ร่างข้อบังคับ สหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย

ร่าง

ข้อบังคับ

สหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย

 

 

หมวด ๑ บททั่วไป

 

ข้อ ๑.  ข้อบังคับนี้เรียกว่า ข้อบังคับสหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย

ข้อ ๒. สหภาพแรงงานนี้มีชื่อว่า สหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย    มีอักษรย่อภาษาไทยว่า  สร.สท.

มีชื่อภาษาอังกฤษว่า National Union of Journalists, Thailand   มีชื่อย่อภาษาอังกฤษว่า  NUJT

ข้อ ๓. เครื่องหมายของสหภาพแรงงานมีดังนี้ ตราสัญลักษณ์ของสหภาพแรงงานเป็นรูปฝ่ามือไขว้กัน อยู่บนฐานรูปคนพร้อมอักษรย่อ ภาษาอังกฤษว่า NUJT และชื่อภาษาไทยว่า สหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย

ซึ่งมีความหมายว่าเราสื่อมวลชนไทย จะร่วมมือร่วมใจ มีแนงคิดและจิตใจที่มุ่งมั่นเป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อร่วมกันพัฒนาประเทศชาติ

ตามรูปที่ประทับ

 

 

 

(ตัวอย่างตราที่ใช้ประทับ)

 

ข้อ ๔. ข้อบังคับนี้มีผลใช้บังคับ เมื่อสำนักงานทะเบียน………………….ได้รับจดทะเบียนไว้แล้ว

 

- ๒ -

 

หมวด ๒ วัตถุที่ประสงค์

 

ข้อ ๕. สหภาพแรงงานมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

(๑) เพื่อการแสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้าง

(๒) ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้าง กับลูกจ้าง และระหว่างลูกจ้างด้วยกัน

 

หมวด ๓ ที่ตั้งสำนักงาน

 

ข้อ ๖. สหภาพแรงงาน มีสำนักงานตั้งอยู่ ณ ......๕๓๘/๑ ถนนสามเสน แขวงดุสิต เขตดุสิต  กทม. ๑๐๓๐๐.

..................................................................................................................................................

การเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงานให้สหภาพแรงงานแจ้งเป็นหนังสือต่อนายทะเบียนสำนักงานทะเบียน

……………..โดยไม่ชักช้าและนำเสนอเข้าที่ประชุมใหญ่เพื่อขอมติแก้ไขข้อบังคับและนำไปจดทะเบียน

ต่อไป

 

หมวด ๔ สมาชิกภาพ

 

ข้อ ๗. สมาชิกของสหภาพแรงงานต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

(๑) เป็นลูกจ้างของนายจ้างที่ประกอบกิจการสื่อสารมวลชน

(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่า ๑๕ ปีบริบูรณ์

(๓) ไม่เป็นลูกจ้างผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจในการจ้าง การลดค่าจ้าง การเลิกจ้าง การให้บำเหน็จหรือ

การลงโทษ

(๔) ไม่เป็นบุคคลที่ถูกให้พ้นจากการเป็นสมาชิกตามข้อ ๑๐ (๔) เว้นแต่ได้พ้นจากสมาชิกภาพด้วย

เหตุดังกล่าวไปแล้วเกิน ๑ ปีหรือคณะกรรมการสหภาพแรงงานมีมติให้รับเข้าเป็นสมาชิกหรือที

ประชุมใหญ่มีมติให้รับเข้าเป็นสมาชิก

ข้อ ๘. การสมัครเป็นสมาชิก

ผู้มีคุณสมบัติตามข้อ ๗ จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกได้ ด้วยการยื่นใบสมัครต่อนายทะเบียนของสหภาพ

แรงงานหรือผู้ที่คณะกรรมการมอบหมายโดยมีกรรมการอย่างน้อย ๑ คนรับรองว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติ

แล้วเสนอให้ประธานพิจารณาเมื่อประธานพิจารณาว่า ผู้สมัครมีคุณสมบัติครบถ้วนก็ให้ลงนาม

อนุมัติรับเข้าเป็นสมาชิก  สมาชิกจะมีสิทธิและหน้าที่ตามข้อบังคับ เมื่อได้ชำระค่าสมัครและค่าบำรุง

งวดแรกแล้วและให้นายทะเบียนของสหภาพแรงงานลงทะเบียนสมาชิก และออกบัตรประจำตัวให้

ภายใน ๓๐ วันนับแต่วันได้รับชำระค่าสมัครและค่าบำรุง

 

 

- ๓ -

ในกรณีที่สหภาพแรงงานยังไม่ได้จัดประชุมใหญ่สามัญครั้งแรก ให้ผู้เริ่มก่อการทำหน้าที่แทนคณะกรรมการและนายทะเบียนของสหภาพแรงงาน ในการรับรองพิจารณา และรับสมัครสมาชิกตามความข้างต้น

ข้อ ๙. อัตราเงินค่าสมัคร ค่าบำรุง และวิธีการชำระ

(๑) ค่าสมัครและค่าบำรุงซึ่งสมาชิกต้องชำระให้สหภาพแรงงาน ให้เป็นไปตามอัตราดังนี้                ก. ค่าสมัครเข้าเป็นสมาชิกคนละ   ๑๐๐ บาท

ข. ค่าบำรุงรายปี ๆ ละ   ๒๐๐   บาท

(๒)ค่าบำรุงรายปีให้ชำระภายในวันเดียวกันกับการชำระเงินค่าสมาชิก และต้องชำระค่าบำรุงรายปีภายในเดือนธันวาคมของทุกปี

(๓) สมาชิกที่ค้างชำระค่าบำรุง ๑ ปี นับแต่วันครบกำหนดชำระตามข้อ ๙(๒) จะไม่มีสิทธิได้รับผล

ประโยชน์ใดๆ จากสหภาพแรงงานตามข้อ ๑๑(๑),(๒)

(๔)การเก็บเงินค่าบำรุงจากสมาชิกสหภาพแรงงานอาจใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งหรือหลายวิธีในการเก็บ

ดังต่อไปนี้

ก. สมาชิกชำระค่าบำรุง ณ ที่ทำการสหภาพแรงงาน

ข. ให้มีผู้แทนของสหภาพแรงงานไปรับเงินค่าบำรุงตามหน่วยงานที่สมาชิกประจำอยู่

ค. ร่วมกับฝ่ายบริหารหักเก็บเงินค่าบำรุงทางบัญชีจ่ายเงินเดือน โดยความยินยอมของสมาชิกเป็น

หนังสือ  วิธีการจัดเก็บเงินค่าบำรุงข้างต้น จะต้องได้รับความเห็นชอบโดยมติมากกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกที่

ประชุมใหญ่

ข้อ ๑๐. สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

(๑) ตาย

(๒) ขาดคุณสมบัติตามข้อ ๗ ให้นายทะเบียนของสหภาพแรงงานแจ้งให้ผู้ขาดคุณสมบัติทราบ

(๓) ลาออก โดยแจ้งเป็นหนังสือต่อสหภาพแรงงาน และการแสดงเจตนาจะมีผลนับแต่วันที่หนังสือ            นั้นไปถึงสหภาพแรงงานแล้ว

(๔) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับ และระเบียบของสหภาพฯ หรือกระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อ

สหภาพฯ หรือประพฤติตนเป็นที่เสื่อมเสียแก่สหภาพฯ  และคณะกรรมการสหภาพแรงงาน                  มีมติให้ออกด้วยคะแนนเสียง ๒ ใน ๓ ของคณะกรรมการฯ และเมื่อได้ดำเนินการแล้วให้ราย         งานให้ที่ประชุมใหญ่ทราบ

(๕) ค้างชำระค่าบำรุงติดต่อกันเกินกว่า ๑ ปี นับแต่วันที่ครบกำหนดชำระตามข้อ ๙(๒) และ

นายทะเบียนได้เตือนเป็นหนังสือแล้ว

 

 

 

-๔-

 

(๖) ที่ประชุมใหญ่ให้ออก

ข้อ ๑๑. สมาชิกมีสิทธิดังต่อไปนี้

(๑) เสนอความคิดเห็น รับรองข้อเสนอ อภิปรายสนับสนุนหรือคัดค้าน ตั้งข้อซักถามเกี่ยวกับกิจการ

ของสหภาพแรงงาน ออกเสียงลงคะแนนเพื่อลงมติในเรื่องต่าง ๆ เว้นแต่สมาชิกที่ค้างชำระค่า

บำรุงตามข้อ ๙(๓)

(๒) สมัครรับเลือกตั้งเป็นกรรมการ หรือได้รับการแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการ หรือเจ้าหน้าที่อื่นๆ ของ

สหภาพแรงงาน เว้นแต่สมาชิกที่ค้างชำระค่าบำรุงตามข้อ ๙ (๓)

(๓) ขอให้สหภาพแรงงานคุ้มครองผลประโยชน์และสวัสดิภาพการทำงานและขอคำแนะนำปรึกษา

ในปัญหาที่เกี่ยวกับการแรงงาน

(๔) ได้รับการช่วยเหลือและผลประโยชน์ที่สหภาพแรงงานจัดขึ้น

(๕) ตรวจสอบทะเบียนสมาชิก เอกสาร หรือบัญชีของสหภาพแรงงาน

ข้อ ๑๒. สมาชิกมีหน้าที่ดังต่อไปนี้

(๑) เข้าร่วมประชุมตามที่สหภาพแรงงานกำหนด

(๒) ปฏิบัติตามข้อบังคับของสหภาพแรงงานมติของคณะกรรมการสหภาพแรงงานอันชอบด้วย

กฎหมายและข้อบังคับและมติที่ประชุมใหญ่

(๓) ปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่สหภาพแรงงานได้ทำกับนายจ้าง สมาคมนายจ้าง

หรือสหพันธ์นายจ้าง

(๔) ร่วมมือและช่วยเหลือกิจการของสหภาพแรงงานที่จะเป็นประโยชน์ต่อสมาชิก

(๕) รักษาผลประโยชน์ของสหภาพแรงงาน และไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อสหภาพแรงงาน หรือ               ประพฤติตนเป็นที่เสื่อมเสียแก่สหภาพแรงงาน

(๖) แจ้งให้นายทะบียนหรือเลขานุการทราบโดยเร็ว กรณีที่สมาชิกเปลี่ยนแปลงที่อยู่หรือหน่วยงาน

หรือตำแหน่งหน้าที่การงาน

 

หมวด ๕ คณะกรรมการ

 

ข้อ ๑๓. คณะกรรมการสหภาพแรงงานประกอบด้วยกรรมการไม่น้อยกว่า ๕.คน แต่ไม่เกิน ๑๕ .คน                                                                จำนวนกรรมการในแต่ละสมัยจะเป็นจำนวนเท่าใดนั้น ให้เป็นดุลพินิจของคณะกรรมการสหภาพแรง

งานเป็นผู้พิจารณากำหนดและต้องได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกในที่ประชุมใหญ่

ข้อ ๑๔. กรรมการต้องมีคุณสมบัติดังนี้

(๑) เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานสหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย    .

(๒) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด

 

 

-๕-

 

(๓) มีอายุไม่ต่ำกว่า ๒๐ ปีบริบูรณ์

ข้อ ๑๕. การอยู่ในตำแหน่งของคณะกรรมการ

คณะกรรมการอยู่ในตำแหน่งคราวละ 2 ปี หากกรรมการคนใดพ้นจากตำเหน่งก่อนครบวาระให้

คณะกรรมการจัดให้มีการเลือกตั้งซ่อมหรือแต่งตั้งผู้ได้รับคะแนนรองจากการเลือกตั้ง ขึ้นเป็นกรรม

การแทน ในตำแหน่งที่ว่างเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งตนแทนภายในกำหนดเวลา๓๐ วัน

นับแต่วันที่กรรมการคนนั้นพ้นจากตำแหน่ง เว้นแต่วาระของการเป็นกรรมการจะเหลือไม่ถึง ๖๐ วัน

ข้อ ๑๖. นอกจากกรรมการจะพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามข้อ ๑๕ แล้ว ให้กรรมการพ้นจากตำแหน่งใน

กรณีดังต่อไปนี้

(๑) ตาย

(๒) ลาออกโดยแจ้งเป็นหนังสือต่อประธานกรรมการสหภาพแรงงานหรือผู้ทำการแทน หากไม่

ประธานหรือผู้ทำการแทน ให้แจ้งเป็นหนังสือต่อกรรมการที่เหลืออยู่ และการแสดงเจตนาจะมีผล

ตั้งแต่วันที่หนังสือนั้นไปถึงประธานหรือผู้ทำการแทนหรือกรรมการที่เหลืออยู่และให้บุคคล

ดังกล่าวแจ้งการลาออกของกรรมการต่อที่ประชุมกรรมการที่จะมีในคราวต่อไปพร้อมทั้งแจ้งให้

นายทะเบียนฯทราบด้วยภายในกำหนดไม่เกิน ๗ วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือลาออก

(๓) เป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถตามคำสั่งศาล

(๔) ได้รับโทษจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก

(๕) ที่ประชุมใหญ่มีมติไม่ไว้วางใจ

(๖) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับหรือมติใด ๆ ของที่ประชุมใหญ่อันชอบด้วยกฎหมาย หรือกระทำ

การอันนำความเสื่อมเสียให้แก่สหภาพแรงงาน และคณะกรรมการ ๒ ใน ๓ มีมติให้งดการปฏิบัติ

หน้าที่และที่ประชุมใหญ่มีมติให้ออก

(๗) ขาดคุณสมบัติตามข้อ ๑๔

(๘) ไม่เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการเป็นเวลาติดต่อกันเกินกว่า ๓ ครั้งโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรและที่

ประชุมคณะกรรมการได้พิจารณาเหตุผลแล้ว โดยให้นายทะเบียนของสหภาพแรงงาน มีหนังสือ

แจ้งให้กรรมการที่พ้นจากการเป็นกรรมการทราบด้วย

(๙) นายทะเบียนสำนักงานทะเบียนกลางกรุงเทพ มีคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่งในกรณีที่ได้กระทำการ

ฝ่าฝืนกฎหมาย กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งในกรณีเช่นว่านี้จะไม่มีสิทธิสมัครและรับเลือกตั้งเป็น

กรรมการอีก จนกว่าจะพ้น ๑ ปี นับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง

ข้อ ๑๗. ให้กรรมการพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะในกรณีดังต่อไปนี้

(๑) กรรมการพ้นจากตำแหน่งตามข้อ ๑๖ เกินกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดตามที่กำหนดขึ้น

ในการเลือกตั้งแต่ละสมัย

(๒) ที่ประชุมใหญ่มีมติไม่ไว้วางใจกรรมการทั้งคณะ

 

-๖-

 

(๓)นายทะเบียนสำนักงานทะเบียนกลางกรุงเทพ มีคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่งทั้งคณะในกรณีได้กระทำ

การฝ่าฝืนกฎหมาย กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งในกรณีเช่นว่านี้จะไม่ที่มีสิทธิสมัครและรับเลือก

ตั้งเป็นกรรมการอีก จนกว่าจะพ้น ๑ ปีนับแต่วันที่สั่งให้พ้นจากตำแหน่ง

ข้อ ๑๘. เมื่อคณะกรรมการพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ ให้คณะกรรมการที่พ้นจากตำแหน่งยกเว้นกรรมการผู้

ซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามข้อ ๑๖ (๑) และข้อ ๑๖ (๗) จัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่จาก            ที่ประชุมใหญ่ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ครบวาระหรือวันที่พ้นจากตำแหน่งทั้งคณะแล้วแต่กรณี

คณะกรรมการที่พ้นจากตำแหน่ง ต้องมอบหมายเอกสาร หลักฐานและกิจการทั้งปวงของ            สหภาพแรงงาน ให้คณะกรรมการชุดใหม่รับมอบไปดำเนินการภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่มีการ

เลือกตั้งคณะกรรมการที่พ้นจากตำแหน่งต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไปจนกว่าจะตั้งคณะ

กรรมการขึ้นใหม่

ข้อ ๑๙. ในการเลือกตั้งกรรมการใหม่ หรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการ ให้ประธานกรรมการสหภาพแรงงาน

ยื่นคำขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนฯ ภายใน ๑๔ วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมใหญ่ลงมติ

ข้อ ๒๐. คณะกรรมการเป็นผู้ดำเนินกิจการของสหภาพแรงงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ข้อบังคับ และมติ

ของที่ประชุม และเป็นผู้แทนสหภาพแรงงานในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก เพื่อการนี้คณะ

กรรมการจะมอบหมายให้กรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนทำการแทนก็ได้ โดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ

ประทับตราของสหภาพแรงงาน โดยประธานเป็นผู้ลงนาม เว้นแต่คณะกรรมการจะมีมติมอบหมายให้

กรรมการผู้ใดผู้หนึ่งลงนามแทนประธานเฉพาะกรณี

ข้อ ๒๑. ให้คณะกรรมการซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่ เลือกกรรมการด้วยกันเพื่อดำรงตำแหน่ง

ประธาน เลขานุการ เหรัญญิก นายทะเบียน และกรรมการในตำแหน่งอื่น ๆ ที่เห็นสมควร

ข้อ ๒๒. คณะกรรมการอาจแต่งตั้งอนุกรรมการ เพื่อปฏิบัติงานตามที่มอบหมายได้ อนุกรรมการต้องมีคุณ

สมบัติเช่นเดียวกับกรรมการตามข้อ ๑๔

ข้อ ๒๓. คณะกรรมการสหภาพแรงงานมีอำนาจหน้าที่ดังนี้

(๑) พิจารณารับสมัครสมาชิก

(๒) เรียกหรือเก็บเงินค่าสมัครเป็นสมาชิก และเงินค่าบำรุงตามอัตราที่กำหนดในข้อบังคับของ

สหภาพแรงงาน

(๓) จัดประชุมใหญ่ หรือเรียกให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญ หากคณะกรรมการพิจารณาเห็นสมควร

(๔) เสนองบประมาณประจำปี รายงานกิจกรรม และฐานะการเงินต่อที่ประชุมใหญ่

(๕) พิจารณาแต่งตั้งที่ปรึกษาสหภาพแรงงานคนหนึ่งหรืออย่างมากไม่เกิน 2 คนเพื่อให้คำปรึกษา

แนะนำแก่คณะกรรมการ

(๖) พิจารณาเสนอให้มีการปรับปรุงแก้ไข เกี่ยวกับสภาพการจ้าง ที่บังคับใช้กับสมาชิก หากที่ประชุม

ใหญ่ของสมาชิกมีมติ เห็นสมควรให้เสนอเป็นข้อเรียกร้องกับนายจ้าง โดยให้คณะกรรมการทำ

หน้าที่เป็นผู้แทนในการยื่นข้อเรียกร้องให้กับสมาชิก

 

 

-๗-

 

(๗) จัดให้มีบริการให้คำปรึกษา เพื่อแก้ไขปัญหาหรือขจัดข้อขัดแย้งเกี่ยวกับการบริหารงานและการ

ทำงาน

(๘) จัดให้มีการบริการเกี่ยวกับการจัดสรรเงินหรือทรัพย์สินเพื่อสวัสดิการของสมาชิก หรือเพื่อ

สาธารณประโยชน์ ทั้งนี้ภายใต้บังคับของวัตถุประสงค์ของสหภาพแรงงาน

(๙) จัดการและดำเนินการเพื่อให้สมาชิกได้รับประโยชน์ ทั้งนี้ภายใต้บังคับของวัตถุประสงค์ของ

สหภาพแรงงาน

(๑๐) กำหนดและพิจารณาปรับปรุงแก้ไขข้อบังคับ และระเบียบเกี่ยวกับการดำเนินกิจการด้านสวัสดิ

การโดยมีมติที่ประชุมใหญ่และความเห็นชอบของนายทะเบียนฯ

(๑๑) จัดให้มีบริการสนเทศ เพื่อให้สมาชิกมาติดต่อเกี่ยวกับการจัดหางานและข่าวสารบริการ

ข้อ๒๔. ห้ามมิให้คณะกรรมการและกรรมการผู้ทำหน้าที่แทนสหภาพแรงงานเรียก หรือรับ หรือยอมจะ   รับ

เงินทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดจากผู้อื่นเพื่อกระทำการไม่กระทำการ หรือประวิงการกระทำอัน

ขัดต่อวัตถุประสงค์ของสหภาพแรงงานซึ่งอาจเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่บุคคลหรือคณะบุคคลใด หรือ

อาจเสียหายแก่สหภาพแรงงาน

ข้อ๒๕. กรรมการผู้ใดก่อให้เกิดหนี้สินแก่สหภาพแรงงาน โดยไม่ชอบด้วยข้อบังคับหรือมติที่ประชุม

กรรมการผู้นั้นจะต้องรับผิดชอบในหนี้สินนั้นเป็นการส่วนตัว

ข้อ๒๖. อำนาจหน้าที่ของกรรมการในตำแหน่งต่าง ๆ ดังนี้

 

ประธานสหภาพแรงงาน

๑. เป็นประธานดำเนินการประชุมในที่ประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงานและที่ประชุมกรรมการ

๒. ควบคุมการบริหารงานทั่วไปของสหภาพแรงงาน และดูแลให้เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายของสหภาพแรงงาน

ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของสหภาพแรงงาน

๓. จัดการและดำเนินกิจการสหภาพแรงงาน ให้เป็นไปตามกฎหมาย, ข้อบังคับของสหภาพแรงงาน

และมติของที่ประชุมใหญ่

 

รองประธาน

ช่วยเหลือประธาน หรือกระทำการแทนประธาน เมื่อประธานไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้

 

เลขาธิการ

๑. บริหารงานของสหภาพแรงงาน ตามระเบียบข้อบังคับ และดำเนินการตามคำสั่ง หรือมติของที่

ประชุมใหญ่และคณะกรรมการ

 

 

 

-๘-

 

๒. ดำเนินการจัดเตรียมการประชุม และการบันทึกรายงานการประชุม

๓. จัดทำรายงานประจำปี แสดงผลการดำเนินการของสหภาพแรงงานและเสนอประธานกรรมการ

เพื่อประธานแถลงต่อที่ประชุมใหญ่ในคราวที่เสนองบดุลและรายงานการสอบบัญชี

๔. แจ้งผลการประชุมให้สมาชิกทราบและให้ส่งสำเนารายงานการประชุมใหญ่ไปยังนายทะเบียนฯ             ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่มีการประชุม

๕. จัดส่งสำเนารายงานการสอบบัญชีและงบดุลให้แก่นายทะเบียนฯ ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่

ที่ประชุมใหญ่รับรอง

๖. ควบคุมดูแลและรับผิดชอบงานในด้านเอกสาร,หนังสือ,และประกาศต่างๆ ของสหภาพแรงงาน             ที่จะติดต่อกับสมาชิกและบุคคลภายนอก

 

รองเลขาธิการ

ช่วยเหลือเลขาธิการหรือกระทำการแทนเลขาธิการเมื่อเลขาธิการไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้

 

เหรัญญิก

๑.มีหน้าที่ในการรับ-จ่ายและรักษาเงินตลอดจนการจัดทำและควบคุมบัญชีการเงินของสหภาพแรงงาน

๒.จัดเตรียมทำรายงานแถลงฐานะการเงินเสนอต่อคณะกรรมการเป็นรายเดือนเพื่อเสนอต่อที่ประชุม

ใหญ่

๓. จัดทำบัญชีรายรับ-บัญชีรายจ่าย บัญชีทรัพย์สิน ลูกหนี้ เจ้าหนี้ ของสหภาพแรงงาน ตามที่กฎหมาย

กำหนด

 

ผู้ช่วยเหรัญญิก

ช่วยเหลือเหรัญญิกหรือกระทำการแทนเหรัญญิก เมื่อเหรัญญิกไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้          เว้นแต่เรื่องการจ่ายเงินของสหภาพแรงงาน, แต่ถ้าคณะกรรมการมีมติมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่          แทน ก็ให้มีอำนาจกระทำการแทนได้

 

นายทะเบียน

๑. รับสมัครและจัดทำทะเบียนสมาชิกของสหภาพแรงงาน

๑.๑ ทะเบียนสมาชิกอย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้

(๑) ลำดับที่การเข้าเป็นสมาชิก

(๒) ชื่อสมาชิก

(๓) ลำดับเลขทะเบียนประจำตัวสมาชิก

 

-๙-

 

(๔) วัน เดือน ปีเกิดของสมาชิก

(๕) สัญชาติของสมาชิก

(๖) ที่อยู่

(๗) หน้าที่การงาน

(๘) วันที่สมาชิกเข้าทำงาน

(๙)  ชื่อนายจ้าง

(๑๐) ที่ตั้งสถานประกอบการ

(๑๑) ประเภทกิจการของนายจ้าง

(๑๒) วันรับเข้าเป็นสมาชิก

(๑๓) วันพ้นจากสมาชิก

๑.๒ ทะเบียนค่าบำรุงอย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้

(๑) ลำดับเลขทะเบียนประจำตัวสมาชิก

(๒) ชื่อสมาชิก

(๓) ค่าสมัคร

(๔) รายการชำระค่าบำรุงแต่ละเดือน หรือแต่ละงวด หรือแต่ละปี

๒. การเปลี่ยนแปลงที่อยู่ หรือย้ายสถานที่ทำงานของสมาชิก ให้นายทะเบียนแจ้งต่อที่ประชุม

คณะกรรมการทราบ

 

หมวด ๖ การประชุม

การประชุมของคณะกรรมการ

ข้อ ๒๗. การประชุมสามัญ คณะกรรมการต้องจัดให้มีการประชุมอย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง

การประชุมวิสามัญจะจัดให้มีขึ้นในกรณีดังต่อไปนี้

(ก) ประธานสหภาพแรงงานเป็นผู้เรียกประชุม

(ข) กรรมการไม่น้อยกว่า๑ใน ๕ ของคณะกรรมการเข้าชื่อเรียกประชุมการประชุมต้องมีกรรมการเข้า

ประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของคณะกรรมการทั้งหมด จึงจะถือว่าครบองค์ประชุมกรรมการทุกคน

ที่เข้าประชุม มีสิทธิแสดงความคิดเห็นและอภิปราย การลงมติของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก

โดยกรรมการคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งเสียงในการลงคะแนนถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่

ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาดการออกเสียงจะกระทำโดยวิธีเปิดเผยหรือวิธี

ลับก็ได้แล้วแต่มติในที่ประชุมจะเห็นสมควรตามแต่กรณีการเรียกประชุมต้องทำเป็นหนังสือระบุ

วัน เวลาสถานที่และวาระการประชุม แจ้งให้กรรมการทุกคนทราบก่อนวันประชุมอย่างน้อย๓วัน

เว้นแต่จะมีการนัดหมายในที่ประชุมให้กรรมการทุกคนได้ทราบล่วงหน้าแล้ว หรือมีความจำเป็น

 

-๑๐-

 

ต้องเรียกประชุมด่วนก็ใช้วิธีอื่นได้

การประชุมใหญ่

ข้อ ๒๘. การประชุมใหญ่ คือการประชุมของสมาชิกทุกคนตามทะเบียนที่มีสิทธิเข้าประชุมได้ตามข้อบังคับ

ของสหภาพแรงงานในข้อ ๑๑(๑) การประชุมใหญ่มี ๒ ประเภทคือ การประชุมใหญ่สามัญ และการ

ประชุมใหญ่วิสามัญ

๑. การประชุมใหญ่สามัญ

๑.๑ การประชุมใหญ่สามัญครั้งแรก หมายถึงการประชุมใหญ่ภายใน ๑๒๐ วัน นับแต่วันที่จด                         ทะเบียน เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการ และมอบหมายการทั้งปวงให้คณะกรรมการและ

อนุมัติร่างข้อบังคับที่ได้ยื่นต่อนายทะเบียนฯ

๑.๒ การประชุมใหญ่สามัญประจำปี หมายถึงการประชุมใหญ่ที่จัดให้มีปีละ ๑ ครั้ง และจะต้อง

จัดให้มีขึ้นก่อนเดือนธันวาคม วัน เวลา และสถานที่ที่ประชุม ให้คณะกรรมการสหภาพแรง

งานเป็นผู้พิจารณากรณีมีเหตุจำเป็นให้คณะกรรมการสหภาพแรงงานเป็นผู้พิจารณา

เปลี่ยนแปลงวัน เวลา ของการประชุมได้

๒. การประชุมใหญ่วิสามัญ หมายถึงการประชุมที่คณะกรรมการจัดให้มีขึ้นตามข้อ ๒๓ (๓) หรือ               สมาชิกผู้มีสิทธิตามข้อบังคับของสหภาพแรงงาน ในข้อ ๑๑ (๑) ไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของ

จำนวนสมาชิกทั้งหมดหรือไม่น้อยกว่า ๕๐ คน ลงลายชื่อทำหนังสือโดยแจ้งวัตถุประสงค์และ

เหตุผลที่ร้องขอต่อคณะกรรมการให้เรียกประชุมใหญ่เพื่อพิจารณากิจการใดได้และให้ คณะ

กรรมการเรียกประชุมใหญ่ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ ถ้าคณะกรรมการไม่เรียก

ประชุมใหญ่ภายในระยะเวลาดังกล่าว สมาชิกมีสิทธิแจ้งเป็นหนังสือให้นายทะเบียนฯ ทราบเพื่อ

พิจารณาสั่งให้คณะกรรมการเรียกประชุมใหญ่ภายในระยะเวลาที่นายทะเบียนฯ กำหนด

ข้อ ๒๙. การประชุมใหญ่สามัญครั้งแรก ผู้เริ่มก่อการเป็นผู้เรียกประชุม ส่วนการประชุมใหญ่สามัญประจำปี

และการประชุมใหญ่วิสามัญ ประธานสหภาพแรงงาน หรือเลขาธิการของสหภาพแรงงานที่ได้รับมอบ

หมายจากประธานฯ เป็นผู้เรียกประชุมโดยมีหนังสือแจ้งไปยังสมาชิกทุกคน หรือปิดประกาศที่สำนัก

งานของสหภาพแรงงาน หรือด้วยวิธีอื่นเพื่อให้สมาชิกทราบ รวมทั้งผู้เรียกประชุมต้องแจ้งเป็น

หนังสือให้นายทะเบียนฯ ทราบเป็นการล่วงหน้าก่อนการประชุม

ข้อ ๓๐. การประชุมใหญ่ต้องมีสมาชิกไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้า หรือไม่น้อยกว่า ๕๐ คน ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดตามทะเบียน เข้าประชุมจึงจะครบองค์ประชุม เมื่อกำหนดเวลาที่ประชุมแล้ว หากสมาชิกยังมาไม่ครบองค์ประชุมตามกล่าวข้างต้น ให้ประธานคณะกรรมการแจ้งขยายกำหนดเวลาเริ่มประชุมออกไปได้ไม่เกินหนึ่งชั่วโมง ให้สมาชิกที่ประชุมทราบหากพ้นกำหนดเวลาที่ได้ขยายแล้วแต่องค์ประชุมยังไม่ครบตามที่กำหนดอีก ให้เลื่อนการประชุมออกไปภายใน ๓๐ วัน นับจากวันที่ไม่อาจประชุมได้

 

 

 

-๑๑-

 

การประชุมจะมีระเบียบวาระอย่างน้อย ดังต่อไปนี้

. การประชุมใหญ่สามัญครั้งแรก

๑.๑ แถลงกิจการที่ได้กระทำไปแล้ว

๑.๒ อนุมัติร่างข้อบังคับ

๑.๓ เลือกตั้งผู้ตรวจสอบบัญชี

๑.๔ เลือกตั้งกรรมการ

๑.๕ เรื่องอื่น ๆ ถ้ามี

๒. การประชุมใหญ่สามัญประจำปี

๒.๑ รับรองรายงานการประชุมใหญ่ครั้งที่แล้ว

๒.๒ เสนอรายงานประจำปี

๒.๓ เสนองบดุลและรายงานการสอบบัญชีเพื่อให้สมาชิกพิจารณารับรอง

๒.๔ การเลือกตั้งผู้สอบบัญชี

๒.๕ เสนอนโยบาย หลักการดำเนินงาน แผนงาน และงบประมาณรายรับและรายจ่ายของ                                          สหภาพแรงงาน ในปีต่อไป

๒.๖  การเลือกตั้งกรรมการ

๒.๗ เรื่องอื่น ๆ (พิจารณาเรื่องที่สมาชิกได้แจ้งขอไว้หรือในที่ประชุมเสนอ)

สำหรับระเบียบวาระการประชุมใหญ่วิสามัญ ให้อนุโลมตามการประชุมใหญ่สามัญประจำปี

ข้อ ๓๑. สมาชิกที่ประสงค์จะเสนอญัตติเรื่องใดๆ เข้าไว้ในวาระการประชุม ให้เสนอเรื่องต่อประธานหรือ

เลขาธิการสหภาพแรงงาน ภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการสหภาพแรงงานกำหนดไว้ก่อนการ

ประชุมใหญ่ และเรื่องที่จะเสนอนั้นต้องมีสมาชิกร่วมสนับสนุนไม่น้อยกว่า ๒๐ คน ส่วนญัตติซึ่ง

เสนอขึ้นมาในระหว่างการประชุม ที่ประชุมจะพิจารณาได้ต่อไป เมื่อมีสมาชิกสนับสนุนไม่น้อยกว่า

กึ่งหนึ่งของสมาชิกที่มาประชุม

ข้อ ๓๒. การออกเสียงลงมติเรื่องใด ๆ ในที่ประชุม ให้ถือคะแนนเสียงข้างมากของสมาชิกผู้มีสิทธิ ถ้ามติใน

เรื่องใดมีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานลงคะแนนเสียงอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาดยกเว้นมติในเรื่อง

ดังต่อไปนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกเกินกึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมดตามทะเบียนคือ

๑.การควบสหภาพแรงงาน เข้าร่วมจัดตั้งหรือเป็นสมาชิกสหพันธ์แรงงาน และหรือสภาองค์การลูกจ้าง

๒. การเลิกสหภาพแรงงาน

๓. การนัดหยุดงานเมื่อมีข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ตามมาตรา ๒๒ วรรคสามแห่งพระราช

บัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘

 

 

 

-๑๒–

 

ข้อ ๓๓.วิธีการออกเสียงลงคะแนนในเรื่องใด ซึ่งจะต้องขอมติที่ประชุมใหญ่นั้น อาจจะใช้วิธีการอย่างใด

อย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

(๑) ลงคะแนนเสียงโดยวิธีเปิดเผย

(๒) ลงคะแนนเสียงโดยวิธีลับ

ทั้งนี้ตามแต่มติที่ประชุมจะเห็นสมควร ยกเว้นเรื่องดังต่อไปนี้ ต้องเป็นการลงคะแนนเสียงโดยวิธีลับ

เท่านั้น คือ

๑. การอนุมัติในเรื่องการนัดหยุดงาน

๒. เรื่องอื่น ๆ ตามที่ประชุมจะเห็นสมควร

ข้อ ๓๔. กิจการดังต่อไปนี้ จะกระทำได้โดยมติของที่ประชุมใหญ่เท่านั้น คือ

(๑) การรับรองงบดุล รายงานการสอบบัญชี รายงานประจำปี

(๒) การเลือกตั้งกรรมการ

(๓) การลงมติไม่ไว้วางใจกรรมการ และการรับทราบการลาออกของกรรมการทั้งคณะ

(๔) การเลือกตั้งผู้สอบบัญชี

(๕) การแก้ไข-เพิ่มเติมข้อบังคับ

(๖) การควบสหภาพแรงงาน

(๗) การเลิกสหภาพแรงงาน และการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี

(๘) การโอนทรัพย์สินเมื่อเลิกสหภาพแรงงาน

(๙) การดำเนินกิจการอันอาจกระทบกระเทือนถึงส่วนได้ส่วนเสียของสมาชิกเป็นส่วนรวม เช่นการ

นัดหยุดงาน

(๑๐) จัดสรรเงินหรือทรัพย์สินเพื่อสวัสดิการสมาชิกหรือเพื่อสาธารณประโยชน์ เช่น การจัดตั้งสหกรณ์

ออมทรัพย์เพื่อประโยชน์ของสมาชิก

(๑๑) ก่อตั้งสหพันธ์แรงงาน หรือเป็นสมาชิกสหพันธ์แรงงาน

(๑๒) ก่อตั้งสภาองค์การลูกจ้าง หรือเป็นสมาชิกสภาองค์การลูกจ้าง

 

หมวด ๗ การเงิน

 

ข้อ ๓๕. รายได้ของสหภาพแรงงานได้มาจาก

๑. ค่าสมัครของสมาชิก

๒. ค่าบำรุงของสมาชิก

๓. รายได้อื่น ๆ จากการดำเนินการของสหภาพแรงงานที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย

๔. การรับบริจาค

 

 

-๑๓-

 

ข้อ ๓๖. รายจ่ายของสหภาพแรงงานจะจ่ายจากรายได้ โดยคณะกรรมการสหภาพแรงงานเป็นผู้รับผิดชอบ              และการใช้จ่ายเงินจะทำได้แต่เพียงเพื่อวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้เท่านั้น

๑. ค่าใช้จ่าย เงินเดือน เบี้ยเลี้ยง และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ สำหรับเจ้าหน้าที่ และลูกจ้างของ

สหภาพแรงงาน

๒. ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าที่พัก และอาหารเท่าที่จำเป็น เนื่องจากการที่ผู้แทนสหภาพแรงงาน               ไปประชุม หรือหารือในนามสหภาพแรงงาน เพื่อการดำเนินการในเรื่องที่เป็นประโยชน์กับสมาชิก

โดยตรง หรือเพื่อร่วมกับสหภาพแรงงานอื่นในเรื่องดังกล่าว

๓. ค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นค่าธรรมเนียม หรือค่าบำรุงสมาชิกในการเข้าไปร่วมกับสหภาพแรงงาน หรือ

องค์การแรงงานในระดับสูงตามกฎหมายรับรอง

๔. ค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของสหภาพแรงงงาน รวมทั้งค่าตรวจสอบบัญชี

๕. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี ในการณีที่สหภาพแรงงาน หรือสมาชิกเป็นคู่ความเฉพาะคดีในเรื่อง              การคุ้มครองแรงงาน ข้อพิพาทแรงงาน ตามสิทธิที่กำหนดไว้ในกฎหมายแรงงานเท่านั้น

๖. ค่าใช้จ่ายตามที่สหภาพแรงงานได้กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้ และได้กำหนดระเบียบวิธีการจ่ายเงิน

ไว้แล้ว

๗.จ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อการอื่น อันก่อประโยชน์แก่สหภาพแรงงาน และสมาชิก โดยได้รับความเห็นชอบ

จากมติในที่ประชุมใหญ่แล้ว ทั้งนี้วัตถุประสงค์ในการจ่ายเงินดังกล่าว จะต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย

และความสงบเรียบร้อยของส่วนรวม

ข้อ ๓๗. คณะกรรมการจะสั่งจ่ายเงินครั้งเดียวเกิน  บาท ไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตโดยความ

เห็นชอบจากมติที่ประชุมใหญ่ไว้ก่อนแล้ว(ตัดออก)

ข้อ ๓๘. เหรัญญิกจะเก็บรักษาเงินสดของสหภาพแรงงานไว้ได้ไม่เกิน ๑หมื่นบาท นอกนั้นจะนำฝาก      ธนาคารในนามของสหภาพแรงงาน ในกรณีจำเป็นต้องถือเงินสดมากกว่า ๑หมื่นบาท ให้

เหรัญญิกขออนุมัติต่อคณะกรรมการ

ข้อ ๓๙. การจ่ายเงิน ให้เหรัญญิกเป็นผู้จ่ายได้ตามหลักฐานการขอเบิกจ่ายที่เป็นหนังสือซึ่งมีประธานร่วมกับ

กรรมการอื่นที่มิใช่กรรมการเหรัญญิก หรือผู้ช่วยเหรัญญิกอีก ๑ คน เป็นผู้ลงนามร่วมกัน ถ้าสั่งจ่าย

เงินเกิน๑หมื่นบาท  จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการก่อนการสั่งจ่ายเงินหรือเบิกจาก

ธนาคาร บุคคลต่อไปนี้จะต้องลงลายมือร่วมกัน

(๑) ประธานสหภาพแรงงาน

(๒) เลขาธิการ

(๓) เหรัญญิก

ในกรณีที่เลขาธิการ หรือเหรัญญิกไม่อยู่ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งกรรมการผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้มี             อำนาจลงลายมือชื่อจ่ายเงินด้วยก็ได้การตรวจสอบสถานะการเงินของสหภาพแรงงาน ให้คณะ

 

 

-๑๔-

 

กรรมการมีหน้าที่พิจารณาและรับทราบสถานะการเงินตามที่เหรัญญิกสรุปรายงานเสนอในแต่ละ

เดือนและการรายงานสถานะการเงินนี้ เหรัญญิกจะต้องนำเสนอให้กรรมการทุกคนพิจารณาล่วง หน้าอย่างช้าก่อนวันประชุมของคณะกรรมการ ๑ วัน

ข้อ ๔๐. สหภาพแรงงานจะต้องจัดทำงบดุลอย่างน้อยครั้งหนึ่งทุกรอบ ๑๒ เดือน อันจัดว่าเป็นรอบปีการ   บัญชีของสหภาพแรงงาน

งบดุลต้องมีรายการแสดงจำนวนสินทรัพย์และหนี้สินของสหภาพแรงงานกับทั้งบัญชีราย           รับ-รายจ่าย งบดุลต้องทำให้แล้วเสร็จและจัดให้มีผู้สอบแล้วนำเสนอขอรับรองต่อที่ประชุมใหญ่ภาย

ใน ๓๐ วันนับแต่วันสิ้นการบัญชี และรายงานกิจการประจำปีพร้อมทั้งสำเนางบดุลเสนอต่อนาย

ทะเบียนฯภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ ที่ประชุมใหญ่รับรอง

ข้อ ๔๑. ผู้สอบบัญชีซึ่งได้รับเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่มีหน้าที่ตรวจสอบบัญชี หลักฐานการรับจ่ายเงิน และ

ทรัพย์สินของสหภาพแรงงาน และเสนอความเห็นต่อที่ประชุมใหญ่

ในกรณีที่คณะกรรมการเห็นสมควรให้มีผู้ตรวจสอบบัญชีภายในเพื่อปฎิบัติหน้าที่ ก็อาจ  แต่งตั้งจากสมาชิกของสหภาพแรงงานได้ไม่เกิน ๒ คน โดยมติเห็นชอบของคณะกรรมการ

 

หมวด ๘ ข้อกำหนดเกี่ยวกับการพิจารณายื่นข้อเรียกร้อง

การนัดหยุดงาน และวิธีการอนุมัติข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง

 

ข้อ ๔๒. การพิจารณาในการยื่นข้อเรียกร้อง การนัดหยุดงาน และวิธีการอนุมัติข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการ จ้าง ให้เป็นไปตามมติที่ประชุมใหญ่

ข้อ ๔๓. ในกรณีที่การเจรจาไม่อาจตกลงกันได้ และจะต้องมีการนัดหยุดงานตามขั้นตอนของกฎหมาย ก่อน

การนัดหยุดงาน ให้คณะกรรมการสหภาพแรงงานจัดให้มีการลงคะแนนลับ ตามข้อ ๓๒,ข้อ ๓๓(๒)

ข้อ ๑, และข้อ ๓๔ (๙)

 

หมวด ๙ การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ

 

ข้อ ๔๔. ถ้าที่ประชุมใหญ่สามัญครั้งแรกพิจารณาอนุมัติร่างข้อบังคับฉบับขอจัดตั้งสหภาพแรงงาน แล้วให้

ผู้เริ่มก่อการนำสำเนาข้อบังคับไปจดทะเบียนกับนายทะเบียนฯ ภายใน ๑๔ วัน นับแต่วันที่ ที่ประชุม

ใหญ่ลงมติ

ข้อ ๔๕. การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ อาจจะเสนอโดยคณะกรรมการหรือโดยสมาชิกซึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่า

หนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมด หรือสมาชิกไม่น้อยกว่า ๕๐ คน เข้าชื่อเสนอให้ที่ประใหญ่ได้

พิจารณาและจะกระทำได้ต้องได้รับมติจากสมาชิกไม่น้อยกว่า ๒ใน ๓ ของสมาชิกที่มาประชุม

 

 

-๑๕-

 

เมื่อแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับแล้ว สหภาพแรงงงานต้องนำไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนฯ ภายใน

๑๔ วัน นับแต่วันที่ ที่ประชุมใหญ่ลงมติ

 

หมวด ๑๐ การควบสหภาพแรงงาน

 

ข้อ ๔๖. การควบสหภาพแรงงานเข้ากับสหภาพแรงงานอื่น ที่มีสมาชิกเป็นลูกจ้างของนายจ้างคนเดียวกันไม่

ว่าจะเป็นลูกจ้างซึ่งทำงานในกิจการประเภทเดียวกันหรือไม่หรือเป็นลูกจ้างซึ่งทำงานในกิจการ

ประเภทเดียวกันโดยไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างของนายจ้างคนเดียวกันหรือไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจาก

สมาชิกในทีประชุมใหญ่ด้วยคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมดตามทะเบียนและต้องได้รับ

ความเห็นชอบจากนายทะเบียนฯหลังจากนั้นจะต้องแต่งตั้งผู้แทนสหภาพแรงงานซึ่งเป็นกรรมการสห

ภาพแรงงานฯเพื่อร่วมขอจดทะเบียนและดำเนินการควบสหภาพแรงงานไปจนกว่าจะเสร็จ

 

การเข้าร่วมก่อตั้งหรือเข้าเป็นสมาชิกสหพันธ์แรงงาน

และการเข้าร่วมก่อตั้งหรือเข้าเป็นสมาชิกสภาองค์การลูกจ้าง

 

ข้อ ๔๗. การเข้าร่วมก่อตั้งสหพันธ์แรงงานหรือเป็นสมาชิกสหพันธ์แรงงาน จะต้องได้รับความเห็นชอบจาก

สมาชิกในที่ประชุมใหญ่ด้วยคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมดตามทะเบียน หลังจากนั้นจะ

ต้องแต่งตั้งผู้แทนสหภาพแรงงานซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานฯ เพื่อร่วมขอจดทะเบียนและเข้า

รับเลือกตั้งเป็นกรรมการและดำเนินการสหพันธ์แรงงานต่อไป

ข้อ ๔๘. การเข้าร่วมก่อตั้งสภาองค์การลูกจ้างหรือเป็นสมาชิกสภาองค์การลูกจ้าง จะต้องได้รับความเห็น

ชอบจากสมาชิกในที่ประชุมใหญ่ด้วยคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมดตามทะเบียนหลัง

จากนั้นจนต้องแต่งตั้งผู้แทนสหภาพแรงงาน ซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานฯ เพื่อร่วมขอจดทะเบียน

และเข้ารับเลือกตั้งเป็นกรรมการและดำเนินการสภาองค์การลูกจ้างต่อไป

 

หมวด ๑๑ การเลิกสหภาพแรงงาน

 

ข้อ ๔๙. สหภาพแรงงานจะเลิกด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้

(๑) ที่ประชุมใหญ่ลงมติให้เลิก ด้วยคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมด

(๒) สำนักงานทะเบียนกลางกรุงเทพ มีคำสั่งให้เลิก

(๓) ล้มละลาย

(๔) เมี่อนายจ้างเลิกกิจการ

 

 

-๑๖-

 

เมื่อมีเหตุเลิกตาม (๑),(๓) หรือ (๔) ให้ประธานกรรมการแจ้งเป็นหนังสือให้นายทะเบียนฯ ทราบ          ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่มีเหตุทำให้เลิก

ข้อ ๕๐. การเลิกสหภาพแรงงานตามข้อ ๔๙ สหภาพแรงงานยังคงดำเนินกิจการต่อไปเพียงเท่าที่จำเป็น    เพื่อ

การชำระบัญชีเท่านั้น การชำระบัญชีสหภาพแรงงานให้ดำเนินการตามกฎหมาย

ข้อ ๕๑. เมื่อชำระบัญชีแล้ว ถ้ามีทรัพย์สินเหลือเท่าใด ผู้ชำระบัญชีจะไม่แบ่งให้แก่สมาชิก แต่ให้โอนทรัพย์

สินที่เหลือไปให้แก่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย หรือแล้วแต่ที่ประชุมใหญ่

จะกำหนดในภายหลัง

 

ลงชื่อ .................................... ผู้เริ่มก่อการ       ลงชื่อ ......................................... ผู้เริ่มก่อการ

(                                  )                                   (                                      )

 

ลงชื่อ .................................... ผู้เริ่มก่อการ       ลงชื่อ ......................................... ผู้เริ่มก่อการ

(                                 )                                   (                                       )

 

ลงชื่อ ...................................... ผู้เริ่มก่อการ       ลงชื่อ ......................................... ผู้เริ่มก่อการ

(                                    )                                 (                                         )

 

ลงชื่อ ...................................... ผู้เริ่มก่อการ       ลงชื่อ ......................................... ผู้เริ่มก่อการ

(                                    )                                  (                                        )

 

ลงชื่อ ..................................... ผู้เริ่มก่อการ       ลงชื่อ ......................................... ผู้เริ่มก่อการ

(                                   )                                   (                                       )

 

ลงชื่อ ...................................... ผู้เริ่มก่อการ       ลงชื่อ ......................................... ผู้เริ่มก่อการ

(                                    )                                  (                                        )

 

ลงชื่อ ...................................... ผู้เริ่มก่อการ       ลงชื่อ ........................................ ผู้เริ่มก่อการ

(                                    )                                  (                                        )

 

ลงชื่อ ...................................... ผู้เริ่มก่อการ       ลงชื่อ ....................................... ผู้เริ่มก่อการ

(                                     )                                 (                                         )