รายงานสถานการณ์สื่อมวลชนไทยในรอบปี 2551

รายงานสถานการณ์สื่อมวลชนไทยในรอบปี 2551
โดยสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

ปีแห่งการทดสอบความเป็นวิชาชีพสื่อมวลชน

ในปี2551ที่ ผ่านมา ประเทศไทยของเราตกอยู่ในภาวะวิกฤติ เกิดความขัดแย้ง ความแตกแยกร้าวลึกอย่างรุนแรงในสังคม เป็นหนึ่งปีที่คนไทยตกอยู่ในความเครียด วิตกกังวล เป็นหนึ่งปีที่คนไทยบางส่วนพร้อมหยิบอาวุธขึ้นมาทำร้ายกันและกัน เป็นหนึ่งปีที่คนเราพบกับความเสียหายและสูญเสียมากมายในทุกๆด้าน เป็นหนึ่งปีที่คนไทยแต่ละคนต่างมีคำถามว่า ประเทศของเราจะคืนความสู่ความสงบสุขหรือเราจะยุติความรุนแรง ที่เกิดขึ้นได้อย่างไร

นัก ข่าวของสื่อมวลชนทุกแขนงที่ได้ทำหน้าที่รายงานข่าวในสถานการณ์ความขัดแย้ง ดังกล่าว สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เห็นว่าเป็นหนึ่งปีแห่งการทดสอบความเป็นวิชาชีพสื่ออย่างแท้จริง เราต้องอดทนต่อการถูกดูหมิ่นดูแคลนด้วยคำด่าที่รุนแรงของนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นคำด่าที่ลดทอนความน่าเชื่อถือต่อวิชาชพสื่ออย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เราถูกทดสอบเรื่องของความเป็นกลางและเป็นธรรม โดยเฉพาะนายสมัครเรียกร้องให้สื่อฯเลือกข้างโดยเฉพาะเลือกอยู่กับฝ่ายรัฐบาล แต่องค์กรวิชาชีพสื่อทุกองค์กรได้ออกมาปฏิเสธข้อเรียกร้องดังกล่าว เพราเห็นว่าในสถานการณ์ความขัดแย้งที่ดำรงอยู่ หากสื่อตัดสินใจเลือกอยู่กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือเลือกปฏิเสธที่จะนำเสนอข่าว เสนอข้อเท็จจริงของอีกฝ่ายหนึ่งจะยิ่งเพิ่มเติมสถานการณ์รุนแรงให้ทวีมาก ยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ในการที่สื่อมวลชนได้ทำหน้าที่รายงานข่าวการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชน เพื่อประชาธิปไตย และการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) ตลอด 1 ปี ที่ผ่านมา องค์กรสื่อมวลชนถูกคุกคามทั้งโดยตรงและโดยอ้อม โดยเฉพาะกรณีสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที ซึ่งเป็นสื่อของรัฐที่โดนกลุ่มพันธมิตรฯ บุกเข้าไปยึด กรณีสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ที่จ.เชียงใหม่ ถูกกลุ่มคนรักเชียงใหม่ 51 ปิดล้อม แม้กระทั่งสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี  ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมของเอกชน ก็โดนกลุ่มบุคคลไม่ทราบฝ่าย กระทำการอุกอาจใช้อาวุธสงครามยิงถล่มใส่สถานี ที่ถือเป็นเหตุการณ์ที่คุกคามองค์กรสื่อโดยตรง รวมทั้งกรณีแกนนำพันธมิตรฯบางคนเรียกร้องให้ประชาชนไม่ซื้อหนังสือพิมพ์บาง ฉบับ จนเป็นเหตุทำให้ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวต้องระมัดระวังตัวมาก ยิ่งขึ้นเมื่อเข้าไปทำหน้าที่การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ก็ถือการคุกคามสื่อในทางอ้อมเช่นเดียวกัน

เหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองตลอดรอบ 1 ปี ที่ผ่านมา นักข่าวและช่างภาพของสื่อมวลชนทุกแขนงต้องใช้ความอดทนในการทำหน้าที่ เพื่อให้ได้ข่าวและภาพข่าว เพื่อนำเสนอข้อเท็จจริงให้ประชาชนได้รับทราบ  แม้ ว่านักข่าวและช่างภาพของสื่อมวลชนทุกแขนงต้องเสี่ยงภัยในการทำหน้าที่ หลายคนได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ความรุนแรง โดยเฉพาะเหตุการณ์ในวันที่ 7 ต.ค. 2551 นอก จากนี้ ยังมีนักข่าวและช่างภาพจำนวนมากถูกข่มขู่ คุกคาม และขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งจากหน่วยรักษาความปลอดภัยของกลุ่มพันธมิตรฯและกลุ่มนปช. ที่เกิดขึ้นไม่เว้นแต่ละวัน  อาทิ บังคับให้นักข่าวถอดเสื้อรณรงค์ยุติความรุนแรง หรือขัดขวางไม่ให้ช่างภาพถ่ายภาพ และการฉุดกระชากลากถูนักข่าว ฯลฯ

ขณะเดียวกันการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนในต่างจังหวัดก็ถูกคุกคามมากยิ่งขึ้น เริ่มจากในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นายชาลี บุญสวัสดิ์ 64 ปี ผู้สื่อข่าว หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ประจำ จ.นราธิวาส เสียชีวิตระหว่างเข้าปฏิบัติหน้าที่ ความสูญเสียดังกล่าวได้สัญญาณเตือนต่อความปลอดภัยของนักข่าวส่วนภูมิภาคของ สื่อมวลชนทุกแขนง ต่อมาก็เกิดเหตุการณ์การลอบสังหารนักข่าวหนังสือพิมพ์มติชน 2 ราย คือ นายอภิวัฒน์ ชัยนุรัตน์ อายุ 48 ปี ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์มติชน และผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช และ นายจารึก รังเจริญ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์มติชน ประจำจ.สุพรรณบุรี เป็นการคุกคามการทำหน้าที่ของนักข่าวที่รุนแรงมาก เพราะการคุกคามดังกล่าว มีเป้าหมายคือชีวิตของนักข่าว สมาคมนักข่าวฯ เห็นว่าการสังหารนักข่าวทั้ง 2 กรณี เป็นเหตุการณ์ที่ไม่อาจจะยอมรับได้ เพราะเห็นว่าการฆ่านักข่าวคือการฆ่าความจริง ที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพการรับรู้ข่าวสารของประชาชนอย่างรุนแรง

ด้วยเหตุนี้ สมาคมนักข่าวฯจึงเห็นว่าในรอบปี 2551 เป็น ปีแห่งการทดสอบความเป็นวิชาชีพสื่ออย่างแท้จริง จริยธรรมของสื่อมวลชนถูกทดสอบจากการรายงานข่าวในสถานการณ์ความขัดแย้งในรอบ ปีที่ผ่านมานักข่าวของสื่อมวลชนทุกแขนงผ่านการทำหน้าที่อย่างอดทนต่อความ เหน็ดเหนื่อย  และถูกกดดันอย่างรอบด้าน เสมือนหนึ่งการปฏิบัติหน้าที่ในสนามรบ การทำหน้าที่ในรอบปีที่ผ่านมาถือว่าเป็นต้นทุนที่มีความหมายของนักข่าวทุกคน ที่จะเลือกเดินบนเส้นทางของนักวิชาชีพสื่อสารมวลชนต่อไป

ในปี 2552 สมาคม นักข่าวฯ ขอให้นักข่าวและสังคมไทยร่วมกันสรุปบทเรียนในทุกๆด้าน ที่เกี่ยวกับสื่อมวลชนเพื่อผลักดันให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมกันปฏิรูป สื่อสื่อมวลชนอย่างจริงจัง โดยเฉพาะต้องหามาตรการป้องกันสื่อของรัฐไม่ให้ยอมรับใช้หรือตกเป็นเครื่อง มือทางการเมืองของฝ่ายที่กุมอำนาจรัฐ รวมทั้งใช้สื่อของรัฐในการปลุกระดมให้เกิดความเกลียดชังซ้ำเติมความแตกแยกใน สังคม ยอมละทิ้งหลักการของวิชาชีพสื่อ ที่ควรยึดมั่นความถูกต้อง ดูแลผลประโยชน์สาธารณะ คำนึงถึงความครบถ้วนและรอบด้านของข้อมูล ให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายที่อยู่ในความขัดแย้งอย่างเท่าเทียม

สมาคม นักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ขอเป็นกำลังใจให้กับนักข่าวของสื่อมวลชนทุกแขนงและให้ยึดมั่นในการทำหน้าที่ เพื่อรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์สาธารณะตามหลักวิชาชีพของสื่อมวลชนตลอดไป

ขณะที่ในรอบปี 2551 ที่ผ่านมา ฝ่ายสิทธิเสรีภาพและปฏิรูปสื่อ สมาคมนักข่าวฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญในการคุกคามสื่อในรูปแบบต่างๆ โดยได้รวบรวมประมวลสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับสื่อตลอดทั้งปี พบว่ามีการคุกคามวิชาชีพสื่อฯ คุกคามบุคคล และการคุกคามองค์กรสื่อฯ หลากหลายรูปแบบ ทั้งทางตรงและทางอ้อมดังต่อไปนี้ คือ

1.“ฆ่าปิดปาก 2 นักข่าวมติชน” คือ นายอธิวัฒน์  ไชยนุวัฒน์ ผู้สื่อข่าวนสพ.มติชนและช่อง7ประจำ จ.นครศรีธรรมราช เมื่อคืนวันที่ 1 สิงหาคม และนายจารึก รังเจริญ ผู้สื่อข่าวนสพ.มติชนประจำจังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 27ก.ย. ซึ่งทั้ง2เหตุการณ์เป็นผลมาจากการทำหน้าที่สุนัขเฝ้าบ้าน(watch dog) ที่ตรวจสอบความไม่ชอบมาพากลในสังคมจนทำให้ผู้มีอิทธิพลที่ถูกนำเสนอข่าวโกรธ แค้นจึงตามฆ่าในที่สุด ซึ่งเรื่องนี้สมาคมนักข่าวฯก็ได้ออกแถลงการณ์ประณามการกระทำของคนร้าย เพราะถือเป็นการฆ่าสื่อปิดปากที่สะเทือนใจคนในวงการ

2.“วิวาทะรายวันของนายสมัครกับสื่อฯ” นับ ตั้งแต่นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกฯ ก้าวขึ้นมาเป็นหัวหน้าพรรคพลังประชาชนกระทั่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ที่มีวาทะลีลาการให้สัมภาษณ์กับสื่อฯที่ลดทอนความน่าเชื่อถือของสื่อมวลชน ไทย อาทิ “ถามอะไรโง่ๆแบบนี้ เป็นคำถามที่โง่เง่าที่สุดที่เคยได้ยินมา” “ถามอย่างนี้จะบ้าหรือเปล่า” “ตอนนั้นคุณอายุเท่าไร อายุเท่าไร คุณเกิดหรือยัง” “ถามหาหอกอะไร” “เมื่อคืนไปร่วมเสพเมถุนกับใครหรือไม่” “สติปัญญานักข่าวมีคิดได้เท่านี้เหรอ มันน่าอายจริงๆ นะคิดได้ยังงี้เนี่ย” อีก ทั้งยังมีการแสดงออกทางสีหน้าต่อนักข่าวภาคสนามในหลายโอกาส เช่น เดินจ้องหน้านักข่าวเป็นเวลานาน และต่อว่าสื่อฯที่ด้านหน้าห้องน้ำที่ตลาดอ.ต.ก.หลังการจัดรายการสนทนาประสา สมัคร ซึ่งทั้งหมดของวาทะของนายสมัครนั้น เมื่อวันที่ 3 พ.ค.เป็นวันเสรีภาพสื่อ ได้มีงานวิจัยศึกษา “พฤติกรรม-แบบแผนและกลวิธีการสื่อสารของนายสมัครฯ” ที่ มีต่อสื่อมวลชน จนพบว่าการสื่อสารของนายสมัคร แสดงออกถึงความเพิกเฉย ไม่สนใจ มองไม่เห็นคุณค่าของสื่อมวลชนในสังคมประชาธิปไตยด้วยการไม่เคารพศักดิ์ศรี และเกียรติภูมิของสื่อ

3. “นายกฯสมัคร” เรียกร้องให้สื่อฯ เลือกข้างท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้ง หลังจากกลุ่มพันธมิตรฯยึดทำเนียบรัฐบาลสำเร็จในช่วงบ่ายวันที่ 26 สิงหาคม และในช่วงเช้าวันเดียวกันกลุ่มนักรบศรีวิชัยได้บุกรุกสถานีโทรทัศน์แห่ง ประเทศไทย(เอ็นบีที)ตลอดจนช่วงเช้ากลุ่มพันธมิตรได้เข้ายึดสถานี ปรากฏว่าเวลา 15.00 น. นายสมัครได้แถลงขอให้สื่อมวลชนเลือกข้างว่า “สื่อก็ต้องช่างน้ำหนักด้วยว่าจะเลือกข้างไหน งานนี้จะอยู่ตรงกลางไม่ได้ เพราะสื่อครึ่งหนึ่งที่อยู่กับเขานั้นท่านส่งเสริมให้บ้านเมืองเสียหายไปด้วย”    ซึ่งในวันเดียวกัน 4 สมาคมวิชาชีพสื่อประกอบด้วย สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์เรื่อง “การทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง” แสดงความไม่เห็นด้วยกับข้อเรียกร้องดังกล่าว เพราะเป็นความคิดและทัศนคติที่ไม่ถูกต้องสอดคล้องกับหลักการในการทำหน้าที่ ของสื่อมวลชนที่จะต้องนำเสนอข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นอย่างรอบด้าน ใน ทางกลับหากสื่อมวลชนทำหน้าที่รายงานข่าวที่บิดเบือนข้อเท็จจริง หรือยอมตนเป็นเครื่องมือการปลุกระดมของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ก็ยิ่งจะทำให้เกิดการเผชิญหน้าในสังคมและอาจนำเหตุการณ์ไปสู่ความรุนแรงได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายในสังคมไทยไม่ต้องการให้เกิดขึ้น สำหรับข้อเสนอให้มีการเลือกข้างนั้น ขอยืนยันว่า สื่อมวลชน ทุกแขนงเลือกอยู่ข้างประชาชนและความถูกต้องอยู่แล้วแต่ไม่จำเป็นต้องเสนอ ข่าวไปในทิศทางเดียวกัน

ดังนั้น ในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองของฝ่ายต่างๆ ที่ดำรงอยู่ในช่วงขณะนี้ องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนทั้งสี่องค์กร ขอสนับสนุนให้สื่อมวลชนทุกแขนง ทำหน้าที่การรายงานข่าวสารข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากทุกฝ่ายอย่างตรงไปตรงมา ไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง และต้องยึดมั่นในกรอบจริยธรรมแห่งวิชาชีพของสื่อมวลชนอย่างเคร่งครัด ด้วยการนำเสนอข่าวอย่างรอบด้าน และให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ประชาชนสามารถรับรู้ ข้อมูลที่ถูกต้องและรอบด้านมากที่สุดเพื่อประกอบการตัดสินใจใดๆ

4. คุกคามสื่อในการทำข่าวการชุมนุมไม่ว่าจะสีไหน นับจากการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯตั้งแต่วันที่ 25 พ.ค. – 3 ธ.ค. 2551 เกิด เหตุนักข่าว-ช่างภาพถูกคุกคามหลายต่อหลายครั้ง ทั้งจากการกดดันการรายงานข่าวจากผู้ชุมนุม นักรบศรีวิชัย การ์ด ฝ่ายรักษาความปลอดภัย แนวร่วมระดับแกนนำที่ขึ้นเวทีปราศัย อาทิ น.ส.ศศินภา วัฒนวรรณรัตน์ ผู้สื่อข่าวนสพ.มติชน ถูกนายภูวดล ทรงประเสริฐ แนวร่วมพันธมิตรฯ กระชากจนล้มลง กรณีของผู้ชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯบังคับให้นายณัฐวุฒิ กรัณยโสภณ ผู้สื่อข่าวนสพ.บ้านเมือง ถอดเสื้อซึ่งมีข้อความว่ายุติความรุนแรง กรณีการ์ดพันธมิตรยิงปืนใส่รถผู้สื่อข่าวของสำนักข่าวทีเอ็นเอ็นจนรถพรุนไป ทั้งคัน  รวมทั้งนักข่าวจส.100 ถูกแก๊สน้ำตายิงเข้าใส่กลางหลังในการทำข่าวการชุมนุมเมื่อวันที่ 7 ต.ค. และอีกหลายกรณี รวม ทั้งการไปทำข่าวในการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่ง ชาติ(นปช.)ก็เช่นเดียวกัน ซึ่งนักข่าวนสพ.ไทยรัฐถูกผู้ชุมนุมเตะจนล้มคว่ำ ซึ่งสมาคมนักข่าวฯก็มีการออกแถลงการณ์เพื่อยับยั้งการคุกคามดังกล่าวอยู่ หลายต่อหลายครั้งเช่นกัน

5. แปลงโฉมช่อง11 เป็น NBT เกิด ขึ้นในช่วงที่นายจักรภพ เพ็ญแข ซึ่งช่วงนั้นเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กำกับดูแลกรมประชาสัมพันธ์ และเป็นความต้องการของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่ต้องการสถานีโทรทัศน์ที่มีลักษณะคล้ายกับไอทีวีเดิม ซึ่งมีการเปิดตัวโลกโก้NBTเมื่อวันที่ 1 เม.ย. และเริ่มออกอากาศภายใต้ชื่อใหม่ แต่สุดท้ายก็ยังไม่พ้นวังวนของการเป็นสื่อของรัฐที่ทำข่าวเชียร์รัฐบาลขณะนั้นอยู่เช่นเคย

6. ยึดNBT – ปิดล้อมTPBSเชียงใหม่ – ยิงถล่มASTV ซึ่งทั้ง 3 เหตุการณ์ แม้จะต่างกรรม ต่างวาระ และต่างสถานที่ แต่ก็ถือว่าเป็นการคุกคามองค์กรสื่อ เพียงไม่ต้องการให้สื่อทำหน้าที่ของสื่อ ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่กลุ่มชายฉกรรจ์ บุกสถานีโทรทัศน์กรมประชาสัมพันธ์หรือเอ็นบีทีในยามวิกาล และเช้าวันเดียวกัน กลุ่มพันธมิตรฯได้พังประตูทางเข้ายึดสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที และวันที 3 พ.ย.กลุ่มรักเชียงใหม่ 51 พังประตู ปิดล้อม ตัดน้ำ-ไฟ ศูนย์ข่าวสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสจ.งหวัดเชียงใหม่ และกรณีASTVถูก ยิงถล่มด้วยอาวุธสงคราม จนทำให้นักข่าว ผู้ประกาศ และบุคคลในสถานีต้องหนีตายกันจ้าละหวั่น ซึ่งองค์สื่อได้ร่วมกันออกแถลงการณ์ประณามและให้หยุดพฤติกรรมคุกคามสื่อดัง กล่าว

7. “โลตัส” ฟ้อง100 ล้านบก.-คอลัมน์นิสต์ กรุงเทพธุรกิจ เรื่อง นี้ถูกวิจารณ์ว่าปิดปากสื่อด้วยกฎหมาย เพราะกรณีเมื่อวันที่ 20 เม.ย.ของนางนงค์นาถ ห่านวิไล บรรณาธิการข่าวธุรกิจการตลาด นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ถูกห้างค้าปลีกเทสโก้ โลตัส ยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหาย 100 ล้านบาท จากกรณีนำเสนอบทความกล่าวหาว่า ห้างโลตัสเปิดสาขามากเกินความเป็นจริง และได้ต่อว่าในเชิงที่ว่าการกระทำดังกล่าวถือเป็นการไม่รักชาติ และก่อนหน้านี้ บริษัท เอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด ยื่นฟ้องนายกมล กมลตระกูล คอลัมนิสต์ นสพ.กรุงเทพธุรกิจเรียกค่าเสียหายเป็นจำนวน 100 ล้านบาท โดย ข้อกล่าวหาอ้างถึงบทความเรื่อง "พ.ร.บ.ค้าปลีก กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้" ในคอลัมน์ "ภูมิคุ้มกันคอร์รัปชัน" ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 29 ต.ค.2550

8.ความสูญเสียครั้งใหญ่ของไทยรัฐ สืบ เนื่องจากกรณีที่นายชาลี บุญสวัสดิ์ ผู้สื่อข่าวนังสือพิมพ์ไทยรัฐประจำจังหวัดนราธิวาสเสียชีวิตในขณะเข้าไปทำ ข่าวระเบิดบริเวณหน้าร้านอาหารสีส้มตรงข้าม สภ. สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส  ปรากฏ ว่า หลังจากนั้นก็ได้เกิดอุบัติเหตุสลดรเมื่อถตู้คณะ ผอ.ศูนย์ข่าวภาคใต้ไทยรัฐ-พร้อมผู้สื่อข่าว เสียหลักตกไหล่ทางชนต้นไม้เกาะกลาง ถังแก๊สระเบิดไฟท่วม ย่าง 5 ศพ คลอกสาหัสอีก 5 ราย ซึ่งทั้งหมดกำลังเดินทางไปงานศพของนายชาลีเหยื่อข่าวนราธิวาสเหยื่อระเบิด ที่อ.สุไหงโก-ลก

9. ถอดรายการ เป็น เรื่องธรรมดาไปเสียแล้วสำหรับการถอดรายการ ถอดผู้ดำเนินรายการของสถานีโทรทัศน์และสถานีวิทยุที่เป็นลูกข่ายของกรมประชา สัมพันธ์ อย่างในรอบปีที่ผ่านมาในช่วงของนายจักรภพ เพ็ญแข ก็มีการถอดรายการมุมของเจิมศักดิ์ทางเอฟเอ็ม 105 และรายการที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลรุนแรง รวมทั้งการถอด “รายการข่าวหน้าสี่” ทางสถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีแบบสายฟ้าแลบ หลังเปลี่ยนชื่อมาใช้NBT ไม่นาน แล้วนำรายการความจริงวันนี้เช้ามาจัดช่วงจต่อในเวลาเดียวกัน

10. นักข่าวทำเนียบรัฐบาลถูกห้ามใส่เสื้อคุกคามสื่อ โดยเมื่อวันที 23 ก.ค. ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ที่ดูแลสื่อมวลชนว่ามีผู้ใหญ่ขอห้ามให้นักข่าวเลิกใส่เสื้อ “คุกคามสื่อ คุกคามประชาชน” เข้า มาในทำเนียบรัฐบาล ทั้งที่เสื้อดังกล่าวสมาคมนักข่าวฯจัดทำขึ้นเพื่อแจกให้กับนักข่าวในสนาม และเป็นหนึ่งในการร่วมการรณรงค์กับยูเนสโก ที่กำหนดให้วันที่ 3 พ.ค. เป็นวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก

//////////////////////