิมพ์ คิดแล้วเราก็ร่วมกับสมาพันธ์อาเซี่ยน แต่ว่าก็ไม่มีองค์กรใดที่อยากจะเอามือซุกหีบ เมื่อมองไปดูทางเจ้าของรึว่าผู้บริหาร สหภาพก็เลยพ่วงตรงนี้เข้าไปว่าต้องผ่านอำนาจจากทางเจ้าของเพื่อไม่ให้กองบรรณาธิการถูกห้ามเขียนถูกอะไรสารพัดอย่าง ยุคนี้ผมว่ามันพัฒนามา 30 ปีแล้ว 3 ทศวรรษ เพราะงั้นตรงนี้ก็ฝากความหวังไว้ ส่วนที่ 4 เรื่องการพัฒนาฝีมือแรงงาน อันนี้สำคัญมาก คือการยกระดับ

ถ้าหากว่าสมาชิกเราทุกคนในสถานประกอบการในอุตสาหกรรมนี้ นั่นหมายความว่าเขามีสิทธิจะยกระดับ เพราะนั้นการพัฒนาฝีมือแรงงานเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะทำให้รายได้เขาเพิ่มขึ้น เงินเดือนเขาได้รับการปรับตามวุฒิอะไรต่าง ๆ อันนี้ก็ฝากไว้แล้วก็รูปแบบการบริหาร ถ้าหากว่าเป็นลักษณะของสหภาพในระดับอุตสาหกรรมผมคิดว่าการมีแค่คณะกรรมการกลางไม่พอ ตามกฎหมายอาจจะต้องมีกรรมการย่อยที่อยู่ตามสถานประกอบการขึ้นมา ไม่งั้นมันจะเกิดช่องว่างช่องห่าง เว้นแต่ว่าแต่ถึงอย่างไรเราไม่สามารถมีกรรมการได้ครบสมาชิกทุกฉบับทุกช่องอยู่แล้ว เข้าใจว่าอันนี้จะรวมทั้งสื่อ สื่อทั้งหมดเลยซึ่งมีเยอะมาก ทีวีดาวเทียมเข้าใจว่าปีนี้ 200 ช่อง มากกว่าหนังสือพิมพ์อีก สุดท้ายก็คงเป็นพื้นฐานความคิดของสหภาพ อันนี้จะช่วยท่านได้เยอะ คือสมัยก่อนสหภาพตั้งบนพื้นฐานของความรู้สึกที่ยืนแบบนักมวยมุมแดงมุมน้ำเงิน แล้วก็ค่อนข้างที่จะเข้มงวดต่อเรื่องของสิทธิการจ้าง, สัญญาการจ้าง, สถานภาพการจ้าง, ตัวบทกฎหมาย, และก็ศาลแรงงาน แต่ว่าช่วงหลังมาผมยังคิดว่าสิ่งที่น่าจะเป็นคอนเซ็ปต์ก็คือเรื่องพาร์ตเนอร์ชิปมากกว่า เป็นเรื่องของหุ้นส่วน คือผู้บริหารก็ดีหรือเจ้าของบริษัทก็ดีกับสหภาพกับพนักงาน มันก็เป็นหุ้นส่วน แล้วสหภาพทำหน้าที่เป็นเหมือนสะพานเป็น bridging ที่ให้ความเป็นธรรมความเสมอภาคแล้วก็ทุกข์ร้อนร่วมกัน อย่างนี้ผมคิดว่ามันจะช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีและความยอมรับได้ในระดับของฝ่ายบริหาร แล้วยิ่งตอนนี้มาตรฐานของบริษัทหลายบริษัทก็เป็น business company ก็จะช่วยสร้างมาตรฐานตรงนี้ได้มาก เพราะว่าเขาจะมีวัฒนธรรมองค์กรที่เปิดกว้างและยอมรับ ก็มีประเด็นเท่านี้ครับที่จะเล่าให้ฟัง แต่ดีใจนะ 30 ปี

 

***********************************************************

 

ประเด็นการเสวนา

๑. การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดตั้งสหภาพแรงงาน เพื่อนำศึกษาเรื่องสหภาพแรงงานกลางสื่อ ปัญหาอุปสรรค และรูปแบบที่ทำให้นำไปสู่ความสำเร็จ

๒. เปรียบเทียบสวัสดิการแต่ละบริษัท เพื่อให้ได้สวัสดิการที่เป็นมาตรฐานสำหรับนักข่าว ในสถานการณ์ปัจจุบัน (ประสบอุทกภัย)

๓. ความคิดเชิงบวกในการจัดตั้งสหภาพแรงงานสื่อ ต่อนายจ้าง และการมีส่วนร่วมในการบริหารและพัฒนาองค์กร และพัฒนาวิชาชีพสื่อ