B-4-1-2551-23_นาทีชีวิตวิกฤติขาดแคลนแพทย์-กรุงเทพธุรกิจ

รหัส B-4-1-2551-23

ชื่อข่าว_นาทีชีวิตวิกฤติขาดแคลนแพทย์

เจ้าของ-กรุงเทพธุรกิจ

ประจำปี พศ. 2551

ข่าว “นาทีชีวิต วิกฤติขาดแคลนแพทย์”    
ส่งผลงานประกวดชิงรางวัลข่าวอิศราฯ ประจำปี 2551
กองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

     ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ถือเป็นปัญหาในเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของประชาชนจำนวนมาก  สถิติแพทย์หนึ่งคนต่อคนไข้หมื่นคน ถือเป็นภาระหนักที่แพทย์จำนวนมากต้องแบกรับ รวมไปถึง การเข้าคิวรอตรวจ 2 ชั่วโมง แต่พบแพทย์ได้เพียง 1-2 นาที
ภาระงานแพทย์ที่เพิ่มขึ้นสวนทางกับนโยบายด้านสาธารณสุขที่ประกาศ โครงการ
เมดิเคิลฮับ ที่แม้จะสร้างรายได้จากการผู้ป่วยจากชาติ แต่ในทางกลับกันก็มีผลกระทบไม่น้อยต่อประสิทธิภาพของแพทย์ต่อการรักษาผู้ป่วยในประเทศ

         กรุงเทพธุรกิจให้ความสำคัญต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากนโยบายดังกล่าว จึงได้นำเสนอข่าว ในประเด็น “นาทีชีวิต วิกฤติขาดแคลนแพทย์”  เนื่องจาก นโยบายที่สวนทาง ทำให้ การบริหารจัดการนโยบายสาธารณสุขจำเป็นจะต้องระมัดระวัง

             กรุงเทพธุรกิจ  ได้ให้ความสำคัญต่อการนำเสนอปัญหาด้านระบบสาธารณสุข  เพื่อผลักดันให้มีการแก้ไข นับจากการประกาศ รายได้จาก โครงการ เมดิเคิลฮับ  ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2551 

หลังจากนั้น ได้นำเสนอปัญหา ภาระงานหนักที่แพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลของรัฐ ที่จะต้องดูแลผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้นจากโครงการหลักประกันสุขภาพ รวมไปถึง การที่แพทย์จำนวนไม่น้อยเริ่มทยอยลาออกไปสังกัดโรงพยาลเอกชน เพราะรายได้โรงพยาบาลรัฐที่น้อยกว่า รวมไปถึง ภาระงานที่หนัก ดังเช่น การนำเสนอข่าว ผู้อำนวยการโรงพยาบาลป่าตอง  จ.ภูเก็ต ประกาศ ลาออก เนื่องจากไม่สามารถรับภาระงานหนักได้

 ภาระงานที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อประสิทธิภาพในการรักษา ทำให้ แพทย์จำนวนมากถูกฟ้องร้องจากการวินิจฉัยที่ผิดพลาด ทำให้ช่องว่างระหว่างแพทย์และผู้ป่วยมีเพิ่มมากขึ้น จนนำไปสู่ความไม่ไว้วางใจกันและกัน

ผลของความไม่ไว้วางใจดังกล่าว ทำให้ โรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็กไม่กล้ารักษาผู้ป่วย กระทั่งเกิดปัญหา นาทีชีวิต ที่ระบบส่งต่อผู้ป่วยไม่สามารถทำงานได้  โรงพยาบาลจำนวนมากปฏิเสธการรักษา ทำให้ผู้ป่วยอุบัติเหตุจำนวนไม่น้อยต้องติดต่อโรงพยาบาลเพื่อรักษามากถึง 7-8 ครั้ง  หลายรายต้องเสียชีวิตขณะที่ญาติพยายามติดต่อโรงพยาบาลเพื่อส่งต่อในการรักษา

 กรุงเทพธุรกิจได้ให้ความสำคัญต่อการปฏิรูประบบสุขภาพ ที่นำไปสู่คุณภาพชีวิต ทั้งแพทย์ผู้รักษา และผู้ป่วย อย่างต่อเนื่องกระทั่งกระทรวงสาธารณสุข ตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการลาออกของแพทย์ไปสู่โรงพยาบาลเอกชน จนนำไปสู่การเพิ่มรายได้แพทย์ การตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือแพทย์ ที่ถูกฟ้องร้อง รวมไปถึง การปรับเงื่อนไขการคัดเลือกแพทย์ เพื่อนำไปสู่การปฏิรูประบบสาธารณสุขเพื่อสร้างความสุขให้กับคนทุกกลุ่มในสังคม

 กรุงเทพธุรกิจ จึงนำเสนอข่าวชิ้นนี้ เพื่อให้คณะกรรมการโปรดพิจารณา