3 กูรู ​เทคโนฯ มองอนาคต ​AI ต่อยอดพัฒนาวารสารศาสตร์

3 กูรู ​เทคโนฯ มองอนาคต AI ต่อยอดพัฒนาวารสารศาสตร์

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สถาบันอิศรา และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไย (ส.ส.ท.) จัดสัมมนายุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์ : นวัตกรรมเปลี่ยนโลก ครั้งที่ 15 ณ ห้องคอนเวนชั่น ฮอลล์ สถานีทรทัศน์ไทยพีบีเอส

ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ  NECTEC  กล่าวว่า  NECTEC ทำวิจัยเรื่อง ปัญญาประดิษฐ์ (AI )มานานกว่า 20 ปี ในยุคปลาย ICQ MSN ซึ่งออกแชทบอท ชื่อ อับดุล ตอบได้ทุกเรื่องทั้งดินฟ้าอากาศ ไปเร่ขายหน่วยงานต่างๆ ไม่มีใครสนใจเพราะเขายังไม่มี Knowledge Bank คือ ดิจิตอลทรานฟอร์เมชั่นทำให้ทุกอย่างเป็นดิจิตอลไปหมด ถึงจะเริ่มทำแชทบอทตัวแรกได้จริง

​สำหรับการพัฒนาของ AI  สามารถแบ่งออกเป็น 4 ยุค ได้แก่ 1. ยุคแรก เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ซึ่งยังทำได้เพียงแค่ตอบคำถามเล็กๆ น้อยๆ  2. ยุคที่สองประมาณ ปี 2000- ปัจจุบัน AI เริ่มฉลาดมีการพัฒนาใส่ข้อมูลมหาศาลลงไป  แต่คำถามคือเรามี Knowledge Bank เพียงพอไหม 3. ยุคที่สามอีก 10 ปีข้างหน้า ​และ ยุคที่ 4 ที่จะพยายามทำให้  AI  เป็น Generalize สามารถทำได้ทุกเรื่อง หรือเป็น  Artificial General Inteligence   (AGI)

ทั้งนี้ มีการประเมินว่า AI จะมีความสามารถในการทำงานด้านต่างๆ มากขึ้น จากที่ย้อนไปก่อนหน้านี้ 2011 Jeopardy ซึ่งเป็น AI ของ IBM เอาชนะคนในการตอบคำถามทั่วไปได้   ปี 2016  AI เอาชนะแชมป์โลกการแข่งขันโกะ 2024 คาดว่า AI จะสามารถเขียนโค้ดได้  2027 แต่งเพลงป็อบดังติดชาร์ต ท็อป 40 ได้   2049  สามารถเขียนหนังสือเบสเซลเลอร์ของ New York Times   และ 2059 สามารถเชียนงานวิจัย

ดร.ชัย กล่าวว่า การนำ AI มาใช้ในงานวารสารศาสตร์มีสามด้าน คือ 1.รวบรวมข้อมูล  ทั้งการ สัมภาาณ์แหล่งข่าว การกลั่นกรองข่าว ซึ่งจะมีการสืบคนแบบหลายบริบท phrases search  2. ประมวลผลข้อมูล  มีการกลั่นกรองความ ซ้ำโดยใช้เครื่องมือมาช่วย  และ 3. กระจายข่าว  โดยจะเห็นว่าที่ผ่านมามีการพัฒนาAIมาใช้ในงานข่าวหลายเรื่อง เช่น การเปิดตัว AI ที่เป็นผู้ประกาศข่าวในหลายประเทศ รวมทั้งสุทธิชัย หยุ่น ที่เป็น AI ซึ่งพูดคุยตอบคำถามได้และยังสามารถเปลี่ยนให้พูดภาษาเหนือ อีสานได้อีกด้วย  ​

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องทำพัฒนา AI ต่อไปก็คือ  1. naturalness เพิ่มความเป็นธรรมชาติ ไม่กระตุก 2. พัฒนา Avatar ให้สวย 3. เชื่อมเสียงให้ตรงกับปาก  4. Inteligence คือพัฒนาการถามตอบ ด้วยการเชื่อมข้อมูลจาก Wikipedia ดังนั้นหากถามข้อมูลที่มีอยู่ใน Wikipedia ก็จะตอบได้ทั้งหมด

ดร.ชัย กล่าวว่า ในงานด้านสื่อมวลชน ​หากมีการจ้ดเก็บข้อมูล  ​Media  Archive management ก็จะยิ่งทำให้การทำงานสะดวกขึ้น การสืบค้นง่ายขึ้น เช่นต่อไป มีคลิปวีดีโดก็จะถูกถอดเป็นข้อความ เวลาสืบค้นก็จะทำได้ละเอียดขึ้น   ข้อมูลจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะพัฒนาแยกแยะวิคราะห์ Fake news

“สิ่งที่เราอยากเห็นก่อนคือดิจิตอลทรานสฟอร์ม  ซึ่งเป็นจุดเร่ิมต้นของการเก็บดาต้า โดยจะต้องเป็นการจัดเก็บที่เป็นระบบเพื่อนำไปใช้สร้าง AI เพราะข้อมูลต้องนำไปคลีน จัดระเบียบก่อน ข้อมูลที่มี 80-90 % เป็นขยะ หากเราเอาขยะใส่เข้าไป AI ก็จะเป็นขยะ “

LINE  ร่วมต้าน Fake News

ดร.พิเชษฐ์ ฤกษ์ปรีชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) LINE Thailand  กล่าวว่า LINE เพิ่งมาทำการตลาดจริงจังช่วง 6 ปีที่ผ่านมา ซึ่งก่อตั้งมา 8 ปี มีอายุไ่เยอะมาก ซึ่งช่วงแรกคนเร่ิมใช้บริการจาก แชทไลน์ สติกเกอร์ และค่อยพัฒนามาจนถึง Official Account  ที่พัฒนาเป็น LINE Idol สำหรับสื่อมวชนให้เป็นช่องทางการสื่อสารกับประชาชน 45 ล้านคน  ในแง่ธุรกิจคอนเทนต์ ​ก็ยังมี LINE TV ที่เน้นละคร หรือ LINE Today ที่เป็นช่องทางการวมข่าวจาก Partner ทุกค่าย เดือนหนึ่งมี 1,000 ล้าน เพจวิว

ทั้งนี้ เชื่อว่า AI จะทำให้บริการของ LINE ดีขึ้น ด้วยการใช้ AI เข้ามาจับพฤติกรรมผู้บริโภค เช่น LINE TV ก็จะสามารถเชื่อมโยงดาราที่เคยเล่นเรื่องเดียวกัน  หรือนำเสนอเรื่องที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกับเรื่องที่กำลังดูได้  ยิ่ง AI มี ดาต้าเยอยิ่งฉลาด แต่ไลน์ไม่มีการสืบประวัติผู้บริโภค จะไม่ต้องกรอกเพศอายุเวลาสมัคร ใช้แค่อีเมล์แอคเคานต์และเบอร์โทรศัพท์ ต่างจากแพลตฟอร์มอื่น ดังนั้นจึงใช้รูปแบบการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคแทนการรู้ อายุ เพศ

“ยกตัวอย่างเรื่อง AI ที่จะนำมาพัฒนาเช่นให้ AI ไปดูข้อมูลว่าผู้บริโภคจะสั่งอาหารผ่าน LINE MAN ช่วงไหนพีคที่สุด ซึ่งถามว่าเราจะดูไปทำไม ก็ดูไปบนพื้นฐานเพื่อ สร้างผลิตภัณฑ์  เป็นการ addressing pain point  เราก็เก็บแพทเทิร์นการส่งอาหาร ได้เรียนรู้ว่าช่วงไหน วันไหนร้านไหนจะมีคนส่งเยอะเราก็คาดการรณ์แจ้งเตือนไปยังไลน์แมนว่าช่วงเวลานี้ให้ไปรอหน้าร้านได้เลย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางสั่งของและส่งได้เลย”

ดร.พิเชษฐ์ กล่าวว่า  ในส่วนของ Fake News ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้น แต่มีมานาน เมื่อ 20 ปีที่แล้วก็มาในรูปแบบ SMS จดหมายเชิญ แต่เมื่อเทคโนโลยีสะดวกขึ้น ก็ทำให้ส่งข้อความกันได้ง่ายขึ้น สิ่งที่ไลน์ ทำได้ก็คือหนึ่ง ด้านเทคโนโลยีก็เปิดให้มีการรารีพอร์ตข้อความที่สงสัยเพื่อให้มีการพิจารณาดำเนินการต่อไป และสองให้ความรู้คน  ด้วยการจับมือกับสำนักข่าว AP ให้ความรู้เรือง  Fake News 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย  ไต้หวัน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ​

อย่างไรก็ตาม ยิ่งนานวัน AI ก็จะยิ่งฉลาดขึ้น ทำให้คนมีประสิทธิภาพในการทำงาน แต่ก็จะต้องใช้อย่างถูกทางและมีจริยธรรม ​ซึ่งต่อไปในอนาคตจะออกมาเป็นอย่างไรก็ยังไม่สามารถบอกได้ชัดเจน แต่เชื่อว่าจะนำไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น เช่น ด้านการแพทย์ทียิ่งมีข้อมูลพื้นฐานที่ดีก็จะมีข้อมูลแม่นยำรวดเร็วในการไปวิเคราะห์ ​ สิ่งที่สำคัญเราจึงต้องมีดาต้า ​และเมื่อพูดเรื่องจริยธรรมก็ต้องเรื่องกฎหมายบังคับซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ

บุญมีแลบ แนะเริ่มจัดเก็บข้อมูลดิจิตอล

ต่อยอดใช้ AI พัฒนาระบบล่ามภาษามือ

นายฐิติพงษ์ เหลืองอรุณเลิศ  Co-Founder บุญมีแล็บ กล่าวว่า ได้เข้ามีส่วนสนับสนุนการทำงานกับสื่อมวลชนหลายด้าน ทั้ง ในส่วนของไทยพีบีเอส ที่ออกแบบเรื่องแชทบอท สำหรับตอบคำถามคนดู ที่พิมพ์เข้ามาซักถาม หรือใครที่ลงทะเบียนไว้ ก็จะได้รับข่าวในช่วง 9.00 น.

​ทั้งนี้การจะพัฒนา AI ให้ฉลาดกว่านี้ เราก็ต้องย้อนกลับมาดูเรื่องการ ดิจิไทซ์ ข้อมูล จับเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อนำไปใช้ ซึ่งจะต้องถามว่าเรามี ดาต้า แบงก์เรียบร้อยแล้วหรือยัง โดย หากองค์กรไหนเริ่มเก็บข้อมูลก่อนก็จะฉลาดก่อน ไม่มี Data Lost

นายฐิติพงษ์ กล่าวว่า เรื่อง AI สามารถนำมาช่วยลดงาน ทำให้ธุรกิจเร็วขึ้น ส่วนในด้านสื่อมวลชนก็ต้องดูว่าเป้าหมายคืออะไร เรามีคลังข้อมูลข่าว VDO Text หรือมีการจัดการตรงนี้ที่ดีหรือยัง  ในส่วนที่จะมาช่วยงานข่าวก็เช่น การสัมภาษณ์จะเป็นอย่างไร  หากต่อไปเราไม่ต้องมานั่งถอดเทป เมื่อสัมภาษณ์เสร็จ​มีการแปลงเสียงเป็นข้อความเสร็จ กลับมาออฟฟฟิศก็เสร็จแล้วมาดูความเรียบร้อย หรือรูปถ่ายใช้กล้องอะไรถ่ายก็ได้กลับมาก็มีการแต่งรูปให้เสร็จ มีคำแนะนำต้องถ่ายมุมไหน ตรงนี้จะช่วยให้เราประหยัดเวลาไปคิดประเด็นทำงานช้ินอื่นได้เพิ่ม

นอกจากนี้ ​หากมองว่าในส่วนของภาคต่อหลังจาก มี AI คุณสุทธิชัย หยุ่นแล้ว ​สิ่งที่น่าจะทำได้เลย ก็คือการแปลภาษามือ ซึ่งเราอยากมองว่าจะทำเป็นแมสได้อย่างไร มี Open Source ให้นำไปใช้งานได้ เพราะตรงนี้ไม่ใช่การไปแย่งงานคนแปลที่ทำหน้าที่อยู่ก่อนแล้ว แต่มองว่ายังมีงานอีกมากมายมหาศาล ที่ยังไม่ได้ทำ