พลิกโฉม 3 สตาร์ทอัพไทย ปลุก”นวัตกรรมเปลี่ยนโลก”

พลิกโฉม 3 สตาร์ทอัพไทย ปลุก"นวัตกรรมเปลี่ยนโลก"

ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีทางการสื่อสารเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมทุกอาชีพ ท่ามกลางความท้าทายของการเปลี่ยนผ่านของสื่อดิจิทัลได้เปิดโอกาสให้สร้างนวัตกรรมเพื่ออำนวยความสะดวกกับผู้บริโภคมากที่สุด
โดยในงานสัมมนายุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์ นวัตกรรมเปลี่ยนโลก ครั้งที่ 15 เมื่อวันที่ 15 พ.ย.2562 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สถาบันอิศรา และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย(ส.ส.ท.) จัดเสวนา "นวัตกรรมเปลี่ยนโลก" โดยมี "ธนิสรา เรืองเดช" Ceo & Co-founder Punch Up กรณีปลาทู "รังสรรค์ พรมประสิทธิ์" ประธานกรรมการบริหารบริษัท คิวคิว (ประเทศไทย) จำกัด และ "ธีระ กนกกาญจนรัตน์" ผู้ร่วมก่อตั้งและ CEL บริษัท Arincare เป็นวิทยากรบรรยาย

เริ่มต้น "ธนิสรา" ได้ฉายภาพแรงบันดาลก่อนสู่การสร้างงาน "ปลาทู" บนเว็ปไซด์ไทยรัฐออนไลน์ โดยในช่วงที่ "ธนิสรา" ยังทำงานกับสื่อออนไลน์แห่งหนึ่งพบว่า ในสื่อต่างประเทศมีวิธิการเล่าเรื่องที่น่าสนใจ อาทิ นักกีฬาวิ่งจะออกตัวอย่างไร หรือเหตุกราดยิงในโรงเรียนที่อเมริกา มีรูปแบบการนำเสนอผ่านภาพและสถิติต่างๆ จึงคิดว่าอยากให้ประเทศไทยมีการนำเสนอสื่อแบบนี้ ถึงแม้ในกรณีเหตุการณ์ถ้ำหลวง ก็มาจากสำนักข่าวต่างประเทศ จึงได้ไปดูโมเดลจากสื่อต่างประเทศพบว่า สิ่งที่ห้องข่าวของเราไม่มีคือการใช้เทคโนโลยี หรือความเข้าใจต่อข้อมูลที่นำมาใช้วิธีทำข่าว จึงตัดสินใจลาออกมาเพื่อมาตั้งบริษัทแล้วทำลองทำ จึงพบว่ามี 3 องค์ประกอบสำคัญ ประกอบด้วย Data-Story-Design


จากนั้น "ธนิสรา" ด้ตั้ง Punch Up ขึ้นมาเพื่อเป็นองค์กรทำงานกับสื่อว่า จะใช้วิธีการเล่าเรื่องอย่างไรให้เป็นวิธีการสื่อสารใหม่ในเมืองไทย ซึ่งงานชิ้นแรกที่ทำเป็นเรื่องวิกฤตปลาทูไทย จึงตั้งประเด็นของ "ปลาทู" ตั้งแต่ความอร่อยของปลาทูไทย หรือปลาทูไทยจะหมดไป ต่อมาจึงไปดูข้อมูลเชิงปริมาณ เชิงสถิติ และเชิงประจักษ์ เพื่อสนับสนุนวิธีเล่าเรื่องของเรา โดยเฉพาะจะทำอย่างไรให้คนอยากรู้ตลอดการเล่าเรื่อง แต่หากนำข้อมูลฮาร์ดคอนเทนท์นำแปะไปทุกอย่างบนเว็ปไซค์ จะทำให้คนจะคิดว่าเป็นหนังสือเรียนมากกว่า จึงต้องนำภาพลูกเล่นกราฟฟิกมาประกอบ

ส่วนหนึ่งที่ Punch Up ได้ทำในครั้งนี้ "ธนิสรา" อํธิบายว่า จสกปัญหาอวนแหที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยวิกฤตของปลาทูไทย จึงได้จำลองภาพอวนลากให้เห็น โดยนำไปเทียบกับขนาดของครื่องบินขนาดใหญ่ว่า หากอวนเหล่านี้ช้อนปลาไปทั้งหมดจะเป็นอย่างไร เพื่อให้คนเข้าใจสภาพอวนเหล่านี้ได้ทำลายสภาพของปลาทูไทยไปด้วย

"ในโลกออนไล์คนมีความสนใจสั้นลง แต่จะทำอย่างไรให้คนสนใจ ในงานนี้จึงนำภาพช้อนสังกะสีและเครื่องปรุง เพื่อให้เห็นว่าคอนเทน์นี้มีส่วนร่วมกับทุกคน"ธนิสนาระบุ

ส่วนวิธีการนำเสนอ "ธนิสนา" ได้ออกแบบเพเกจ โดยดูพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือที่จะสไลด์นิ้วหน้าจอ ทำให้งานปลาทูต้องออกแบบให้ง่ายและไม่เป็นภาระปับคนดูมากเกินไป ถึงแม้เรื่องปลาทูจะมีครเข้ามาดูจำนวนมาก แต่สิ่งหนึ่งที่ "ธนิสนา" มองว่าประเด็นนี้มีหลายสื่อนำไปพูดต่อ รู้สึกว่าเสียงมันดังมีอิทแพค โดยเฉพาะการที่กรมประมง และรัฐบาลในขณะนั้นนำเรื่องนี้เข้าไปพูดคุย

"ตอนนี้นี้ก็ยังทำเรื่องข้อมูลการเมืองและการเลือกตั้งไทยของ Elect เพื่อให้ทุกคนเข้าใจการเมืองให้ง่ายขึ้น โดยทั้งหมดเกิดจากคำถามในวันนั้นอยากสร้างสิ่งนี้ในเมืองไทย เพราะเชื่อว่าส่วนผสมของดาต้าสามารถสร้างการสื่อสารที่ทรงพลังได้ แต่ควไม่สามารถจะเปลี่ยนโลกได้ถ้ายังทำคนเดียว เพราะอยากทำงานกับสื่อให้มากที่สุด ถ้าใครสนใจอยากเห็นสิ่งนี้ในเมืองไทยต้องมำร่วมกัน"

มาที่ "รังสรรค์" พูดถึงหัวข้อนวัตกรรมเปลี่ยนโลกครั้งนี้ ได้ยกตัวอย่างนักวิทยาศาสตณ์เปลี่ยนจากธาตุคาร์บอนให้กลายเป็นเพชร แต่ยังแตกต่างากเพชรแท้ๆ จึงคิดว่าเทคโนโลยีกับนวัตกรรมเป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่ เพราะนวัตกรรมต้องทำให้เกิดการใช้งานในชีวิตประจำวันได้จริงๆ จนรู้สึกเป็นเรื่องธรรมดา แต่สิ่งนี้ตะเกิดไม่ได้ถ้าไม่มีการปฏิวัติทำให้ทุกคนในโลกได้รู้จัก ทอลองใช้ และกระจายออกไป เพื่อให้เกิดวิวัฒนาการขึ้นมา คืออีโวลูชั่น ส่วนกรณีที่ทำมาจากเถ้าคาร์บอน หากใช้เทคโนโลยีไปหาเถ้าอื่นๆ มาทำเป็นเพชรได้หรือไม่ก็มีเถ้าจากการเผาร่างกายสามารถทำเป็นเพชรเก็บไว้กับเราได้ ถ้าเป็นเถ้าจากพ่อแม่ก็เก็บไว้เป็นเพชรซึ่งมีคุณค่าด้านจิตใจ

"สิ่งที่ QQ เข้าไปแก้เรื่องแรกคือการรอเข้าคิว ทำไมไม่มีเทคโนโลยีอะไรมาเปลี่ยนให้ตอนเรารอคิว โดยตลาดแรกที่เข้าไปคือร้านอาหารเพื่อพิสูจน์ว่าจะเปลี่ยนชีวิตได้ โดยการไม่ต้องรอคิว 2-3 ชั่วโมง จากนั้นขยับไปทำโรงพยาบาลซึ่งเป็นตลาดใหญ่กวืา ซึ่งการเข้าคิวในโรงพยาบาลที่เห็นนวัตกรรมแบบไทยๆ คือนำรองเท้าไปต่อคิวแทน แต่ทุกขั้นตอนต้องการไปโรงพยาบาลต้องไปรับบัตรคิวใหม่ตลอด จึงจะทำอย่างไรรับบัตรคิวตามเวลาที่จองเข้าไปได้"
"รังสรรค์" เล่าให้ฟังถึงกระบวนการทั้งหมดที่ได้เรียนรู้จากสตาร์ทอัพนั้น ต้องค่อยๆทำ ค่อยๆปรับกระบวนการว่า จะตอบพฤติกรรมของคนได้หรือไม่ โดยต้องนำสิ่งนี้เข้าไปในชีวิตประจำวัน ต้องสร้างอิมแพคขนาดใหญ่ ซึ่งทุกๆ อย่างที่สตาร์ทอัพสร้างขึ้นมาต้องเป็นของใหม่ มากกว่าของเก่าที่มีอยู่ในตลาดแล้ว ก่อนหน้านี้เคยมีคนพูดว่าแบบนี้จะทำได้หรือไม่ ดังนั้นถ้าวาดภาพไม่เป็น ก็วาดมันจรเสียงวิจารณ์จะเงียบไปเอง

ปิดท้ายที่ผู้ร่วมก่อตั้งและ CEO บริษัท Arincare เล่าให้ฟังถึงจุดกำเนิดการเป็นสตาร์ททอัพ ซึ่งปัจจุบันมีกลุ่มสตาร์ทอัพประทาณ 1,500 รายที่ขึ้นกับสมาคมสตาร์ทอัพ แต่กลับพบว่ามีเพียง 50 รายเท่านั้นที่ทำเรื่อง "เฮลท์แคร์" โดย "ธีระ" เปรียบเทียบไปถึงภาพการไปรักษาที่โรงพยาบาลรัฐซึ่งมีคนจำนวนมาก ก็พบว่า ในเมืองไทยมีบุคคลกรทางการแพทย์ไม่เพียง เมื่อเทียบกับโรงพยาบาลเอกชน แต่โรงพยาบาลเอกชนกลับมีค่ายาแพงกว่าตั้งแต่ 300- 16,000 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ Arincare มองไปถึงมุมของคนไข้ถ้าเจ็บป่วยจะทำอย่างไร

 


"อันดับแรกเขาจะคิดว่าเจ็บป่วยก็ไปร้านขายยา เพราะไม่มีใครอยากไปโรงพยบาล จึงต้องกลับมาดูว่าในเมืองไทยมีร้านยามากกว่า 20,000 ร้าน แต่ละปีมีการจ่ายยาให้คนไข้ 180 ล้านครั้ง แต่ถ้าสามารถทำให้ร้านขายยาทำงานเป็นเครือข่ายได้ ก็จะลดจำนวนคนที่ไปโรงพยาบาลด้วย"

"ธีระ" เล่าย้อนไปถึงการทำงานกับเภสัชกรชมชุน พบว่าเภสัชกรชุมชนจะมีหมวก 2 ใบ 1.ใบบริการชุมชน และ 2.ใบเจ้าของธุรกิจเอสเอมอี แต่ที่ผ่านมาหลายร้านก็ปิดตัวไปเพราะการธุรกิจ ดังนั้น Arincare คิดว่าจะทำอย่างไรให้ร้านขายยาอยู่ได้ด้วย จึงตั้งใจตั้งแต่วันแรกจะให้ใช้ระบบฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ตั้งแต่การให้ความรู้ทางสัมมนา จนขณะนี้ Arincare มีร้านยาในระบบ 3,453 รายทั่วประเทศ หากเปรียบเทียบกับปีแรกที่มีร่านขายยาเข้ามาร่วม 50 รายเท่านั้นแต่ตอนนั้นก็คิดว่ามาถูกทางแล้ว

ส่วนกรณีการ "รับยาใกล้บ้าน" นั้น "ธีระ" บอกว่าเคยคิดจะทำตั้งแต่ 4 ปีที่แล้ว เพื่อให้คนจากโรงพยาบาลมารับยาใกล้บ้านได้ แต่ขณะนั้นยังเคยพบมีปัญหาหลายอย่าง เช่น ในใบสั่งยาอ่านรายมือหมอไม่ออก จึงต้องสร้างระบบขึ้นมาเพื่อให้ใบสั่งยาเป็นอิเลคโทรนิคเพื่อให้คนไข้ไปรับยาใกล้บ้านหรือใกล้ออฟฟิศได้
สุดท้าย "ธีระ" ให้แง่คิด 3 เรื่องจากประสบการณ์ 4 ปีที่ผ่านมา 1.ปัญหาที่ควรแก้ไข คือปัญหาที่อยู่ใกล้ตัว เพราะเรามองข้ามไปจนมองว่าปัญหานั้นเป็นเรื่องปกติ ทั้งที่จริงไม่ใช่ 2.ไม่ต้องแก้ปัญหาใหญ่ ให้เริ่มจากเรื่องเล็กๆ และ 3.การมองปัญหาต่างๆ ต้องนำคนที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมด้วย เพราะสิ่งที่เราทำวันนี้คือโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ