ข่าวราชดำเนินเสวนา หัวข้อ “ชะตากรรมโรฮินจา:ว่าด้วยมนุษยธรรมและหลักการของอาเซียนและสังคมโลก”-28พ.ค.58เวลา 9.00-11.00 น.

ฟังเสียงการเสวนา

{mp3remote}http://www.tja.or.th/images/sound2558/580528-seminar.mp3{/mp3remote}

 

ปัญหาและสถานะของชาวโรฮีนจาควรได้รับการคัดแยกและจัดกลุ่มเพื่อที่ทางรัฐบาลที่เกี่ยวข้องจะสามารถมองเห็นปัญหาได้ชัดเจนขึ้นและหาทางแกไขได้ตรงจุดมากขึ้น

ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยวันนี้ ได้มีการจัดเสวนาราชดำเนิน เรื่อง ชะตากรรมโรฮีนจา ว่าด้วยมนุษยธรรมและหลักการของอาเซียนและสังคมโลก เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชาวโรฮีนจา สถานะที่ถูกต้อง และข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาของชาวโรฮีนจา ก่อนการประชุมการโยกย้ายถิ่นฐานที่ไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดียที่รัฐบาลไทยได้เชิญตัวแทนประเทศในอาเซียนเข้าร่วมในวันพรุ่งนี้

โดยในงานเสวนา ได้รับเกียรติจาก อดีตผู้แทนคนแรกของประเทศไทยในคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ดร ศรีประภา เพชรมีศรี ปัจจุบันสอนที่สถาบันสิทธิมนุษยชน และสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล คุณศิววงศ์  สุขทวี ผู้ประสานงาน เครือข่ายองค์กรที่ทำงานด้านประชากรข้ามชาติ คุณอับดุล กาลัม ชมรมชาวโรฮีนจาแห่งประเทศไทย และคุณวินมิตร  โยสาละวิน ผู้สื่อข่าว บีบีซี ,ภาษาพม่า ร่วมเป็นวิทยากรพูดคุย

ดร. ศรีประภา เสนอรัฐบาลอาเซียนที่จะเข้าร่วมการประชุมในวันพรุ่งนี้ว่าพวกเขาควรจะพิจารณาคัดแยกและกำหนดสถานะของชาวโรฮีนจาที่อพยพออกมาจากประเทศพม่า ทั้งนี้ เนื่องจากไม่ใช่ทุกคนเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์เพียงอย่างเดียว หากแต่โดยแท้ที่จริงแล้วมีสถานะต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็น ผู้อพยพหนีภัย เหยื่อการค้ามนุษย์ ผู้ลักลอบเข้าเมือง และอื่นๆ

ดร.ศรีประภากล่าวว่าที่ผ่านมาก็พยายามเรียกร้องให้รับบาลอาเซียนมี status determination เช่นการให้มีสถานะผู้ลี้ภัยได้ เพื่ออย่างน้อยที่สุดจะสามารถไปตั้งหลักปักฐานในประเทศที่สามได้ ฉะนั้นต้องให้มีการระบุสถานะให้ชัดว่าเป็นอะไร เพราะแต่ละสถานะจะได้มีแนวทางแก้ ถ้าไม่ทำปัญหาชาวโรฮีนจาก็จะพูดไปรวมๆหมดเลย อยากให้ทุกประเทศทำ แต่ถ้าไม่ทำก็ควรให้ UNHCR เข้าช่วยระบุสถานะ

ดร.ศรีประภากล่าวว่าประเทศไทยเคยทำเรื่องนี้ในสมัยอินโดจีน ช่วงนั้นหลายประเทศรวมทั้งไทยยอมรับผู้ ลี้ภัยโดยให้ UNHCR เข้ามาจัดการ แล้วยังมี comprehensive action plans ออกมาด้วยเพราะเป็น crisis

“มองว่าตอนนี้ถึง Crisis แล้ว ถ้าการประชุมในวันพรุ่งนี้สามารถมีคววามชัดเจนในเรื่องนี้และแผนออกมาได้ได้ ก็จะถือเป็น outcome ที่ชัดเจนที่สุดของการจัดประชุมครั้งนี้” ดร. ศรีประภากล่าว

 

นอกจากนี้ ดร. ศรีประภายังได้เสนอให้กลไกอาเซียนอย่างคณะกรรมาธิการฯทำงาน เพราะเรื่องนี้ในประเด็นสิทธิมนุษยชน ไม่ใช่มนุษยธรรมอย่างเดียว เธอกล่าวว่ารัฐบาลไทย พรุ่งนี้จะจัดประชุม ก็เป็นเรื่องที่ดี แต่ช้าไป เพราะเพื่อนบ้านในขณะที่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ให้ความช่วยเหลือไปแล้วไทยควรรีบเสนอด้วยเลย

ในส่วนของ นโยบายไทยกับเพื่อนบ้านบางนโยบายในขณะนี้ เช่นการตั้งทุ่นกลางทะเล ดร. ศรีประภากล่าวว่า เป็นเรื่องน่ากลัวถ้า 3  ประเทศร่วมมือกัน โดยให้อยู่กลางน้ำ แล้วผลักออกไป อย่าให้ขึ้นฝั่ง เป็นเรื่องน่ากลัวมาก เหมือนมีมนุษยธรรม แต่ไม่เป็นตามหลัก human right ซึ่งเธอไม่เห็นด้วยอย่างชัดเจน

ดร. ศรีประภากล่าวว่าชาวโรฮีนจาเคยได้รับการยอมรับ โดยอย่างน้อย Burmese Encycopedia ปี 1964 มีคำนี้อยู่ ใน ปี1982 มีการแก้ไขกฎหมายสัญชาติ ทำให้โรฮีนจาจำนวนมากสัญชาติหายไป ทำให้การจะเดินทางถูกกฎหมาย คือมีเอกสารประจำตัว เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ดังนั้นเดินทางออกนอกประเทศก็เป็นผิดกม.อยู่ดี การไร้สัญชาตินี่เองที่มีผลต่อการเลือกปฏิบัติในหลายๆด้านด้วยกัน นอกเหนือจาก  No Freedom of Movement การศึกษา การเข้าถึงหลักสุขภาพอนามัย สิทธิ์หลายๆส่วนก็หายไป

อย่างไรก็ตาม ยังเป็นคำถามใหญ่ที่ว่าสัญชาติหรือเชื้อชาติ อะไรมีความสำคัญกว่ากันในการแก้ไขปัญหาชาวโรฮงญา ซึ่งเธอมองว่าการยอมรับเรื่องเชิ้อชาติจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาในระยะยาวกว่า

ปัญหาเรื่องชาวโรงฮิงญา เคยถูกผลักดันให้เข้าไปแก้ไขในกรอบของคณะกรรมาธิการฯ ในปี  2009  แต่ก็ถูกปัดออกไป  อย่างไรก็ตามอาเซียนเคยมีการรับรองรับรองเอกสาร ที่เรียกว่าปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ ซึ่งการค้ามนุษย์ก็อยู่ใน Blueprint ของอาเซียน

อีกกลไกคือ Bali process ที่จะจัดการกับปัญหา Trafficking กับ International Crime  โดยในปี 2009

UNHCR พยายามผลักดัน เรื่อง boat peopleเข้าไปใน Agenda ของ Bali process คำว่าโรฮีนจาเข้าไปเป็นส่วนหนึ่ง ประเทศอาซียนจึงไม่สามารถปฏิเสธได้เลย มันจึงเป็น reginal problem ที่ต้องการ reginal solution เท่านั้น  ดร. ศรีประภากล่าว

 

นายศิววงศ์ สุขทวี ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรที่ทำงานด้านประชากรข้ามชาติ กล่าวว่าอาจจะคาดหวังการตอบสนองในกรอบของอาเซียนได้ช้า มิติที่จะมองชาวโรฮีนจาควรเป็นการมองในมิติเพื่อแก้ไขปัญหา ไม่ปฏิเสธว่ามีการมองเป็นผู้ก่อการร้าย แต่นั่นไม่ช่วยให้เกิดการเข้าใจปัญหา และสามารถแก้ปัญหาได้ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย เขามองว่าควรยุติการบอกว่า เป็นกลางทาง ที่จริงไทยเป็นต้นทางของการค้ามนุษย์ 2 – 3 ปีที่ผ่านมา เรือหลายลำออกไปรับเขาเพื่อการค้ามนุษย์

Trafficking เป็นเงื่อนไขหนึ่งที่ทำให้ คนอพยพออกมาจากชายแดนมากขึ้น หากไม่มีการหยุดยั้งขบวนการอาจะแตะแสนคน นอกจากนี้ ข้อจำกัดทางนโยบายของไทย ทำให้เขาต้องใช้เส้นทางนอกกม. หญิง เด็กที่จะเดินทางไปหาญาติที่ประเทศที่สาม แต่ไม่มีเอกสารเลยต้องใช้เส้นทางนี้

นายศิววงศ์มองว่าหากไม่มีนโยบายที่ชัดเจนว่าจะมีการจัดการช่วยเหลือทางกม.ให้ดีกว่าที่ผ่านมา ก็อาจจะคาดหวังไม่ได้ว่าการแก้ปัญหาจะดีขึ้น

 

นายอับดุล กาลัม จากชมรมชาวโรฮีนจาแหงประเทศไทย กล่าวว่าจะโทษประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือประเทศไทยอย่างเดียวไม่ได้ โดยเขามองว่ารัฐบาลไทยทำให้ดีที่สุดแล้ว เริ่มต้นได้ดี แต่ยังเชื่อใจไม่ได้ เพราะยังไม่รู้บทสรุป

เขากล่าวว่าปัญหาจริงๆ อยู่ที่รัฐบาลเมียนมา โรฮีนจาเคยมีกองกำลัง และวางอาวุธแล้ว แต่ก็ไมได้รับอะไรเลย การศึกษา ที่ดิน โรงพยาบาล แม้แต่วัวออกลูกมาตัวหนึ่งต้องแจ้งกองทัพ

นายกาลัมกล่าวต่อไปว่าประชาคมอาเซียนบอกว่าประชาคมของทุกคน แต่ปัญหานี้โยนให้ไทยอย่างเดียว อาเซียนไม่ได้แก้ไขเลย

ในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า มาเลเซีย อินโดนีเซียช่วยให้พักพิง แต่จะเกิดในไทยด้วยหรือไม่ ที่ผ่านมาโรฮีนจาจำกัดอยู่ในห้องกัก น่าจะเปิดศูนย์พักพิงเร็วที่สุด ก็จะช่วยโรฮีนจาได้  ส่วนคนที่กำลังมากับเรือ

ต้องแยกแยะออกมาให้ได้ ว่ากลุ่มไหนเป็นโรฮีนจาจริงๆ ถ้ายังใช้วิธีจับ แล้วส่งกลับจะแก้ปัญหาไม่ได้ จะส่งกลับต้องให้รัฐบาลต่อรัฐบาลรับ ผลักดันกลับทางเรือก็จะกลับมาใหม่

 

นายวินมิตร โยสาละวิน ผู้สื่อข่าวบีบีซี ภาษาพม่า กล่าวว่าตามหลักการ Human Rights แล้วรัฐบาลเมียนมา ต้องรับกลับ โดยความเห็นส่วนตัว มองเฉพาะหน้า ก็น่าสงสาร น่าช่วยเหลือ แต่ละประเทศก็มีปัญหาเฉพาะหน้าอยู่แล้ว ปัญหามันหมักหมมมานานแล้ว

นายวินมิตรเข้าใจว่ารัฐบาลไทยพยายามแก้ไขมาโดยตลอด แต่นี่ไม่ใช่เฉพาะไทยต้องแก้ ปัญหาเริ่มมาจากอังกฤษที่ล่าอาณานิคม แล้วทิ้งปัญหาไว้ การหนีออกมา ไม่ได้มีโรฮีนจาอย่างเดียว ชนกลุ่มน้อยอื่นๆ ก็มี เป็นเรื่อง ชนชาติ ชาติพันธ์ เศรษฐกิจ แล้วก็ยังมีการต่อสู้กับรัฐบาลอยู่

นายวินมิตรกล่าวว่า หลังเมียนมาได้รับเอกราชสามปี มีการทำสำมะโนประชากร มีข้อมูลอยู่แล้ว แต่ที่ผ่านมา ไม่ได้พิสูจน์สัญชาติ อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงภายใน จนเมื่อมีปัญหาพุทธ กับมุสลิมในเมียนมา ก็มีการกลับมาพิสูจน์สัญชาติ แต่ต้องเป็นชาวบังคลาเทศ ถ้าเป็นโรฮีนจาไม่พิสูจน์

เดือนหน้าเป็นต้นไป จะมีการพิสูจน์สัญชาติให้ในส่วนที่บอกว่าเป็นบังคลาเทศ แต่ถ้าไม่อยากพิสูจน์ก็ได้ บัตรรับรองแต่ไม่ระบุสัญชาติ

เขาแนะว่าชาวโรฮิงญาให้ยอมรับสัญชาติก่อน ค่อยพูดเรื่องเชื้อชาติทีหลัง เพราะเมียนมากำลังเปิด มีสัญชาติเมียนมาแล้ว จะไปไหนมาไหนก็ได้

 

 

๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑

 

ราชดำเนินเสวนา หัวข้อ

ชะตากรรมโรฮีนจา:

ว่าด้วยมนุษยธรรมและหลักการของอาเซียนและสังคมโลก

จัดโดย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

ร่วมกับ ชมรมนักข่าวอาเซียน และ สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย

วันพฤหัสบดีที่ ๒๘  พฤษภาคม  ๒๕๕๘ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๑.๐๐ น.

ณ ห้องประชุม ๑  ชั้น ๒ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

-ดร. ศรีประภา เพชรมีศรี

สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

-ศิววงศ์  สุขทวี

ผู้ประสานงาน เครือข่ายองค์กรที่ทำงานด้านประชากรข้ามชาติ

- อับดุล กาลัม

ชมรมชาวโรฮีนจาแห่งประเทศไทย

-วินมิตร  โยสาละวิน

ผู้สื่อข่าว บีบีซี ,ภาษาพม่า

ดำเนินรายการโดย

-อรพิน  ลิลิตวิศิษฐ์วงศ์

executive producer สำนักเครือข่ายสื่อสาธารณะ ไทยพีบีเอส

 

@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

หลักการและเหตุผล

จากคดีเล็กๆ ที่สืบเนื่องมาจากการเข้าแจ้งความของญาติของชาวโรฮีนจาในพื้นที่ภาคใต้เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา นำไปสู่การค้นพบศพของชาวโรฮีนจาที่ถูกฆ่าแล้วฝังบนเขาแก้ว ตำบลปาดังเบซาร์ จังหวัดสงขลาหลายสิบศพ แคมป์กักกันชาวโรฮิงญาอีกหลายสิบแห่ง การทรมาน และชะตากรรมของชาวโรฮีนจาที่กำลังถูกเปิดเผยให้สังคมในภูมิภาคและสังคมโลกได้รับรู้อย่างกว้างขวางในเวลานี้

 

ชาวโรฮีนจา เป็นกลุ่มคนเชื้อสายมุสลิมที่มีประชากรราว ๑.๖ ถึง ๒ ล้านคน อาศัยอยู่ในรัฐยะไข่ ประเทศเมียนมา แต่ด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์ เมียนมาไม่เคยยอมรับการดำรงอยู่ของชาวโรฮีนจาและไม่นับเป็นประชากรของประเทศ ด้วยเหตุดังกล่าว ชาวโรฮิงญาจึงมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ลำบากในประเทศเมียนมา จึงหาทางออกจากประเทศเพื่อแสวงหาชีวิตที่ดีกว่า ชาวโรฮีนจาส่วนหนึ่งต้องจบชีวิตที่ค่ายกักกันตามแนวชายแดน เมียนมา-บังคลาเทศ ในขณะที่อีกจำนวนมากยอมเสี่ยงชีวิตแล่นเรือในมหาสมุทรอินเดียโดยมีจุดหมายที่ประเทสมาเลเซียและอินโดนีเซีย และชาวโรฮิงญาจำนวนไม่น้อยต้องจบชีวิตบนประเทศทางผ่านอย่างประเทศไทย

 

มีข้อถกเถียงมากมายว่าโดยสถานะของชาวโรฮีนจาในเวลานี้คืออะไร พวกเขาตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ด้วยหรือไม่ และที่สำคัญและเป็นความท้าทายในเวลานี้คือประเทศที่เกี่ยวข้องควรจะจัดการเรื่องนี้อย่างไร ในนามของมนุษยธรรม ความถูกต้องตามหลักกฎหมาย และความมั่นคงของรัฐและภูมิภาค

 

ราชดำเนินเสวนา จึงได้จัดการเสวนา “ชะตากรรมโรฮินจา: ว่าด้วยมนุษยธรรมและหลักการของอาเซียนและสังคมโลก” เพื่อทำความเข้าใจความซับซ้อนของปัญหาและบริบท และร่วมนำเสนอทางออกเพื่อนำเสนอต่อผู้มีอำนาจในบ้านเมืองก่อนการประชุมระหว่างรัฐที่ประเทศไทยในวันที่ ๒๙  พฤษภาคม ๒๕๕๘ นี้