เจาะ “กลยุทธ์สร้างภาพลักษณ์” ผ่านคดีฉ้อโกงพันล้าน

“อยากจะให้คิดสักนิดว่าถ้าลงทุนไป100 จะได้กลับคืนมา 100 หรือ120 ไม่มีทางเป็นไปได้”

คดีฉ้อโกงประชาชนของ ประสิทธิ์ เจียวก๊ก ประธานเครือบริษัท เอ็มกรุ๊ป ซึ่งผู้เสียหาย ไม่น้อยกว่า 500 รายเข้าแจ้งความที่กองบังคับการปราบปราม ถูกหลอกให้ร่วมลงทุน 5 รูปแบบ คือ ทัวร์, ทองคำ ,กองทุน ,สหกรณ์ และกระเป๋าแบรนด์เนม  มูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาท  สุพัฒนา บุญธรรม หัวหน้าข่าวอาชญากรรม-สังคม สำนักข่าวINN  บอกกล่าวเรื่องราวกับ รายการ"ช่วยกันคิดทิศทางข่าว" ถึงรูปแบบความเป็นมากลโกงพันล้านของประสิทธิ์ เจียวก๊ก ว่า มีการสร้างภาพลักษณ์ให้น่าเชื่อถือ ผ่านบุคคลที่ไปปรากฏตัวพร้อมนายประสิทธิ์ เช่น ถ่ายรูปกับข้าราชการ,นักการเมือง ประกอบกับไปออกรายการต่างๆมากมาย รวมทั้งมีรูปที่ได้รับรางวัลผ่านสื่อและใช้คำพูดที่คนเชื่อ ซึ่งเป็นกลยุทธ์หนึ่งของการสร้างความน่าเชื่อถือ ว่ามีคนเข้ามาสนใจลงทุน 

​ตอนนี้ทางกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ( ปอศ.) ได้ขยายเครือข่ายเรื่องของการตามหาทรัพย์สิน ต้องดูว่าเอาไปให้ญาติหรือให้ใครอย่างไรบ้าง เท่าที่คุยกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจบอกว่าตอนนี้ยังตามได้ไม่หมด มูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นน่าจะมีจำนวนมาก ครอบคลุมประมาณ 1,000 ล้านบาท

​“เครือข่ายทั้งหมดโดนจับและถูกส่งตัวเข้าเรือนจำไปแล้ว เพราะศาลไม่ให้ประกันตัว ตอนนี้การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งมีคณะทำงานแต่ละชุดที่ไปสืบสวน ก็คือการเปิดทรัพย์สำหรับผู้เสียหาย น่าจะมีมาแจ้งความเพิ่มเติมว่าตัวเองเสียหายอะไร ลงทุนกองทุนไหนใน 5 รูปแบบ และจะรวบรวมหลักฐานว่าเสียเงินไปเท่าไหร่ อีกส่วนหนึ่งก็จะดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องของการสืบทรัพย์ ซึ่งต้องทำงานร่วมกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เพราะมีความเชี่ยวชาญในเรื่องของการนำทรัพย์สินตรงนี้มาคืนให้กับผู้เสียหาย ปปง. บอกว่าไม่ว่าคุณจะเอาทรัพย์ไปยักย้ายถ่ายเทที่ไหนก็สามารถที่จะตามกลับคืนมาได้ เพราะเป็นคดีดังแบบนี้ต้องมีการติดตามทรัพย์กลับคืนมา ตอนนี้อยู่ระหว่างการขยายผลเรื่องเส้นทางการเงิน” 

​สุพัฒนา  บอกว่า  ตอนที่ผู้เสียหายมากองปราบปราม จะมีคน 2 กลุ่มๆแรกมาขอเงินคืนมาต่อว่าด่าทอโกงไป 3-4 เดือนไม่ยอมให้เงิน เพราะเขาเดือดร้อนจริงๆสูญเงินเป็น 10,000 เป็น 100,000 บาท ลงทุนไปแล้วอยากได้เงินคืน ที่ผ่านมาปันผลก็ไม่ได้ขอเงินต้นคืนก็ยังดี ประสิทธิ์ก็ไม่มีจ่ายให้แล้วยังไม่มีคำตอบที่แน่นอน บอกแค่ว่าพนักงานในบริษัทก็โกงเขาไปเหมือนกัน อยากให้พนักงานในบริษัทเอาเงินมาคืน   อีกกลุ่มเรียกประสิทธิ์ว่าท่านประธานๆไม่โกงแน่นอนเป็นคนดี นโยบายของท่านประธานคือความซื่อสัตย์ คนกลุ่ม 2 เชื่อว่าที่เงินจ่ายไม่ตรงเพราะติดปัญหาโควิด ตามที่ประสิทธิ์กล่าวอ้าง 

​ก่อนเกิดปัญหาโควิดทุกคนบอกว่าได้เงินปันผลตามที่มีการบอกไว้ แต่หลังจากโควิดก็ไม่ได้เงิน ซึ่งบางส่วนก็ยังเชื่อมั่นแต่บางส่วนไม่เชื่อมั่น เพราะไม่ได้เงินตามที่ตกลงกันไว้ ส่วนคนที่เชื่อมั่นก็บอกว่าการที่พวกคุณออกมาเรียกร้องแบบนี้ จะทำให้การเงินสะดุด ประสิทธิ์โดนจับพวกเราก็ไม่ได้เงิน ตรงนี้มีการถกเถียงกันที่กองปราบ จากนั้นสองวันหลังจากที่ประสิทธิ์โดนจับไปแล้ว กลุ่มคนที่เชื่อมั่นเปิดโต๊ะแถลงข่าว บอกว่ายังคงเชื่อมั่นในตัวประสิทธิ์ยังไงท่านประธานก็ไม่โกง ยังไงก็ต้องเอาเงินมาให้เรา แต่ติดปัญหาเรื่องโควิด ซึ่งมีเสียงแตกออกเป็นสองฝ่าย

หัวหน้าข่าวอาชญากรรม-สังคม สำนักข่าวINN ซึ่งติดตามทำข่าวอาชญากรรมมา 18 ปีทิ้งท้ายให้ข้อคิดว่า ถ้าพูดถึงมูลค่าความเสียหายคดีอื่นๆมีมากกว่านี้ เท่าที่เห็นคนโกงซึ่งเป็นแม่ข่ายจะใช้คำพูดชักชวน คนก็จะหลงเชื่อเรื่องของการลงทุน เพราะฉะนั้นอยากให้คิดสักนิดว่าถ้าลงทุนไป100 จะได้กลับคืนมา 100 หรือ120 ไม่มีทางเป็นไปได้

​# ติดตามรายการช่วยกันคิดทิศทางข่าว ทุกวันอาทิตย์เวลา 11.00-12.00 น.โดย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย  และคลื่นข่าว MCOT News FM 100.5

#ช่วยกันคิดทิศทางข่าว #รู้ทันกลโกง

#สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

#สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ #Thaijournalistsassociation